วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555
วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555
10 สุดยอดที่เที่ยวฮอต จังหวัดบึงกาฬ
เปิดตัวกันไปเรียบร้อยแล้วสำหรับ 'บึงกาฬ' จังหวัดหมายเลข 77 ของประเทศไทย ที่หลายคนยังสงสัยว่าจังหวัดนี้ตั้งอยู่ส่วนไหนของประเทศไทยกันหนอ?
บึงกาฬ ชื่อนี้เคยมีสถานะเป็นแค่ อ.บึงกาฬ เขตการปกครองส่วนหนึ่งของจังหวัดหนองคาย มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างห่างไกลจากตัวจังหวัดหนองคายไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือราวๆ 136 กิโลเมตร และมีพื้นที่ติดกับแม่น้ำโขงเป็นแนวยาว เป็นพรมแดนกั้นระหว่างประเทศไทยกับแขวงบริคำไชย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แต่หลังจากประกาศเป็นจังหวัดบึงกาฬเมื่อกลางปีที่แล้ว ก็ได้รวมอำเภออีก7 แห่งที่อยู่ใกล้เคียงกันมารวมไว้ด้วยกันเป็นหนึ่งจังหวัดคือ อำเภอปากคาด อำเภอโซ่พิสัย อำเภอพรเจริญ อำเภอเซกา อำเภอบึงโขงหลง อำเภอศรีวิไล และอำเภอบุ่งคล้า ซึ่งในแต่ละอำเภอก็จุดเด่นและเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไป ทั้งทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ที่ถ้ามีโอกาสก็น่าจะได้เดินทางไปเยือนกันสักครั้ง
สำหรับใครที่สนอกสนใจและคิดจะเดินทางไปสัมผัสความสวยงามของจังหวัดบึงกาฬ Sanook! ท่องเที่ยว ก็ไม่พลาดรวบรวมสุดยอดที่เที่ยวของจังหวัดใหม่แห่งนี้มาให้นักเดินทางได้ชื่นชมและสัมผัสมนต์เสน่ห์ก่อนใคร
1. เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูวัว (อ. บุ่งคล้า) ผืนป่าใหญ่ของ จ. บึงกาฬ และเป็นป่าอนุรักษ์ที่สวยสมบูรณ์ที่สุดอีกแห่งหนึ่งของภาคอีสาน ภายในพื้นที่มีน้ำตกสวยงามหลายแห่ง เช่น น้ำตกถ้ำฝุ่น น้ำตกเล็กๆ ที่เข้าถึงสะดวกที่สุด บริเวณน้ำตกมีเพิงถ้ำหลายแห่ง หรือน้ำตกชะแนน น้ำตกใหญ่ที่ไหลลัดเลาะมาตามลำห้วย แล้วตกมาเป็นน้ำตกสามชั้นอยู่ห่างกัน คือ ขัวพญานาค ชะแนน และบึงจระเข้ โดยมีน้ำตกชะแนนเป็นน้ำตกขนาดใหญ่สุด
2.น้ำตกเจ็ดสี (อ. บุ่งคล้า) น้ำตกที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งในเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูวัว สายน้ำไหลตกจากหน้าผาหินทรายแล้วแผ่กว้างออกสวยงามตระการตา ด้านล่างมีแอ่งน้ำสำหรับเล่นน้ำและโขดหินให้นั่งเล่นพักผ่อนหย่อนใจ
3. น้ำตกตาดกินรี (อ. บึงโขงหลง) อยู่ในป่าภูลังกา เป็นน้ำตกใหญ่ไหลลงสู่หุบเหว น้ำตกชั้นบนไหลลดหลั่นกันไปตามลานหินกว้าง และมีแอ่งน้ำใสให้เราสามารถลงไปเล่นน้ำกันได้
4. บึงโขงหลง (อ. บึงโขงหลง) ทะเลสาบขนาดใหญ่ที่เป็นพื้นที่อนุรักษ์พันธุ์นก โดยเฉพาะนกน้ำที่ย้ายถิ่นเข้ามาในช่วงฤดูหนาว ทั้งห่านป่า นกเป็ดน้ำ นกยาง นกกระเต็น มีจุดดูนกอยู่ดอนสวรรค์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ทำการเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง บริเวณบึงยังมีหาดคำสมบูรณ์ที่มีหาดทรายทอดยาวในช่วงฤดูหนาว เป็นแหล่งพักผ่อนและชมวิวทิวทัศน์ มองเห็นภูลังกาเป็นฉากหลัง
5. ภูทอก (อ.ศรีวิไล ) ภูเขาหินทราย ที่มีวัดเจติยาคีรีวิหาร ตั้งอยู่เชิงเขา และมีสะพานไม้สร้างวนเวียนขึ้นไปสู่ยอดเขารวม 7 ชั้น เพื่อเป็นทางเดินขึ้นไปยังกุฏิและถ้ำที่อยู่ตามหลืบผา และมองเห็นความสวยงามของภูมิประเทศเบื้องล่างได้ไกลสุดลูกหูลูกตา ถ้าในวันที่อากาศแจ่มใสอาจมองได้ไกลถึงเทือกเขาในเขตจังหวัดนครพนม
6.วัดสว่างอารมณ์ (อ. ปากคาด) ภายในวัดมีโบสถ์อยู่ยนก้อนหินใหญ่ หลืบถ้ำด้านล่างเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปไสยาสน์ปางปรินิพพาน บริเวณด้านบนก้อนหินเป็นจุดชมวิวทิวทัศน์สวยงามของแม่น้ำโขง
7.หาดทรายขาว (อ. บึงกาฬ)เป็นหาดทรายขาวริมฝั่งแม่น้ำโขงที่สวยงามระยะทางยาวประมาณ 2 กม. เมื่อยามเช้าและเย็นอากาศดีลมพัดเย็นสบาย และความสวยงามเมื่อพระอาทิตย์ลับขอบฟ้า
