วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประเพณีบุญบั้งไฟ


     
เมื่อการเตรียมการในการต้อนรับ การทำบั้งไฟ การเอ้บั้งไฟให้สวยงาม เตรียมขบวนฟ้อนในวันแห่โฮมบุญ ทำนั่งร้านสำหรับการนำบั้งไฟขึ้นจุด แล้วก็จะถึงวันงานซึ่งมีพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องอีกดังนี้

  • ในวันสุกดิบ ชาวบ้านจะจัดขบวนแห่บั้งไฟไปยังศาลปู่ตาของหมู่บ้าน พร้อมนำเอาเหล้าไปด้วยจำนวนมาก ส่วนหนึ่งใช้เซ่นสรวง มีการจุดบั้งไฟขนาดเล็กเรียก "บั้งเสี่ยง" เพื่อเสี่ยงทายดูถึงความอุดทสมบูรณ์และความสำเร็จในการทำนาปีนั้น จากนั้นก็ดื่มเหล้าฟ้อนรำรอบศาลปู่ตาเป็นที่สนุกสนาน (งานนี้มีเฉพาะผู้ชายที่ได้รับอนุญาตให้ร่วมพิธี)
  • จากนั้นก็พากันแห่บั้งไฟไปยังสถานที่จัดงานหรือหมู่บ้านเรียก วันโฮม (รวม) มีการเซิ้งออกท่าทางต่างๆ ของการร่วมเพศอยู่ด้วย อาจมีการเอา บักแบ้น ผูกรอบเอวไว้หลายอัน มีสายสำหรับชักให้กระดกขึ้นได้






  • การแห่บั้งไฟ ผู้ร่วมขบวนนั้นดูเหมือนจะตั้งใจละเมิดกฎเกณฑ์ปรกติ เช่น ชายแต่งกายเป็นหญิง หรือเอาโคลนพอกหน้า ขบวนเซิ้งจะแห่ไปตามหมู่บ้านเพื่อขอสาโทมากิน การเซิ้งจะมีคนจ่ายกาพย์ และคนตีกลองให้จังหวะเซิ้ง อยู่กลางขบวนฟ้อน เพื่อให้ผู้ฟ้อนเซิ้งได้ยินเสียงจังหวะและคำกลอน "ลำกาพย์เซิ้งได้ชัดเจน ดูเรื่องที่เกี่ยวข้อง
การละเมิดกฎเกณฑ์และธรรมเนียมปฏิบัติกันทั่วไป มีคำอธิบายได้ว่า เป็นการปลดปล่อยคนให้หลุดจากกฎเกณฑ์ชั่วคราว ในอีสานสมัยก่อน ผู้ชายเมื่อแต่งงานต้องเข้าไปอยู่กับครอบครัวฝ่ายหญิง ผู้ชายจึงอยู่ในฐานะที่โดดเดี่ยว ต้องอยู่ในความควบคุมของญาติฝ่ายหญิง และต้องฝากอนาคตของตนไว้กับความเมตตาของครอบครัวฝ่ายหญิงด้วย เพราะจะสามารถสร้างหลักให้แก่ครอบครัวได้ก็ด้วยการอุปถัมภ์ของพ่อตา เขยจะถูกจัดให้เป็นผู้ด้อยกว่าในทางพิธีกรรม (แสดงสะท้อนในเชิงประชดประชันจากนิทาน "พ่อเฒ่ากับลูกเขย") ดังนั้น การที่แสดงออกในทางพิธีกรรมในบุญบั้งไฟ จึงเป็นการปลดปล่อยจากกฎเกณฑ์ของสังคม เพราะเรื่องเพศ การกล่าวถึงหรือแสดงอวัยวะเพศ เป็นความหยาบโลนที่สังคมปรกติไม่ยอมรับ



