วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

Udonthani : อุดรธาณี


 อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาภูพาน ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3,430 ไร่ ในเขตบ้านติ้ว ตำบลเมืองพาน อยู่ห่างจากตัวจังหวัดระยะทางประมาณ 67 กิโลเมตร ตามเส้นทางหมายเลข 2 เส้นอุดรธานี-หนองคาย ถึงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 13 แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2021 ไปทางอำเภอบ้านผือ ระยะทางประมาณ 42 กิโลเมตร แยกขวาประมาณ 500 เมตร และตรงไปตามเส้นทางหมายเลข 2348 อีกประมาณ 12 กิโลเมตร มีแยกขวาเป็นทางเข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทนี้เป็นที่ตั้งของสถานที่ซึ่งแสดงถึงอารยธรรมของมนุษย์ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิประเทศซึ่งมีโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นหินทรายที่ถูกขัดเกลาจากขบวนการกัดกร่อนทางธรรมชาติทำให้เกิดเป็นโขดหินน้อยใหญ่รูปร่างต่าง ๆ กัน ปรากฏเป็นหลักฐานเกี่ยวกับชีวิตผู้คนในอดีตที่น่าสนใจหลายแห่ง อาทิ
พระพุทธบาทบัวบก ตั้งอยู่บริเวณทางแยกซ้ายมือก่อนถึงที่ทำการอุทยานฯสร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2463-2477 คำว่า "บัวบก" เป็นชื่อของพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นตามป่า มีหัว และใบคล้ายใบบัว ซึ่งชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า ผักหนอก บัวบกนี้คงจะมีอยู่มากในบริเวณที่พบรอยพระพุทธบาท จึงเรียกรอยพระพุทธบาทนี้ว่า "พระพุทธบาทบัวบก" หรือคำว่าบัวบกอาจจะมาจากคำว่า บ่บก ซึ่งหมายถึง ไม่แห้งแล้ง รอยพระพุทธบาทมีลักษณะเป็นแอ่งลึกประมาณ 60 เซนติเมตร ลงไปในพื้นหินยาว 1.93 เมตร กว้าง 90 เซนติเมตร เดิมมีการก่อมณฑปครอบรอยพระพุทธบาทไว้ ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2465 พระอาจารย์ศรีทัตย์ สุวรรณมาโจ ได้รื้อมณฑปเก่าออกแล้วสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นใหม่ และยังสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองวางทับรอยพระพุทธบาทเดิมไว้ ภายในพระธาตุเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตัวองค์เจดีย์เป็นทรงบัวเหลี่ยมคล้ายองค์พระธาตุพนม มีงานนมัสการพระพุทธบาทบัวบกในวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี
ภายในบริเวณอุทยานฯ มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลของอุทยานฯ รวมทั้งแผนที่ และเส้นทางเดินเที่ยวชมบริเวณ อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทเปิดบริการทุกวัน เวลา 08.00-16.30 น. อัตราค่าเข้าชม นักท่องเที่ยว ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท

พระพุทธบาทหลังเต่า

ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระพุทธบาทบังบก     มีลักษณะเป็นรอยพระบาทสลักลึกลงไปในพื้นหิน     ใจกลางพระบาท สลักเป็นรูปดอกบัว กลีบแหลมนูนขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด และเนื่องจากพระพุทธบาทแห่งนี้อยู่ไกล้กับเพิงหินธรรมชาติรูปร่าคล้ายเต่า ๆ จึงได้ชื่อว่า พระพุทธบาทหลังเต่านอกจากนี้ยังมีถ้ำและเพิงหินต่างๆตั้งกระจ่ายอยู่ทั่วไปในบริเวณอุทยานฯนักท่องเที่ยวสามารถเดินชมได้ในระยะทางไม่ไกลนัก ได้แก่ ถ้ำลายมือ ถ้ำโนนสาวเอ้ ถ้ำคน  ถ้ำวัวแดง(ซึ่งถ้ำเหล่านี้สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นที่พำนักของมนุษย์สมัยหิน  และมนุษย์เหล่านี้ได้เขียนรูปต่าง ๆ ไว้เช่น  รูปคน  รูปมือ รูปสัตว์ และรูปเรขาคณิต) และมีลายหินที่สวยงาม คือ ลานหินโนนสาวเอ้      นอกจากนี้ยังพบชิ้นส่วนหลักเสมาและหินทรายจำหลักพระพุทธรูปศิลปะสมัยทวาราวดีที่เพิงหินวัดพ่อตาและเพิงหินวัดลูกเขย