8.แก่งอาฮง (อ.บึงกาฬ) เป็นแก่งหินกลางลำน้ำโขง บริเวณหน้าวัดอาฮงศิลาวาส บ้านอาฮง ตำบลหอคำ ถือว่าเป็นจุดที่แม่น้ำโขงมีความลึกที่สุดไม่สามารถวัดความลึกได้ กระแสน้ำบริเวณแก่งอาฮงจะไหลเชี่ยวมากในฤดูน้ำหลากและมีกระแสน้ำไหลวนเป็น รูปกรวยขนาดใหญ่ซึ่งชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็น "สะดือแม่น้ำโขง" แม่น้ำโขงบริเวณแก่งอาฮงมีความกว้างประมาณ300 เมตร ในฤดูน้ำลดและมีความกว้างราว 400 เมตร ในฤดูน้ำหลาก และจะสามารถมองเห็นแก่งได้ในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคมของทุกปี และกลุ่มหินที่ปรากฎบริเวณแก่งอาฮงจะมีชื่อเรียกตามลักษณะของหิน เช่น หินลิ้น นาค หินปลาเข้ ถ้ำปลาสวาย นอกจากจะเป็นแหล่งพักผ่อนและสถานที่ท่องเที่ยวของอำเภอบึงกาฬและเป็นสถานที่ เกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ คือ"บั้งไฟพญานาค" ในช่วงประเพณี ออกพรรษา จะมีนักท่องเที่ยวมาพักเที่ยวชมปรากฏการณ์ธรรมชาติ ปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค บริเวณบ้านอาฮงเป็นจำนวนมาก จะมีมากในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ที่ปฏิทินไทย กับปฏิทินประเทศ สปป.ลาวตรงกัน และชาวบ้านโดยรอบยังอาศัยทำการประมงด้วย
9. หนองกุดทิง (อ.บึงกาฬ) แหล่งท่องเที่ยวและพื้นที่ชุ่มน้ำแห่งหนองคายที่ยังความเป็นธรรมชาติไว้อย่างแท้จริง ด้วยมีพื้นที่เชื่อมต่อแม่น้ำโขง ทำให้พื้นที่แห่งนี้มีความความหลากหลายทางชีวภาพจนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำสำคัญระดับโลก (พื้นที่แรมซาร์) แห่งที่ 11 ของประเทศไทย หนองกุดทิง มีพื้นที่ราว 22,000 ไร่ มีสัตว์น้ำอาศัยอยูมากกว่า 250 สายพันธุ์ มีปลาที่เป็นเอกลักษณ์หนึ่งเดียวในโลกถึง 20 สายพันธ์ มีนกพันธุ์ต่างๆกว่า40 ชนิด เหมาะสำหรับการมาพักผ่อน ชื่นชมธรรมชาติในวันสบายๆ
10. ตลาดสองฝั่งโขง (อ.บึงกาฬ) เป็นตลาดริมแม่น้ำโขง ที่มีพ่อค้าแม่ค้าทั้งคนไทย และคนลาวข้ามฟากมาเปิดขายสินค้าในท้องถิ่นกันอย่างคึกคัก ทั้งอาหารสด อาหารแห้ง เสื้อผ้า ของกินพื้นถิ่น เดินเล่นชิลล์ๆ ในบรรยากาศแบบพื้นบ้าน ติดตลาดเฉพาะวันอังคารกับวันศุกร์
การเดินทางไปจังหวัดบึงกาฬ สามารถเดินทางหลายเส้นทาง ดังนี้
1.รถยนต์
- จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหมายเลข 1 ผ่านจังหวัดสระบุรีแล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 2 ผ่านจังหวัดนครราชสีมา-จังหวัดขอนแก่น- จังหวัดอุดรธานี-จนถึงจังหวัดหนองคายและจากหนองคายสู่อำเภอบึงกาฬ โดยจะผ่านอำเภอโพนพิสัย กิ่งอำเภอรัตนวาปี อำเภอปากคาด รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 751 กิโลเมตร
2. รถโดยสารประจำทาง
มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถโดยสารธรรมดาและรถปรับอากาศ
- จากบริษัทขนส่งจำกัด http://www.transport.co.th โทรศัพท์: 0 2 936 2841 - 48, 0 2936 2852 - 66 ต่อ 442, 311
- บริษัท แอร์อุดร จำกัด http://airudon.comze.com สำรองที่นั่ง กรุงเทพฯ โทร 02 936 2735 อุดรธานี โทร 0 4224 5789 สถานที่จำหน่ายตั๋วอาคารหมอชิต 2 ชั้น 3 ช่องจำหน่ายตั๋ว 55 และ 118 (หลังประชาสัมพันธ์ ชั้น 3)
- บริษัท 407 พัฒนา ให้บริการด้วยรถปรับอากาศชั้น 1 และชั้น 2 ชนิด ม.1ข ,ม.4ข ,ม.1พ ,ม.2 ให้บริการรถสาย กรุงเทพฯ หนองคาย บึงกาฬ บุ่งคล้า, กรุงเทพฯ กุมภวาปี บึงกาฬ ,ระยอง-ขอนแก่น-พังโคน-บึงกาฬ
และยังมีรถบริษัทเอกชนหลายแห่ง จัดรถวิ่งระหว่างกรุงเทพฯ-หนองคาย โดยเริ่มจากสถานีขนส่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (หมอชิต 2) ถนนกำแพงเพชร
3. รถไฟ
- มีขบวนรถไฟจากกรุงเทพฯ-หนองคาย และขบวนรถด่วนดีเซลราง กรุงเทพ - อุดรฯ ทุกวัน ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020 www.railway.co.th สถานีรถไฟหนองคาย โทร. 0 4241 1592
4. เครื่องบิน
สามารถ ไปได้โดยลงที่สนามบินจังหวัดอุดรธานี รายละเอียดสอบถามได้ที่บริษัทการบินไทย จำกัด http://www.thaiairways.co.th/ ศูนย์สำรองที่นั่ง 0 2356 1111
สายการบิน ไทยแอร์เอเชีย โทร. 0 2515 9999 http://www.airasia.com/th/th/home.html
สายการบินนกแอร์ www.nokair.com Call us Nok Air at 1318 or +662- 900-9955
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงาน ททท. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 5โทร. 0-4232-5406-7 หรือสอบถามข้อมูลได้ที่ โทร.1672
เรียบเรียงข้อมูลโดย สนุก!ท่องเที่ยว
ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก วิกีพิเดีย บึงกาฬ.คอม บึงโขงหลง.คอม ศรีวิไล.เน็ต และ ธนปกรณ์ สุขสาลี
เปิดตัวกันไปเรียบร้อยแล้วสำหรับ 'บึงกาฬ' จังหวัดหมายเลข 77 ของประเทศไทย ที่หลายคนยังสงสัยว่าจังหวัดนี้ตั้งอยู่ส่วนไหนของประเทศไทยกันหนอ?