  • ตอนบ่าย จะมีการตีกลองโฮม เพื่อให้ขบวนแห่ทุกขบวนไปรวมกันที่วัด ซึ่งจะหมายถึงการไปร่วมในพิธีบวชของบุตรหลาน หรือการฮดสงฆ์ ถ้ามีการบวชก็จะมีการแห่นาคด้วยม้า (ถ้าหากเจ้าภาพมีฐานะพอทำได้) มีการจุดตะไลตามหลังม้าไปตลอดทาง หากมีการฮดสงฆ์อยู่ด้วยก็จะแห่พระภิกษุที่ต้องการ "ฮด" นำหน้าเจ้านาคไป
  • กลางคืนจะมี การเส็งกลอง หรือแข่งตีกลองกัน โดยแต่ละหมู่บ้านจะนำกลองกิ่งของวัดในหมู่บ้านตนมาตีแข่ง ถือกันว่าถ้าหากแพ้ในการเส็งกลอง ก็จะไม่ใช้กลองนั้นอีกเลย จะต้องไปเสาะแสวงหากลองมาเส็งใหม่ในปีหน้า การเส็งกลองจะมีกันไปจนถึงเที่ยงคืน
  • รุ่งเช้าจะมีการทำบุญถวายจังหันพระ พอตกบ่ายก็มีการแห่บั้งไฟไปยังค้างที่เตรียมไว้ อาจใช้ต้นไม้ใหญ่เป็นค้างก็ได้ การแข่งขันระหว่างหมู่บ้านก็มีเพียงบ้านใดจะสามารถยิงไปได้สูงกว่ากัน (ใช้การนับไปจนกว่าจะมองเห็นบั้งไฟหล่นพ้นก้อนเมฆลงมา) เป็นการแสดงความสามารถของช่างหรือฉบับของบั้งไฟบ้านนั้น หากบั้งไฟบ้านใดซุ (พ่นดินปืนออกมาแต่ไม่ขึ้น) หรือแตกระหว่างการจุด ช่างหรือฉบับก็จะถูกจับโยนลงตม คือโยนลงไปในโคลนเป็นที่สนุกสนานทั้งผู้โยนและถูกโยน (เปื้อนโคลนพอกัน)








  • การเอ้บั้งไฟเพื่อการประกวดในขบวนแห่



    บั้งไฟจุดไม่ขึ้น ช่างที่ทำต้องถูกโยนลงตม

    หมายเหตุปิดท้าย ในอดีตเราจะได้ยินว่าหมู่บ้านนั้นหมู่บ้านนี้ทำบั้งไฟหมื่นขึ้นสุดลูกหูลูกตา คำว่า หมื่น มาจากจำนวนน้ำหนักของดินประสิวที่ใช้ทำ ดินหมื่อ คือ 12 กิโลกรัม (ไม่นับรวมน้ำหนักของถ่านซึ่งเป็นส่วนผสม) จะบรรจุในลำไม่ไผ่ขนาดยาวประมาณ 3 เมตร ต่อมาหมู่บ้านใดทำบั้งไฟแสนคือ 120 กิโลกรัมดินประสิว (ใช้ลำตาลแทนไม้ไผ่ ใช้เทคนิคมัดพันลำตาลอย่างแน่นหนา) ก็ถือว่ายิ่งใหญ่ที่สุดแล้ว ในปัจจุบันมีข่าวว่าบางแห่งมีบั้งไฟล้าน (ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าจะจริงถ้าไม่นับน้ำหนักของท่อเหล็กและหางรวมกันกับดินประสิว) กันบ้างแล้ว ไม่ทราบว่าจุดขึ้นพ้นพื้นดินเพียงใด ผู้เขียนหลับตานึกถึงภาพหากมีการระเบิดเกิดขึ้นจะเป็นอย่างไรหนอ ไม่อยากจะบรรยายครับ
    สิ่งที่เล่ามาทั้งหมดนี้เป็นเรื่องราวในอดีต ปัจจุบันงานประเพณียังคงอยู่ แต่ความเชื่อและวัฒนธรรมของงานบุญหายไป กลายไปเป็นการประกวดประชันกัน การวางเดิมพันเงินแสนเงินหมื่น ไม่มีการพูดถึงดอนปู่ตาหรือผีบรรพบุรุษอีกแล้ว เพราะทุกอย่างจัดเพื่อการท่องเที่ยวอย่างบุญบั้งไฟเมืองยโสธรคือตัวอย่าง (ไม่ทราบว่าอ้างเพื่อธุรกิจหรือไม่) น่าเสียดายที่ความงามในอีตเริ่มจะเลือนหายไปจากอีสาน กลายเป็นตำนานให้กล่าวถึงเพียงเท่านั้น