พระพุทธบาทบัวบาน


พระพุทธบาทบัวบาน ตั้งอยู่บนเนินเขาในเขตตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง อันเก่าแก่ และมีการขุดค้นพบใบเสมาที่ทำด้วยหินเป็นจำนวนมาก ใบเสมาเหล่า นี้สลักเป็นรูปบุคคลศิลปะทวาราวดี

อุทยานธารงาม


วนอุทยานน้ำตกธารงาม  วนอุทยานน้ำตกธารงาม ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ป่าขุนห้วยสามทาก ขุนห้วยกองสี ตำบลหนองแสง มีพื้นที่ทั่งหมดประมาณ ๗๘,๑๒๕ ไร่ ประกาศเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๒๗ ลักษณะสภาพพื้นที่ของวนอุทยานฯ เป็นภูเขาสูงชัน และเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาภูพาน เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่ไหลลงสู่ห้วยสามทาก-ห้วยน้ำฆ้องตลอดปี  จุดเด่นที่น่าสนใจภายในวนอุทยานฯ มีหน้าผา ถ้ำที่สวยงาม และมีลานหิน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “แหล” เป็นแหลขนาดใหญ่ เนื้อที่กว้างขวาง มีก้อนหินใหญ่ตั้งวางเรียงราย และซ้อนกันอยู่ และที่จุดนี้สามารถมองเห็นวิวทัศน์ที่อยู่เบื้องล่างได้ พรรณไม้ที่พบเห็นได้แก่ ประดู่ นนทรี ยาง กระบะตะเคียนทอง ตะเคียงเงิน และสัตว์ป่าที่พบได้แก่ หมู่ป่า กระจง ค่าง อีเห็น
       สถานที่พัก วนอุทยานน้ำตกธารงามไม่มีบ้านพักบริการสำหรับนักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะเดินทางไปพักแรม หรือทัศนศึกษา จะต้องนำเต็นท์ไปเอง และควรติดต่อขออนุญาตก่อนล่วงหน้าได้ที่ หัวหน้าวนอุทยานน้ำตกธารงาม หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายจัดการวนอุทยาน ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้ บางเขน กรุงเทพฯ โทร. ๐ ๒๕๖๑ ๔๒๙๒-๓ ต่อ ๗๑๙  การเดินทาง ไปวนอุทยานน้ำตกธารงามอยู่ห่างจากอำเภอหนองแสงประมาณ ๖ กิโลเมตร สามารถใช้เส้นทางในการเดินทางได้ ๓ เส้นทาง ได้แก่  เส้นทางแรก จากอุดรธานี-บ้านเหล่า-โคกลาด-อำเภอหนองแสง ระยะทางประมาณ ๓๕ กิโลเมตร เส้นทางที่สอง จากอุดรธานีไปบ้านคำกลิ้ง-บ้านตาด-อำเภอหนองแสง ระยะทางประมาณ ๓๐ กิโลเมตรเส้นที่สาม จากอุดรธานี-ห้วยเกิ้ง อำเภอหนองแสง ระยะทางประมาณ ๖๐ กิโลเมตร 




           ลักษณะพื้นที่โดยรอบเป็นเกาะ มีต้นชะโนด เกิดขึ้นรวมกันอยู่ เป็นกลุ่มประมาณ 20 ไร่ เป็นต้นไม้ชนิดที่หายากมาก ในประเทศไทย   ประกอบด้วยต้นมะพร้าว ต้นหมาก และต้นตาล รวมกันเป็นต้นชะโนด ภายในป่าชะโนดยังมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธ์อยู่ตรงกลางเกาะ เรียกว่า บ่อคำชะโนด เป็นน้ำใต้ดินที่พุ่งไหลซึมตลอดเวลา ทางจังหวัดได้เลือกน้ำจากบ่อนี้ไปร่วมในพิธีสำคัญเสมอ นอกจากนี้ยังมีศาลเจ้าพ่อพระยาศรีสุทโธ   ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ ในความศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างยิ่ง  ตามเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า เป็นพญานาคราช ที่อาศัยอยู่ในเมืองบาดาล และใช้เมืองคำชะโนดแห่งนี้ เป็นที่ขึ้นลงติดต่อระหว่างเมืองบาดาลกับเมือง มนุษย์ และยังมีเรื่องราวของความศักดิ์สิทธิ์น่าอัศจรรย์ของสถานที่นี้ ให้เป็นที่เล่าขานแก่ชาวเมืองคำชะโนด
      การเดินทางจากอุดรธานีไปได้ 2 เส้นทาง คือเส้นทางสายอุดร-หนองคาย เลี้ยวขวาตรง ทางแยกบ้านนาข่า ตามทางหลวงหมายเลข 2255    ถึงสามแยกบ้านสุมเส้าแล้ว เลี้ยวขวา ไป        อ. บ้านดุง    ต่อไปหมู่บ้านสันติสุข ถึงวัดศิริสุทโธ อีกประมาณ 12 กม .
หรือใช้เส้นทางอุดร-สกลนคร ประมาน 45 กม. แล้วเลีย้วซ้ายแยกบ้านหนองแม็ก ไป อ. บ้านดุง อีกประมาณ 40 กม . แล้วไปหมู่บ้านสัติสุขถึงวัด ศิริสุทโธอีกประมาณ 12 กม.