บึงกาฬ ชื่อนี้เคยมีสถานะเป็นแค่ อ.บึงกาฬ เขตการปกครองส่วนหนึ่งของจังหวัดหนองคาย มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างห่างไกลจากตัวจังหวัดหนองคายไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือราวๆ 136 กิโลเมตร และมีพื้นที่ติดกับแม่น้ำโขงเป็นแนวยาว เป็นพรมแดนกั้นระหว่างประเทศไทยกับแขวงบริคำไชย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แต่หลังจากประกาศเป็นจังหวัดบึงกาฬเมื่อกลางปีที่แล้ว ก็ได้รวมอำเภออีก7 แห่งที่อยู่ใกล้เคียงกันมารวมไว้ด้วยกันเป็นหนึ่งจังหวัดคือ อำเภอปากคาด อำเภอโซ่พิสัย อำเภอพรเจริญ อำเภอเซกา อำเภอบึงโขงหลง อำเภอศรีวิไล และอำเภอบุ่งคล้า ซึ่งในแต่ละอำเภอก็จุดเด่นและเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไป ทั้งทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ที่ถ้ามีโอกาสก็น่าจะได้เดินทางไปเยือนกันสักครั้ง
สำหรับใครที่สนอกสนใจและคิดจะเดินทางไปสัมผัสความสวยงามของจังหวัดบึงกาฬ Sanook! ท่องเที่ยว ก็ไม่พลาดรวบรวมสุดยอดที่เที่ยวของจังหวัดใหม่แห่งนี้มาให้นักเดินทางได้ชื่นชมและสัมผัสมนต์เสน่ห์ก่อนใคร
การเดินทางไปจังหวัดบึงกาฬ สามารถเดินทางหลายเส้นทาง ดังนี้
1.รถยนต์
- จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหมายเลข 1 ผ่านจังหวัดสระบุรีแล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 2 ผ่านจังหวัดนครราชสีมา-จังหวัดขอนแก่น- จังหวัดอุดรธานี-จนถึงจังหวัดหนองคายและจากหนองคายสู่อำเภอบึงกาฬ โดยจะผ่านอำเภอโพนพิสัย กิ่งอำเภอรัตนวาปี อำเภอปากคาด รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 751 กิโลเมตร
2. รถโดยสารประจำทาง
มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถโดยสารธรรมดาและรถปรับอากาศ
- จากบริษัทขนส่งจำกัด http://www.transport.co.th โทรศัพท์: 0 2 936 2841 - 48, 0 2936 2852 - 66 ต่อ 442, 311
- บริษัท แอร์อุดร จำกัด http://airudon.comze.com สำรองที่นั่ง กรุงเทพฯ โทร 02 936 2735 อุดรธานี โทร 0 4224 5789 สถานที่จำหน่ายตั๋วอาคารหมอชิต 2 ชั้น 3 ช่องจำหน่ายตั๋ว 55 และ 118 (หลังประชาสัมพันธ์ ชั้น 3)
- บริษัท 407 พัฒนา ให้บริการด้วยรถปรับอากาศชั้น 1 และชั้น 2 ชนิด ม.1ข ,ม.4ข ,ม.1พ ,ม.2 ให้บริการรถสาย กรุงเทพฯ หนองคาย บึงกาฬ บุ่งคล้า, กรุงเทพฯ กุมภวาปี บึงกาฬ ,ระยอง-ขอนแก่น-พังโคน-บึงกาฬ
และยังมีรถบริษัทเอกชนหลายแห่ง จัดรถวิ่งระหว่างกรุงเทพฯ-หนองคาย โดยเริ่มจากสถานีขนส่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (หมอชิต 2) ถนนกำแพงเพชร
3. รถไฟ
- มีขบวนรถไฟจากกรุงเทพฯ-หนองคาย และขบวนรถด่วนดีเซลราง กรุงเทพ - อุดรฯ ทุกวัน ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020 www.railway.co.th สถานีรถไฟหนองคาย โทร. 0 4241 1592
4. เครื่องบิน
สามารถ ไปได้โดยลงที่สนามบินจังหวัดอุดรธานี รายละเอียดสอบถามได้ที่บริษัทการบินไทย จำกัด http://www.thaiairways.co.th/ ศูนย์สำรองที่นั่ง 0 2356 1111
สายการบิน ไทยแอร์เอเชีย โทร. 0 2515 9999 http://www.airasia.com/th/th/home.html
สายการบินนกแอร์ www.nokair.com Call us Nok Air at 1318 or +662- 900-9955
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงาน ททท. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 5โทร. 0-4232-5406-7 หรือสอบถามข้อมูลได้ที่ โทร.1672
เรียบเรียงข้อมูลโดย สนุก!ท่องเที่ยว
ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก วิกีพิเดีย บึงกาฬ.คอม บึงโขงหลง.คอม ศรีวิไล.เน็ต และ ธนปกรณ์ สุขสาลี
ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดกาฬสินธุ์
อนุสาวรีย์พระยาชัยสุนทร (ท้าวโสมพะมิตร)
อำเภอเมือง จ.กาฬสินธุ์ตั้งอยู่หน้าที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นอนุสาวรีย์หล่อด้วยสัมฤทธิ์เท่าตัวจริง ยืนบนแท่นมือขวาถือกาน้ำ มือซ้ายถือดาบอาญาสิทธิ์ ชาวกาฬสินธุ์ทุกหมู่เหล่าได้สละทรัพย์ก่อสร้างอนุสาวรีย์ เพื่อเป็นการแสดงกตเวทิตา ต่อผู้ให้กำเนิดเมืองกาฬสินธุ์
พิพิธภัณฑ์สิรินธร
อำเภอสหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์พิพิธภัณฑ์สิรินธร ตั้งอยู่ที่เชิงภูกุ้มข้าว อำเภอสหัสขันธ์ สามารถเดินทางโดยใช้เส้นทางกาฬสินธุ์-สหัสขันธ์ (ทางหลวง 227) ประมาณ 28 กิโลเมตร (ก่อนถึงสหัสขันธ์ 2 กิโลเมตร) มีทางแยกขวาไปอีก 1 กิโลเมตร บริเวณภูกุ้มข้าว ซึ่งเดิมเป็นพื้นที่ของวัดสักกะวัน เป็นสถานที่ค้นพบกระดูกไดโนเสาร์จำนวนมาก รวมทั้งโครงกระดูกไดโนเสาร์ทั้งตัวที่สมบูรณ์ ที่ฝังอยู่ในพื้นดินและได้รับการขุดแต่ง โดยเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรธรณี
พิพิธภัณฑ์สิรินธร หรือพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว เป็นพิพิธภัณฑ์และศูนย์วิจัยเกี่ยวกับไดโนเสาร์ ที่สมบูรณ์แบบและใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้รับพระราชทานนามจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ว่า "พิพิธภัณฑ์สิรินธร" การจัดแสดงภายในอาคารแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 การกำเนิดโลก ส่วนที่ 2 การกำเนิดของสิ่งมีชีวิตซึ่งรวมถึงไดโนเสาร์ จนถึงการกำเนิดมนุษย์ ส่วนที่ 3 เป็นนิทรรศการหมุนเวียน ปัจจุบันกำลังจัดแสดงนิทรรศการ “ซากดึกดำบรรพ์ปลาภูน้ำจั้น” ซึ่งเป็นซากปลาน้ำจืดโบราณพันธุ์ใหม่ของโลกซึ่งอยู่ในสภาพสมบูรณ์ มีชื่อว่า "เลปิโดเทส" มีความยาวประมาณ 30-60 เซนติเมตรอยู่ในยุคมีโซโซอิก หรือ 65 ล้านปีที่แล้ว ช่วงเดียวกับไดโนเสาร์
พิพิธภัณฑ์สิรินธร เปิดให้บริการทุกวัน (ทั้งวันธรรมดาและวันหยุด) เวลา 8.30-17.30 น. ขณะนี้เปิดให้เข้าชมฟรีจนกว่าจะประกาศเปิดอย่างเป็นทางการต่อไป หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 4387 1014
นอกจากนี้ในบริเวณที่เป็นที่ตั้งของวัดสักกะวัน เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อบันดาลฤทธิผล (หลวงพ่อบ้านด่าน) พระพุทธรูปปางมารวิชัย สมัยทวารวดี ซึ่งชาวบ้านในท้องถิ่นถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง
พิพิธภัณฑ์สิรินธร หรือพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว เป็นพิพิธภัณฑ์และศูนย์วิจัยเกี่ยวกับไดโนเสาร์ ที่สมบูรณ์แบบและใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้รับพระราชทานนามจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ว่า "พิพิธภัณฑ์สิรินธร" การจัดแสดงภายในอาคารแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 การกำเนิดโลก ส่วนที่ 2 การกำเนิดของสิ่งมีชีวิตซึ่งรวมถึงไดโนเสาร์ จนถึงการกำเนิดมนุษย์ ส่วนที่ 3 เป็นนิทรรศการหมุนเวียน ปัจจุบันกำลังจัดแสดงนิทรรศการ “ซากดึกดำบรรพ์ปลาภูน้ำจั้น” ซึ่งเป็นซากปลาน้ำจืดโบราณพันธุ์ใหม่ของโลกซึ่งอยู่ในสภาพสมบูรณ์ มีชื่อว่า "เลปิโดเทส" มีความยาวประมาณ 30-60 เซนติเมตรอยู่ในยุคมีโซโซอิก หรือ 65 ล้านปีที่แล้ว ช่วงเดียวกับไดโนเสาร์
พิพิธภัณฑ์สิรินธร เปิดให้บริการทุกวัน (ทั้งวันธรรมดาและวันหยุด) เวลา 8.30-17.30 น. ขณะนี้เปิดให้เข้าชมฟรีจนกว่าจะประกาศเปิดอย่างเป็นทางการต่อไป หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 4387 1014
นอกจากนี้ในบริเวณที่เป็นที่ตั้งของวัดสักกะวัน เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อบันดาลฤทธิผล (หลวงพ่อบ้านด่าน) พระพุทธรูปปางมารวิชัย สมัยทวารวดี ซึ่งชาวบ้านในท้องถิ่นถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง
เมืองฟ้าแดดสงยาง
อำเภอกมลาไสย จ.กาฬสินธุ์เมืองฟ้าแดดสงยาง ตั้งอยู่ที่บ้านเสมา ตำบลหนองแปง ห่างจากตัวจังหวัด 19 กิโลเมตร ตามเส้นทางหมายเลข 214 (กาฬสินธุ์-ร้อยเอ็ด) ระยะทาง 13 กิโลเมตร ถึงอำเภอกมลาไสย เลี้ยวขวาตามทางหลวงหมายเลข 2367 ระยะทาง 6 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าซอยอีกประมาณ 400 เมตร เมืองฟ้าแดดสงยาง หรือที่เรียกเพี้ยนเป็นฟ้าแดดสูงยาง บางแห่งเรียกเมืองเสมาเนื่องจาก แผนผังของเมืองมีรูปร่างคล้ายใบเสมา เป็นเมืองโบราณที่มีคันดินล้อมรอบ 2ชั้น ความยาวของคันดินโดยรอบประมาณ 5 กิโลเมตร คูน้ำจะอยู่ตรงกลางคันดินทั้งสอง จากหลักฐานโบราณคดีที่ค้นพบ ทำให้ทราบว่ามีการอยู่อาศัยภายในเมือง มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แล้วได้เจริญรุ่งเรืองมากขึ้นในสมัยทวารวดีราวพุทธศตวรรษที่ 13-15 ดังหลักฐานทางพุทธศาสนา ที่ปรากฏโดยทั่วไปทั้งภายในและนอกเมือง เช่น ใบเสมาหินทราย จำหลักภาพเรื่องชาดก และพุทธประวัติจำนวนมาก บางส่วนเก็บไว้ที่วัดโพธิ์ชัยเสมาราม ซึ่งอยู่ภายในเมือง บางแห่งอยู่ในตำแหน่งดั้งเดิมที่พบ และบางส่วนก็นำไปเก็บรักษา และจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติขอนแก่น นอกจากนั้นยังมีซากศาสนสถานกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ภายในเมืองและนอกเมือง เช่นพระธาตุยาคู และกลุ่มเจดีย์บริเวณศาสนสถานที่โนนวัดสูง โนนฟ้าหยาด และโนนฟ้าแดด กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเมืองฟ้าแดดสงยาง เป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2479
พระธาตุยาคู หรือพระธาตุใหญ่ เป็นเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดในเมืองฟ้าแดดสงยาง ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมก่อด้วยอิฐ ปรากฏการก่อสร้าง 3 สมัยด้วยกันคือ ส่วนฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม มีบันไดทางขึ้น 4 ทิศ มีปูนปั้นประดับสร้างในสมัยทวารวดี ถัดขึ้นมาเป็นฐานรูปแปดเหลี่ยมซึ่งสร้างซ้อนทับบนฐานเดิม เป็นรูปแบบเจดีย์ในสมัยอยุธยา ส่วนองค์ระฆังและส่วนยอดสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ รอบ ๆ องค์พระธาตุพบใบเสมาแกะสลักภาพนูนต่ำเรื่องพุทธประวัติ ชาวบ้านเชื่อกันว่าในองค์พระธาตุบรรจุอัฐิของพระเถระผู้ใหญ่ที่ชาวเมืองเคารพนับถือ สังเกตได้จากเมื่อเมืองเชียงโสมชนะสงคราม ได้ทำลายทุกสิ่งทุกอย่างในเมืองฟ้าแดด แต่ไม่ได้ทำลายพระธาตุยาคู จึงเป็นโบราณสถานที่ยังคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ชาวบ้านจะจัดให้มีงานประเพณีบุญบั้งไฟเป็นประจำทุกปีในเดือนพฤษภาคม เพื่อเป็นการขอฝนและความร่มเย็นให้กับหมู่บ้าน