    ที่มา : http://www.isangate.com/local/thairocket_02.html



    เทศกาลผีตาโขน

    ประเพณีแห่ผีตาโขนจัดเป็นส่วนหนึ่งในงานบุญประเพณีใหญ่หรือที่เรียกว่า "งานบุญหลวง" หรือ "บุญผะเหวด" ซึ่งตรงกับเดือน 7 มีขึ้นที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และจัดเป็นการละเล่นที่ถือเป็นประเพณีทุกปี เกี่ยวโยงกับ งานบุญพระเวสหรือเทศน์ มหาชาติ ประจำปีกับพระธาตุศรีสองรัก ปูชนียสถานสำคัญของชาวด่านซ้าย สำหรับในปีนี้ ประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน ประจำปี 2555 ขึ้นใน วันที่ 22-24 มิ.ย.2555 โดยขบวนแห่ผีตาโขน จะจัดขึ้นใน วันที่ 23 มิถุนายน 2555 บริเวณวัดโพนชัยและหน้าที่ ว่าการอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลยงานบุญหลวง ประเพณผีตาโขนของอำเภอด่านซ้ายจังหวัดเลย เป็นประเพณีสำคัญ เพราะอยู่ใน สิบสองเดือนสี่งานบุญผะเหวด (พระเวส)แหผีตาโขนแม้จะมีเล่นในอีสานถิ่นอื่นบ้าง แต่ที่วัดโพนชัย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เป็นที่รู้จักและ จะยังคงอยู่คู่กับ "พระธาตุศรีสองรัก" ตลอดไป

    ต้นกำเนิดผีตาโขน
    กล่าวกันว่า การแห่ผีตาโขนเกิดขึ้นเมื่อครั้งที่พระเวสสันดรและนางมัทรีจะเดินทางออกจากป่ากลับสู่เมือง บรรดา ผีป่าหลายตนและสัตว์นานาชนิดอาลัยรักจึงพาแห่แหนแฝงตัวแฝงตน มากับชาวบ้านเพื่อมาส่งทั้งสอง พระองค์ กลับ เมือง "ผีตามคน" หรือ "ผีตาขน" จนกลายมาเป็น "ผีตาโขน" อย่างในปัจจุบัน

    ชนิดของผีตาโขน
    ผีตาโขน ในขบวนแห่จะแยกเป็น 2 ชนิดคือ ผีตาโขนใหญ่และผีตาโขนเล็ก
    - ผีตาโขนใหญ่ ทำเป็นหุ่นรูปผีทำจากไม้ไผ่สานมีขนาดใหญ่กว่าคนธรรมดาประมาณ 2 เท่าประดับตกแต่งรูปร่าง


    ผีตาโขนเล็ก ผีตาโขนเล็กเป็นการละเล่นของเด็ก ไม่ว่าเด็กเล็ก เด็กวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ ทั้งผู้หญิงชาย มีสิทธิ์ทำ และเข้าร่วมสนุก ได้ทุกคน แต่ผู้หญิงไม่ค่อยเข้าร่วมเพราะเป็นการเล่นค่อนข้างผาดโผนและซุกซน

    การแต่งกายผีตาโขน
    ผู้เข้าร่วมในพิธีนี้จะแต่งกายคล้ายผีและปีศาจใส่หน้ากากขนาดใหญ่ ทำจากกาบมะพร้าวแกะสลักและสวมศีรษะ ด้วย