วนอุทยาน ภูฝอยลม


ภูฝอยลม เป็นพื้นที่ภูเขาที่มีสภาพอุดมสมบรูณ์อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติพันดอน-ปะโค อำเภอหนองแสงจังหวัดอุดรธานี สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 600 เมตร ตั้งชื่อตามชื่อของไลเคนชนิดหนึ่ง ชื่อว่าฝอยลมซึ่งเกาะอาศัยอยู่ตามกิ่งของต้นไม้ใหญ่กระจายอยู่เต็มพื้นที่  ต่อมาได้มีการให้สัมปทานทำไม้และมีราษฎรเข้ามาจับจองและบุกรุกพื้นที่เพื่อจัดตั้งหมูบ้าน จึงทำให้สภาพป่าเริ่มเสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ  จนทำให้ฝอยลมเริ่มน้อยลง จนแทบจะหาไม่ได้ในพื้นที่


พุทธอุทยานมหารุกขปาริชาติภูก้อน(วัดป่าภูก้อน)


 
       วัดป่าภูก้อนตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่านายูงและป่าน้ำโสม ท้องที่บ้านนาคำ ตำบลบ้านก้อง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี อันเป็นแผ่นดินรอยต่อ 3 จังหวัด คือ อุดรธานี เลย และหนองคาย กำเนิดขึ้นจากความดำริชอบของพุทธบริษัทผู้ตระหนักถึงคุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่ของป่าไม้ธรรมชาติซึ่งกำลังถูกทำลาย โดยมุ่งจะดำเนินตามรอยพระยุคลบาทในการรักษาความสมบูรณ์ของป่าต้นน้ำลำธาร ตลอดจนสัตว์ป่าและพรรณไม้นานาพันธุ์ เพื่อให้เป็นมรดกของลูกหลานแผ่นดินไทยตราบนานเท่านาน
     โดยในปี พ.ศ.2527 ครอบครัวคุณโอฬารและคุณปิยวรรณ วีรวรรณ ได้เดินทางมาธุดงค์กรรมฐาน และเกิดความเลื่อมใสในปฏิปทาของพระป่า ได้ช่วยเหลือด้านกฎหมายเป็นระเบียบของกรมป่าไม้ ให้วัดป่าสามารถอาศัยพื้นที่ป่าสงวนได้อย่างถูกต้อง ต่อมาท่านพระอาจารย์อินทร์ถวาย สันตุสสโก เจ้าอาวาสวัดป่านาคำน้อย ได้เมตตาพาไปดูป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ยิ่ง แต่กำลังจะถูกสัมปทานตีตราตัดไม้ คณะศรัทธาจึงได้ตัดสินใจสร้างวัด โดยกราบอาราธนาท่านพระอาจารย์ชาลี ถิรธัมโม (ปัจจุบันเป็นพระครูจิตตภาวนาญาณ) เป็นประธานและขวัญกำลังใจในการก่อสร้าง จนเป็นผลสำเร็จดังนี้
      วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2530 ได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ ให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่านายูงและป่าน้ำโสม ภายในเนื้อที่ 15 ไร่
      วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 ได้รับอนุญาตจากกรมศาสนาให้สร้างวัด
      วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการตั้งเป็น“วัดป่าภูก้อน
     วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2531 เพื่อรักษาบริเวณวัดให้คงสภาพป่าอย่างสมบูรณ์ คณะศรัทธาจึงพยายามอย่างหนัก    ที่จะขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่อยู่โดยรอบวัดด้วยจนในที่สุดได้รับหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติเพื่อจัดตั้งพุทธอุทยาน มีเนื้อที่ 1,000 ไร่ และได้รับขนานนาม





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น