พระธาตุยาคู หรือพระธาตุใหญ่ เป็นเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดในเมืองฟ้าแดดสงยาง ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมก่อด้วยอิฐ ปรากฏการก่อสร้าง 3 สมัยด้วยกันคือ ส่วนฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม มีบันไดทางขึ้น 4 ทิศ มีปูนปั้นประดับสร้างในสมัยทวารวดี ถัดขึ้นมาเป็นฐานรูปแปดเหลี่ยมซึ่งสร้างซ้อนทับบนฐานเดิม เป็นรูปแบบเจดีย์ในสมัยอยุธยา ส่วนองค์ระฆังและส่วนยอดสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ รอบ ๆ องค์พระธาตุพบใบเสมาแกะสลักภาพนูนต่ำเรื่องพุทธประวัติ ชาวบ้านเชื่อกันว่าในองค์พระธาตุบรรจุอัฐิของพระเถระผู้ใหญ่ที่ชาวเมืองเคารพนับถือ สังเกตได้จากเมื่อเมืองเชียงโสมชนะสงคราม ได้ทำลายทุกสิ่งทุกอย่างในเมืองฟ้าแดด แต่ไม่ได้ทำลายพระธาตุยาคู จึงเป็นโบราณสถานที่ยังคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ชาวบ้านจะจัดให้มีงานประเพณีบุญบั้งไฟเป็นประจำทุกปีในเดือนพฤษภาคม เพื่อเป็นการขอฝนและความร่มเย็นให้กับหมู่บ้าน
เขื่อนลำปาว
อำเภอยางตลาด จ.กาฬสินธุ์เขื่อนลำปาว เป็นเขื่อนดินซึ่งสร้างปิดกั้นลำน้ำปาว และห้วยยาง มีบริเวณเขตติดต่อระหว่างตำบลลำปาว อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ตำบลหนองบัว อำเภอหนองกุงศรี และตำบลเว่อ อำเภอยางตลาด ตามเส้นทางหมายเลข 209 ทางหลวงสายกาฬสินธุ์-มหาสารคาม ตรงหลักกิโลเมตรที่ 10 แยกขวามือเข้าเขื่อนลำปาวตามถนนลาดยาง 26 กิโลเมตร เป็นเขื่อนดินสูงจากท้องน้ำ 33 เมตร สันเขื่อนยาว 7.8 เมตร กว้าง 8 เมตร เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2506 สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2511 เพื่อปิดกั้นลำน้ำปาวและห้วยยาง ที่บ้านหนองสองห้อง ตำบลลำปาว อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ทำให้เกิดอ่างเก็บน้ำแฝดทางด้านเหนือเขื่อน จึงได้ขุดร่องเชื่อมระหว่างอ่างทั้งสอง เก็บน้ำได้ 1,430 ล้านลูกบาศก์เมตร สร้างขึ้นเพื่อบรรเทาอุทกภัยและเพื่อการเกษตรโดยเฉพาะ นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลา มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจได้แก่ หาดดอกเกด ซึ่งเปรียบเสมือนสวรรค์ชายหาดของคนอีสาน
น้ำตกผานางคอย
อำเภอเขาวง จ.กาฬสินธุ์น้ำตกผานางคอย เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ไหลมาจากเทือกเขาภูพาน แบ่งเป็นชั้นๆ มีความสวยงามมาก สภาพป่าโดยรอบเขียวขจีอุดมสมบูรณ์ และลักษณะเด่นคือ มีน้ำไหลตลอดปีแม้ในฤดูแล้ง
การเดินทาง จากสี่แยกอำเภอเขาวงทางหลวงหมายเลข 2291 เดินทางเข้าทาง รพช. มีป้ายตรงไปน้ำตกผานางคอยระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร (ทางบางช่วงจะเป็นลูกรัง)
การเดินทาง จากสี่แยกอำเภอเขาวงทางหลวงหมายเลข 2291 เดินทางเข้าทาง รพช. มีป้ายตรงไปน้ำตกผานางคอยระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร (ทางบางช่วงจะเป็นลูกรัง)
น้ำตกตาดทอง
อำเภอเขาวง จ.กาฬสินธุ์น้ำตกตาดทอง อยู่ในเขตอำเภอเขาวง บนเส้นทาง เขาวงดงหลวง-มุกดาหาร เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามด้วยโขดหินสลับซับซ้อน ในฤดูฝนจะเป็นช่วงที่สวยงามที่สุด น้ำตกตาดทองจะจัดให้มีงานขึ้นทุกๆ ปี ในช่วงเดือนตุลาคม รถยนต์สามารถเดินทางเข้าถึงน้ำตกได้โดยสะดวก
การเดินทาง เดินทางตามทางหลวงหมายเลข 2291 ถึงสามแยกกุดปลาเค้าเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2287 กิโลเมตรที่ 76 น้ำตกจะอยู่ทางขวามือ
การเดินทาง เดินทางตามทางหลวงหมายเลข 2291 ถึงสามแยกกุดปลาเค้าเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2287 กิโลเมตรที่ 76 น้ำตกจะอยู่ทางขวามือ
ผาเสวย
อำเภอท่าคันโท จ.กาฬสินธุ์ผาเสวย อยู่บนเทือกเขาภูพาน เขตบ้านแก้งกะอาม ตำบลผาเสวย อำเภอสมเด็จ ห่างจากที่ว่าการอำเภอสมเด็จ 17 กิโลเมตร หรืออยู่ห่างจากจังหวัดกาฬสินธุ์ ประมาณ 58 กิโลเมตร เส้นทางสายสมเด็จ-สกลนคร เดิมชาวบ้านเรียกว่า “ผารังแร้ง” เมื่อ พ.ศ. 2497 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จผ่านและเสวยพระกระยาหารกลางวัน จึงเรียกที่ประทับนั้นว่า “ผาเสวย” ลักษณะตั้งอยู่บนเหวลึก หน้าผาสูงชัน ชาวบ้านเรียกว่า “เหวหำหด” บนหน้าผาเสวยสามารถชมทัศนียภาพ และเป็นที่พักผ่อนได้เป็นอย่างดี
กลุ่มทอผ้าไหมแพรวาบ้านโพน