    การละเล่นผีตาโขน
    เนื่องจากงานประเพณีผีตาโขนเป็นงานบุญใหญ่ซึ่งเรียกกันว่างานบุญหลวง จัดขึ้นที่วัดโพนชัย อ.ด่านซ้าย โดยมี การละเล่นผีตาโขน มีการเทศน์มหาชาติมีการทำบุญพระธาตุศรีสองรักและงานบุญต่างๆเข้ามาผสมอยู่รวมๆกัน จึงมีการจัดงานกัน 3 วัน
    - วันแรก เริ่มพิธีตอนเช้า 04.00-05.00 น. คณะแสนหรือข้าทาสบริวารของเจ้าพ่อกวนจะนำอุปกรณ์ มีด ดาบ หอก ฉัตร พานดอกไม้ ธูปเทียน ขันห้าขันแปด(พานดอกไม้ 5 คู่ หรือ 8 คู่) ถือเดินนำขบวนไปที่ริมแม่น้ำหมัน เพื่อ นิมนต์พระอุปคุตต์ พระผู้มีฤทธานุภาพมาก และมักเนรมิตกายอยู่ในมหาสมุทร เพื่อป้องกันภัยอันตราย และให้ เกิดความสุข สวัสดี เมื่อถึงแล้วผู้อันเชิญต้องกล่าวพระคาถาและให้อีกคนลงไปในน้ำ งมก้อนหินใต้น้ำขึ้นมาถาม ว่า "ใช่พระอุปคุตต์หรือไม่" ผู้ที่ยืนอยู่บนฝั่งตอบว่า "ไม่ใช่" พอก้อนหินก้อนที่ 3 ให้ตอบว่า "ใช่ นั่นแหละ พระอุปคุตต์ที่แท้จริง" เมื่อได้พระอุปคุตต์มาแล้ว ก็นำใส่พาน แล้วนำขบวนกลับที่หอพระอุปคุตต์ ทำการ ทักขิณาวัฏ 3 รอบ มีการยิงปืนและจุดประทัดซึ่งช่วงเวลานั้นบรรดาผีตาโขนที่นอนหลับหรือ อยู่ตามที่ต่างๆก็จะมา ร่วม ขบวนด้วยความยินดีปรีดา เต้นรำ เข้าจังหวะกับเสียงหมากกระแร่ง ซึ่งเป็นกระดิ่งผูกคอวัวหรือกระดิ่งให้ดัง เสียงดัง
    - วันที่สอง เป็นพิธีแห่พระเวส ในขบวนประกอบด้วย พระพุทธรูป 1 องค์ พระสงฆ์ 4 รูป นั่งบนแคร่หามตามด้วย
    เจ้าพ่อกวน นั่งอยู่บนกระบอกบั้งไฟ ท้ายขบวนเป็นเจ้าแม่นางเทียม กับบริวาร ชาวบ้าน และเหล่าผีตาโขน เดินตาม
    เสด็จไปรอบเมือง ก่อนตะวันตกดิน สำหรับคนที่เล่นเป็นผีตาโขนใหญ่ ต้องถอดเครื่องแต่งกายผีตาโขนใหญ่ออก ให้หมดและนำไปทิ้งในแม่น้ำหมัน ห้ามนำเข้าบ้าน เป็นการทิ้งความทุกข์ยากและสิ่งเลวร้ายไป รอจนปีหน้าฟ้าใหม่ แล้วค่อยทำเล่นกันใหม่
    - วันที่สาม เป็นการรวมเอางานบุญประเพณีประจำเดือนต่างๆของปีมารวมกันจัดในงานบุญหลวง ประชาชนจะมานั่ง
    ฟังเทศน์มหาชาติ 13 กัณฑ์ ที่วัดโพนชัย เพื่อเป็นการสร้างกุศลและเป็นมงคลแก่ชีวิตแก่ชีวิต

    ที่มา:
    http://www.paiduaykan.com/76_province/Northeast/loie/pheetakhone.html

    อุทยานแห่งชาติผาแต้ม

    อุทยานแห่งชาติผาแต้ม


    ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2534 ครอบคลุมพื้นที่อำเภอโขงเจียม อำเภอศรีเมืองใหม่และอำเภอโพธิ์ไทรมีพื้นที่ติดกับประเทศลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นแบ่งพรมแดนมีพื้นที่ประมาณ 140 ตารางกิโลเมตร สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงและเนินเขามีหน้าผาสูงชันซึ่งเกิดจากการแยกตัวของผิวโลก สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าเต็งรังมีหินทรายลักษณะแปลกตากระจายอยู่ทั่วบริเวณมีพันธุ์ไม้ดอกที่สวยงามขึ้นอยู่ตามลานหิน การเดินทางจากอำเภอโขงเจียมใช้เส้นทาง2134 ต่อด้วยเส้นทาง 2112 แล้วแยกขวาไปผาแต้มอีกราว 5 กิโลเมตรรวมระยะทางจากโขงเจียมประมาณ 18 กิโลเมตร สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ ได้แก่