อำเภอคำม่วง จ.กาฬสินธุ์กลุ่มทอผ้าไหมแพรวาบ้านโพน อยู่ห่างจากจังหวัดกาฬสินธุ์ 70 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 227 ผ้าแพรวาเป็นผ้าไหมลายมัดหมี่ ที่มีลายเอกลักษณ์เฉพาะตัวของกลุ่มทอผ้าชาวผู้ไทยบ้านโพน แบ่งออกเป็น 2 ลาย ได้แก่ ลายหลัก และลายแถบ ส่วนสีของผ้าแพรวามิได้มีเพียงสีแดงเท่านั้น ปัจจุบันนี้มีการให้สีต่างๆ มากขึ้น ตามความต้องการของตลาด เช่น สีครีม สีชมพูอ่อน สีม่วง สีน้ำเงิน สีเขียว เป็นต้น ซึ่งนับได้ว่าการทอผ้าแพรวา เป็นงานศิลปหัตถกรรมประเภทสิ่งทอที่หาได้น้อยแห่งในประเทศไทย ต่อมาสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ทรงสนับสนุน จนเป็นที่แพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ
หมู่บ้านวัฒนธรรมผู้ไทยโคกโก่ง
อำเภอกุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์หมู่บ้านวัฒนธรรมไทยโคกโก่ง เป็นหมู่บ้านที่มีการอนุรักษ์วัฒนธรรมชาวผู้ไทย เปิดต้อนรับนักท่องเที่ยว ที่สนใจท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้พักแรม (home stay) สัมผัสวิถีชีวิตชาวบ้าน กิจกรรมที่จัดให้ได้แก่ พิธีบายศรีสู่ขวัญ พิธีเหยา (การรักษาผู้ป่วย) ประเพณีลงข่วง รับประทานอาหารพื้นบ้านแบบพาแลง ชมการแสดงศิลปพื้นบ้าน และเพลิดเพลินกับการเดินชมป่าเขาลำเนาไพร น้ำตกตาดสูง-ตาดยาว ศึกษาธรรมชาติพรรณไม้และพืชสมุนไพรท้องถิ่น ตามเส้นทางเดินป่าในวนอุทยานภูผาวัว เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูสีฐาน ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0 4381 9500
การเดินทาง จากอำเภอกุฉินารายณ์ ไปตามทางหลวงหมายเลข 2042 ประมาณ 12 กิโลเมตร ถึงบ้านนาไคร้ เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 3 กิโลเมตร
การเดินทาง จากอำเภอกุฉินารายณ์ ไปตามทางหลวงหมายเลข 2042 ประมาณ 12 กิโลเมตร ถึงบ้านนาไคร้ เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 3 กิโลเมตร
สถานีศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าลำปาว (สวนสะออน)
อำเภอยางตลาด จ.กาฬสินธุ์สถานีศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าลำปาว (สวนสะออน) อยู่บริเวณทิศตะวันออกของอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว มีเนื้อที่ 1,420 ไร่ เป็นสวนป่าธรรมชาติ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรมป่าไม้ กรมชลประทาน กรมทางหลวง ได้ร่วมกันดำเนินการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติสวนสัตว์เปิด ได้นำสัตว์ป่าชนิดต่างๆ มาปล่อยไว้ให้อยู่แบบธรรมชาติดั้งเดิม มี “วัวแดง” เป็นสัตว์ป่าที่เป็นเอกลักษณ์ของสถานีฯ สภาพของป่าเป็นป่าเต็งรัง หรือป่าแดงมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ซึ่งเปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 07.00-18.00 น. ไม่เสียค่าเข้าชม การใช้บ้านพักของสถานีฯ และตั้งแค้มป์พักแรมต้องขออนุญาตเจ้าหน้าที่สถานีฯ หรือทำจดหมายขออนุญาตล่วงหน้าส่งไปที่ สถานีศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าลำปาว ตู้ ป.ณ. 120 อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ 46000 หรือผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้ เขตบางเขน กรุงเทพฯ โทร.0 2562 0760 www.dnp.go.th
การเดินทางได้สองเส้นทาง คือ ตามเส้นทางไปเขื่อนลำปาว เมื่อถึงตัวเขื่อนจะมีทางเลียบสันเขื่อนไปอีกประมาณ 4 กิโลเมตร หรือใช้เส้นทางกาฬสินธุ์-สหัสขันธ์ (ทางหลวง 227) ประมาณ 19 กิโลเมตร และมีทางแยกซ้ายไปสวนสะออนอีกประมาณ 5 กิโลเมตร
การเดินทางได้สองเส้นทาง คือ ตามเส้นทางไปเขื่อนลำปาว เมื่อถึงตัวเขื่อนจะมีทางเลียบสันเขื่อนไปอีกประมาณ 4 กิโลเมตร หรือใช้เส้นทางกาฬสินธุ์-สหัสขันธ์ (ทางหลวง 227) ประมาณ 19 กิโลเมตร และมีทางแยกซ้ายไปสวนสะออนอีกประมาณ 5 กิโลเมตร
พิพิธภัณฑ์ของดีเมืองกาฬสินธุ์
อำเภอเมือง จ.กาฬสินธุ์ พิพิธภัณฑ์ของดีเมืองกาฬสินธุ์ ตั้งอยู่ ณ ศาลากลางจังหวัด (อาคารเดิม) จัดตั้งเป็นศูนย์สาธิต อาชีพหัตถกรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วย ห้องจัดแสดงนิทรรศการต่างๆ ได้แก่ห้องวิถีชีวิตชาวผู้ไทย ชนชาวผู้ไทยเป็นกลุ่มมอญที่อพยพมาจาก เมืองน้ำน้อยอ้อยหนูในแคว้นสิบสองจุไทย เคลื่อนย้ายผ่านเวียดนามและลาวข้ามฝั่งโขงมาอาศัยตั้งรกราก อยู่ทางอีสานของไทยโดยเฉพาะจังหวัดกาฬสินธุ์ มีชนเผ่า ผู้ไทยอาศัยอยู่ในหลายอำเภอ เช่น อำเภอเขาวง อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอคำม่วง อำเภอสมเด็จ อำเภอนาคู และกิ่งอำเภอสามชัย ภายในห้องวิถีชีวิตชาวผู้ไทยกาฬสินธุ์ ได้จำลองวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชน ชาวผู้ไทยไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ เช่น การทอผ้า การทอเสื่อ เรือนผู้ไทย การเลี้ยงสัตว์ การทำเลือกสวนไร่นา เป็นต้น
ห้องพิพิธภัณฑ์แพรวาเฉลิมพระเกียรติ จัดขึ้นเพื่อสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรที่อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ทรงสนพระทัยในความงดงามปราณีตของผ้าไหมแพรวาไว้ในโครงการศิลปชีพพิเศษ ซึ่งเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่ประชาชนชาวจังหวัดกาฬสินธุ์อย่างยิ่ง ลายแพรวาจัดทอขึ้นด้วยการทอมือเรียบเรียงเส้นสายลายไหมผูกด้วยมือ เป็นลายจำลองจากสัตว์ เรียกว่า " ลายนาคเกี้ยว " จำลองจากพืชพันธุ์ไม้เรียกว่า " ลายดอกสร้อย " จำลองจากสิ่งประดิษฐ์ เรียกว่า " ลายปราสาท " เป็นต้น
ห้องวัฒนธรรมภาพนิทัศน์
ส่วนที่ 1 แสดงวิถีชีวิตของชุมชนที่มีวัด พระสงฆ์และหลักธรรมทางศาสนา เป็นข้อชี้นำ อาทิเช่น การแต่งงาน พิธีกรรม สะเดาะเคราะห์ การตาย มหรสพ การละเล่น หญิงคลอดลูก หมอนวด และหมอยา
ส่วนที่ 2 แสดงศักยภาพทางภูมิศาสตร์ของจังหวัด แหล่งน้ำสำคัญ การดำรงชีวิตการประกอบอาชีพ เครื่องมือยังชีพ เครื่องมือล่าสัตว์ และเครื่องมือหัตถกรรมสตรี
ห้องเจ้าเมือง ได้รวบรวมรูปปั้นจำลองของเจ้าเมือง นับจากพระยาชัยสุนทรเจ้าเมืองคนแรก พระชายา พระโอรส พระญาติและได้จัดแสดงแผนผังเครือญาติสืบสกุลมาจากเจ้าเมือง ซึ่งรวมถึงเมืองกมลาไสย เมืองกุดสิมนารายณ์ เมืองภูแล่นช้าง และเมืองสหัสขันธ์ จนมีบุตรหลานสืบสกุลหลายสาย ที่ยังเป็นนามสกุลของคนเมืองกาฬสินธุ์ในปัจจุบัน
ห้องคนดีศรีกาฬสินธุ์ รวบรวมบุคคลในจังหวัดกาฬสินธุ์ ที่สมควรได้รับการยกย่องด้วยทำคุณาปการแก่บ้านเมือง เป็นคนดีศรีกาฬสินธุ์
ห้องพระพุทธมิ่งเมืองกาฬสินธุ์ รวบรวมพระเครื่อง และวัตถุมงคลต่างๆ ที่สร้างในจังหวัดกาฬสินธุ์
ห้องปลอดยาเสพติด จัดแสดงแผนกลยุทธุ์ของจังหวัด ในการต่อสู้เพื่อชนะยาเสพติดจนได้ชื่อว่าเป็นจังหวัดแรกของประเทศไทย ที่สามารถประกาศเป็นพื้นที่ปลอดยาเสพติด ประกาศเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2545
ห้องแสดงผลงานจิตรกรรมของ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ได้แก่
- ภาพพระอาทิตย์ทรงกรด
- ภาพกิจกรรมไทยเรื่องทศชาติชาดก
- ภาพชาดกที่จัดประกอบการแสดง
ลงสีน้ำฝนและศิลปะตะวันตก ที่ควรค่าแก่การศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
ห้องจำหน่ายของดีเมืองกาฬสินธุ์ ได้แก่ เครื่องแต่งกายจากผ้าพื้นเมือง ขนมสินค้าที่ชุมชน และประชาชนกลุ่มแม่บ้านในจังหวัดนำมาฝากขาย
ห้องผลิตภัณฑ์จากมันสำปะหลัง ควรแก่การศึกษา เพราะได้จัดแสดงกระบวนการผลิต การปลูกและการนำผลผลิตจากมันสำปะหลังผ่านการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลายรูปแบบ
ห้องผลิตภัณฑ์จากอ้อย จัดแสดงถึงกระบวนการตั้งแต่การปลูกอ้อย การบำรุงรักษาโรคแมลของอ้อย และผลผลิตจากอ้อย ได้ผลิตภัณฑ์เป็นน้ำตาลหลายรูปแบบส่งออกจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ
นอกจากนี้ยังมีสถานที่สำคัญของจังหวัดกาฬสินธุ์ อาทิเ ช่น
หอเจ้าบ้านกาฬสินธุ์ ซึ่งสร้างขึ้นพร้อมกับศาลหลักเมือง ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวเมืองกาฬสินธุ์และผู้คนที่มาอาศัยทำมาหากินในเมือง
กาฬสินธุ์เคารพกราบไหว้บูชา บนบานขอพรและจัดบวงสรวงเป็นประจำทุกปีในเดือนหก โดยมีพิธีทางศาสนาและพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อันได้แก่ ศาลหลักเมือง หอเจ้าบ้าน อนุสาวรีย์พระยาชัยสุนทร ศาลปู่แฮ่ ศาลปู่หาร ศาลปู่กุลาบุญโฮม และศาลปู่โง้ง ตั้งแต่สมัยการก่อตั้งเมืองกาฬสินธุ์สืบมาทุกปี
พิพิธภัณฑ์ของดีเมืองกาฬสินธุ์ เปิดให้เข้าชมทุกวันเวลาราชการหยุดเฉพาะวันจันทร์ การเข้าชมเป็นหมู่คณะหากท่านติดต่อมาเป็นทางการล่วงหน้า จะมีพิธีกรบรรยายสรุปและนำชมโดยมัคคุเทศก์น้อยของเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ หรือสอบถามการเข้าชมที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริเวณทางเข้าภายในอาคารพิพิธภัณฑ์
สอบถามรายละเลียดเพิ่มเติมได้ที่ : สำนักงานเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ โทร 0 4382 1354-6 ต่อ 106
วงเวียนโปงลาง
อำเภอเมือง จ.กาฬสินธุ์ วงเวียนโปงลาง ตั้งตระหง่านเป็นสัญลักษณ์เมืองกำเนิดโปงลาง เครื่องดนตรี โดยศิลปินแห่งชาติ นายเปลื้อง ฉายรัศมี ผู้ประดิษฐ์ขึ้นจากเกราะหรือกะลอสมัยโบราณ นำมาประยุกต์ทำเป็นไม้ 13 ท่อน ทำจากไม้มะหาด เรียงร้อยเป็นเครื่องตี ปัจจุบันโปงลางแพร่หลายไปทั่วประเทศ รวมถึงต่างประเทศที่คนไทยไปอาศัยอยู่และนำไปเผยแพร่ วงเวียนโปงลางสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกเมื่อครั้ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จมาทรงดนตรี เพลงลายเต้ยโขง และลายลมพัดพร้าว ณ วิทยาลัยนาฎศิลปกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533วนอุทยานภูแฝก ( แหล่งรอยเท้าไดโนเสาร์ )