    เสาเฉลียง อยู่ก่อนถึงผาแต้มประมาณ 3 กิโลเมตรเป็นเสาหินธรรมชาติที่เกิดจากการกัดเซาะของน้ำและลมนับล้านปีมีลักษณะคล้ายดอกเห็ดเรียงรายกันอยู่มากมาย ซึ่งหินดังกล่าวจะปรากฏเห็นซากเปลือกหอยกรวด ทราย อยู่ในเนื้อหิน ซึ่งนักธรณีวิทยาสันนิษฐานว่าเมื่อประมาณล้านกว่าปีมาแล้ว บริเวณนี้คงจะเป็นทะเลมาก่อนชาวบ้านบริเวณนี้เรียกเสาหินที่คล้ายดอกเห็ดนี้ว่า “เสาเฉลียง” ซึ่งแผลงมาจากคำว่า“สะเลียง” ที่หมายถึง “เสาหิน”

    ผาแต้มและผาขามเป็นหน้าผาสูงที่สวยงามตามธรรมชาติบริเวณด้านล่างของหน้าผามีภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ปรากฏเรียงรายอยู่เป็นระยะมีอายุไม่ต่ำกว่าสามพันถึงสี่พันปี ทางอุทยานฯได้ทำทางเดินจากหน้าผาด้านบนลงไปชมภาพเขียนสีเหล่านี้ที่หน้าผาด้านล่างระยะทางประมาณ 500 เมตร ภาพเขียนจะอยู่บนผนังหน้าผายาวติดต่อกันประมาณ 170 เมตรซึ่งเป็นมุมต่ำกว่า 90 องศา มีภาพทั้งหมดประมาณ 300 ภาพ แบ่งเป็น 4 ประเภท คือสัตว์ เครื่องมือเครื่องใช้ สัญลักษณ์ และคน ด้านตรงข้ามผาแต้มคือประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวโดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นพรมแดนทำให้ผาแต้มเป็นจุดชมวิวที่สวยงามโดยเฉพาะอย่างยิ่งเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจจะชมพระอาทิตย์ขึ้นก่อนที่แห่งใดในประเทศไทยเช่นเดียวกันกับที่หมู่บ้านเวินบึกที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงไม่ไกลจากบริเวณแม่น้ำสองสีมากนักซึ่งทุกวันนี้จะมีนักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไปท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก

    ถ้ำมืดตั้งอยู่ที่บ้านซะซอม ตามทางหลวงหมายเลข 2112 เลี้ยวซ้ายไปทางบ้านทุ่งนาเมืองประมาณ 15 กิโลเมตร เป็นถ้ำขนาดกว้าง 4 เมตร สูง 6 เมตรภายในถ้ำมีพระพุทธรูปไม้แกะสลักเรียงรายกันมากมายแสดงว่าคงจะเคยใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนามาก่อน

    น้ำตกสร้อยสวรรค์ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 2112 ห่างจากตัวอำเภอโขงเจียมประมาณ 30 กิโลเมตรเป็นน้ำตกขนาดใหญ่เกิดจากลำธาร 2 สายคือห้วยสร้อยและห้วยไผ่ที่ไหลจากหน้าผาคนละมาบรรจบกันซึ่งสูงประมาณ 20 เมตรมองดูคล้ายสร้อยที่แขวนคอบริเวณน้ำตกเต็มไปด้วยต้นไม้และดอกไม้นานาพรรณมีมากในช่วงปลายฝนต้นหนาวน้ำตกสร้อยสวรรค์จะสวยงามมากในช่วงปลายฤดูฝนเช่นเดียวกับน้ำตกอื่น ๆในบริเวณนี้

    น้ำตกทุ่งนาเมือง ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 2112 ห่างจากน้ำตกสร้อยสวรรค์ ประมาณ 13 กิโลเมตร โดยมีทางแยกขวาจากบ้านนาโพธิ์กลางไป 10 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดกลางที่มีความสวยงาม ไหลลดหลั่นลงมาตามโขดหินชั้นบนสูงสุดประมาณ 25 เมตร บริเวณโดยรอบมีดอกไม้ต่างๆ มากมายโดยเฉพาะในเดือนตุลาคม-ธันวาคม

    น้ำตกแสงจันทร์ (น้ำตกรู)ก่อนถึงน้ำตกทุ่งนาเมือง 1 กิโลเมตรมีทางแยกขวาที่บ้านทุ่งนาเมืองไปน้ำตกแสงจันทร์ประมาณ 2 กิโลเมตรเป็นน้ำตกขนาดเล็กที่มีความสวยงามและมีลักษณะพิเศษ เกิดจากลำห้วยเล็ก ๆบนลานหินไหลลอดผ่านหน้าผาหินที่มีลักษณะเป็นรูลงสู่เพิงผาด้านล่างหากเดินทางมาชมตอนช่วงเที่ยงวันซึ่งแสงอาทิตย์ลอดผ่านรูพอดีจะมองเห็นสายน้ำตกเหมือนแสงจันทร์


    ป่าดงนาทามอยู่ในบริเวณภูนาทามทางตอนเหนือของอุทยานฯ ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 36 กิโลเมตร การท่องเที่ยวที่ป่าดงนาทามเป็นลักษณะการเดินป่าชมธรรมชาติป่าไม้ภูผาและแม่น้ำโขง ซึ่งจุดที่น่าสนใจได้แก่ ลานหิน พลานถ้ำไฮ เสาเฉลียงคู่ สนสองใบน้ำตกห้วยพอก ผาชนะได (จุดชมพระอาทิตย์ขึ้นก่อนใครในสยาม) ผากำปั่น ผาหินแตกน้ำตกกวางโตน หินโยกมหัศจรรย์ (มีน้ำหนัก 50 ตันแต่โยกได้ด้วยคนเดียว)  ภูจ้อมก้อมถ้ำปาติหารย์ ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ตามหลืบผา เป็นต้น  หมายเหตุบริเวณป่าดงนาทามปิดตั้งแตวันที่ 1 กค.-30 กย.ของทุกปี
              สำหรับการท่องเที่ยวตามฤดูกาลต่าง ๆ ในช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายนจะเหมาะในการชมดอกไม้ตามลานหินเช่น เช่น หยาดน้ำค้าง แดงอุบล เอนอ้า เหลืองพิสมรและทุ่งดอกไม้ชื่อพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้แก่ดุสิตา สร้อยสุวรรณา มณีเทวา ทิพเกสร สรัสจันทร เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี  น้ำตกที่มีน้ำมากช่วงกันยายนถึงธันวาคมและทะเลหมอกริมโขงส่วนในช่วงเดือนฤดูแล้งมกราคม-มีนาคม จะเหมาะในการชมป่าไม้เปลี่ยนสี ดอกไม้หน้าแล้งอาทิ ต้นรัง ตะแบกเลือด พุดผา ช้างน้าวและล่องเรือชมทิวทัศน์สองฝั่งลำน้ำโขงระหว่างบ้านปากลา-คันท่าเกวียน
    นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดการเดินป่าดงนาทามได้ที่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติผาแต้ม หรือที่อบต.นาโพธิ์กลาง (โทร. 0 4538 1063)

    วัดภูอานนท์ อยู่ทางทิศเหนือของบ้านซะซอมห่างจากถนนหมายเลข 2112 ที่บ้านนาโพธิ์กลาง ประมาณ 10 กิโลเมตร รถยนต์เข้าถึงสะดวกภายในบริเวณวัดมีสภาพธรรมชาติที่น่าสนใจ เช่น ลานหิน รอยเท้าใหญ่ ตุ่มหินธรรมชาติภาพเขียนสีศิลปะถ้ำ เป็นต้นเหมาะสำหรับการท่องเที่ยวชมธรรมชาติในช่วงสั้นๆ

    ค่าเข้าชมอุทยานฯ  คนไทยผู้ใหญ่ คนละ 40 บาท เด็ก คนละ 20 บาท ขาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ คนละ 200 บาท เด็กคนละ 100 บาท

    อุทยานแห่งชาติผาแต้มยังไม่มีบริการบ้านพักสำหรับนักท่องเที่ยวผู้ประสงค์จะค้างแรมในเขตอุทยานแห่งชาติผาแต้มต้องเตรียมอุปกรณ์และเตรียมอาหารในการพักแรมมาเองและต้องกางเต็นท์ในที่ซึ่งอุทยานฯจัดเตรียมไว้ให้ นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อได้ที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม ตู้ปณ. 5 อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี 34220 โทร. 0 4531 8026, 0 4524 6332 หรือกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรุงเทพฯ โทร. 0 2562 0760 www.dnp.go.th

    แหล่งท่องเที่ยวอีสาน

     สุดยอดภูผาและผืนป่าอนุรักษ์

              นอกจากภูเขาจะเป็นแหล่งรวมความงดงามน่าท่องเที่ยวแล้ว ยังมีความสำคัญในฐานะเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารอีกด้วย กระบวนการจะเริ่มตั้งแต่น้ำฝนที่ประพรมผืนป่าบนภูเขา ต้นไม้มีหน้าที่เก็บกักน้ำนั้นไว้ แล้วค่อยปล่อยลงสู่ลำน้ำเล็กๆ  ที่ไหลลงมาตามความลาดชันของภูเขา รวมกันเป็นลำน้ำสายใหญ่ ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ กระทั้งไหลลงสู่ที่ราบสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ผู้คนเบื้องล่าง นอกจากบทบาทนี้แล้ว ป่าบนภูเขายังเป็นแหล่งรวมของนานาสรรพชีวิตหลากหลาย ทั้งพืชและสัตว์ รวมถึงนกหายากอีกหลากหลายประเภท ภูเขาจึงเป็นแหล่งที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้เพื่อให้ต้นน้ำลำธานคงความอุดมสมบูรณ์ชุ่มชื้น สัตว์ป่า นก และพืชหายากนานาพรรณมีโอกาสดำรงพันธุ์ของตนสืบไป

              ในอีสานมีผืนป่าอนุรักษ์ด้วยกันมากมายหลายแห่ง อย่างอุทยานแห่งชาติที่เป็นแหล่งมรดกโลกแห่งใหม่ล่าสุดของเมืองไทย คืออุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ที่กินพื้นที่ไม่เฉพาะเพียงภาคอีสาน แต่ยังแผ่ขยายพื้นที่กว้างขวางมาถึงภาคกลางด้านตะวันออกเขาใหญ่ในด้านหนึ่งเป็นต้นน้ำของแม่น้ำบางปะกงในภาคกลาง และอีกด้านหนึ่งก็เทน้ำไหลลงสู่ลำห้วยต่างๆ ของน้ำมูน น้ำชี นอกจากนั้น อีสานยังมีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ซึ่งงดงามด้วยพรรณไม้หายากนานาพรรณ ควรค่าแก่การศึกษา รวมทั้งเขตอุทยานแห่งชาติริงโขงที่น่าสนใจอย่างอุทยานแห่งชาติผาแต้ม ภูวัว แก่งตะนะ และที่อื่นๆ อีกมากมาย

              ในบรรดาภูผาและผืนป่าอนุรักษ์ทั้งหลายของอีสานนั้น อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง คือสุดยอดของภูผาและผืนป่าอนุรักษ์ที่เรา อ.ส.ท. อยากจะยกย่องให้เป็นสุดยอดของอีสานในด้านภูเขาและผืนป่าแห่งการอนุรักษ์

    http://travel.kapook.com/view2525.html