อำเภอนาคู จ.กาฬสินธุ์ วนอุทยานภูแฝก ( แหล่งรอยเท้าไดโนเสาร์ ) ตั้งอยู่หมู่ 6 บ้านน้ำคำ ตำบลภูแล่นช้าง ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับกับเนินเขาไม่สูงนัก สภาพป่าเป็นป่าเต็งรังมีพันธุ์ไม้ชนิดต่าง ๆ เช่น ไม้มะค่าโมง ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้ประดู่ และมีสัตว์ป่าที่พบเห็นได้ง่าย เช่นกระรอก กระแต อีเห็น กระต่ายป่า เป็นต้น เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2539 เด็กหญิงสองคนพร้อมด้วยผู้ปกครองไปทานข้าวในวันหยุด ได้พบรอยเท้าประหลาดกลางลานหินลำห้วยเหง้าดู่ เชิงเขาภูแฝก บริเวณเทือกเขาภูพาน หลังจากนั้นได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่นักธรณีวิทยาพร้อมด้วยส่วนราชการ และเอกชนในจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้เดินทางไปสำรวจจึงพบว่าเป็นรอยเท้าไดโนเสาร์ ประเภทเทอร์โรพอด 7 รอย จัดอยู่ในกลุ่มคาร์โนซอร์ชนิดกินเนื้อ อายุประมาณ 140 ล้านปี ปัจจุบันนั้นเห็นชัดเจนเพียง 4 รอยการเดินทาง จากอำเภอเมือง ใช้เส้นทางไปอำเภอสมเด็จ(ทางหลวงหมายเลข 213 ) ถึงอำเภอสมเด็จเลี้ยวขวาเข้าเส้นทางไปอำเภอกุฉินารายณ์ (ทางหลวงหมายเลข 2042 ) ประมาณ 20 กิโลเมตร ถึงอำเภอห้วยผึ้ง เลี้ยวซ้ายไปกิ่งอำเภอนาคู (ทางหลวงหมายเลข 2101 ) ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าวนอุทยานภูแฝกประมาณ 4.7 กิโลเมตร
แหลมโนนวิเศษ
อำเภอสหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ แหลมโนนวิเศษ เป็นผืนดินที่ยื่นเข้าไปในอ่างเก็บน้ำ เขื่อนลำปาว ตั้งอยู่ที่ ต. โนนบุรี อ. สหัสขันธ์ ห่างจากตัวอำเภอไปทางทิศตะวันตกประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นจุดชมพระอาทิตย์อัสดงที่สวยงามมาก ปัจจุบันแหลมโนนวิเศษมีแพขนานยนต์ ที่ใช้สัญจรข้ามฟากระหว่าง อ.สหัสขันธ์ กับ อ. หนองกุงศรี จ. กาฬสินธุ์ ซึ่งสามารถบรรทุกได้ทั้งรถ 6 ล้อ และ 4 ล้อ ครั้งละ 4-10 คัน ใช้เวลาข้ามฟากประมาณ 15–20 นาทีวนอุทยานภูพระ
อำเภอท่าคันโท จ.กาฬสินธุ์ วนอุทยานภูพระ อยู่ที่ตำบลท่าคันโท อำเภอท่าคันโท จากตัวเมืองใช้เส้นทาง อำเภอเมือง-อำเภอยางตลาด-อำเภอท่าคันโท อยู่ห่างจากตัวเมืองท่าคันโทไป 4 กิโลเมตร ภายในวนอุทยานประกอบด้วย สวนหินรูปร่างแปลกตาอยู่ท่ามกลางป่าเต็งรัง ครอบคลุมพื้นที่ 65,900 ไร่ภายในวนอุทยานมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจได้แก่
ผาเสวย เป็นลานหินผากว้าง มีความลึกของหน้าผาประมาณ 150-200 เมตร เป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม
ถ้ำเสียมสับ เป็นถ้ำของหินผาที่มีลักษณะคล้ายเสียมที่ขุดลงหิน ซึ่งเมื่ออยู่หน้าปากถ้ำจะเห็นหินผาที่สูง
ถ้ำพระรอด เป็นถ้ำที่เกิดจากการแยกตัวของหินผา ภายในถ้ำมีทางเดินกว้างประมาณ 2 เมตร ระยะทางประมาณ 30 เมตร ในสมัยก่อนจะมีพระสงฆ์มาจำพรรษาและปฏิบัติธรรมเป็นประจำ
ผาหินแยก เป็นหน้าผาที่แยกตัวเป็นทางยาวประมาณ 20 เมตร ลึก 6 เมตร ซึ่งผาที่แยกตัวออกมาจะมีลักษณะเอนเอียงเป็นจุดที่สามารถชมทิวทัศน์ได้
ถ้ำพระ เป็นถ้ำที่มีความลึกประมาณ 30 เมตร ปากถ้ำกว้าง 15 เมตร มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่และราษฎรในท้องถิ่นต่างให้ความเคารพสักการะเป็นอย่างยิ่ง ในช่วงสงกรานต์จะมีงานเดินขึ้นภูพระเพื่อสรงน้ำพระเป็นประจำทุกปี
การเดินทาง จากอำเภอท่าคันโท ใช้ทางหลวงหมายเลข 2299 กิโลเมตรที่16 นอกจากนี้ยังสามารถเดินทางโดยรถประจำทางสายอุดรธานี-กาฬสินธุ์ ลงที่วัดสว่างถ้ำเกิ้งซึ่งอยู่บริเวณหน้าวนอุทยานฯ
กลุ่มหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่หนองห้าง
อำเภอกุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ กลุ่มหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่หนองห้าง ตั้งอยู่ที่บ้านหนองห้าง ต. หนองห้าง ห่างจากอำเภอกุฉินารายณ์ประมาณ 10 กม. จากที่ว่าการอำเภอกุฉินารายณ์ไปตามถนนหมายเลข 2042 ประมาณ 2 กม. เลี้ยวซ้ายเข้าถนนลาดยางประมาณ 8 กม. ชาวบ้านที่นี่มีฝีมือในการจักสานไม้ไผ่เป็นลวดลายผ้าขิด ฝีมือประณีตสวยงามมาก ผลิตภัณฑ์ได้แก่ กระเตาะ กระติ๊บ กระเป๋า และภาชนะต่างๆน้ำตกแก้งกะอาม
อำเภอสมเด็จ จ.กาฬสินธุ์ น้ำตกแก้งกะอาม บ้านแก้งกะอาม ตำบลผาเสวย อำเภอสมเด็จ ห่างจากจังหวัดกาฬสินธุ์ ตามเส้นทางกาฬสินธุ์-สกลนคร ทางหลวงหมายเลข 213 ประมาณ 55 กิโลเมตร มีแก่งหินเรียงรายเป็นแนวยาว มีลานหินกว้างเหมาะแก่การพักผ่อน เป็นน้ำตกที่กำลังได้รับการพัฒนา เป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งที่อยู่ใกล้ทางหลวงแผ่นดินบ้านลุงเปลื้อง ฉายรัศมี
อำเภอเมือง จ.กาฬสินธุ์ ลุงเปลื้อง ฉายรัศมี ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ประเภทดนตรีพื้นบ้าน ประจำปี พ.ศ.2529 ภายในบ้านจัดแสดงการผลิตเครื่องดนตรีพื้นบ้านหลายชนิด เช่น พิณ แคน ซอ โปงลาง เป็นต้น เป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้านอีสาน ที่สำคัญยิ่งอีกแห่งหนึ่งของภาคอีสาน ผู้สนใจสามารถเข้าศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเครื่องดนตรีประเภทต่างๆ ได้ที่วิทยาลัยนาฎศิลป์ จังหวัดกาฬสินธุ์ วันจันทร์ - ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00 - 16.00 น.สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 4382 0366
ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดยโสธร
วัดมหาธาตุ
อำเภอเมือง จ.ยโสธรวัดมหาธาตุ ตั้งอยู่ภายในเขตเทศบาลเมือง โบราณสถานที่สำคัญในวัดคือพระพุทธบุษยรัตน์ หรือพระแก้วหยดน้ำค้าง เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะสมัยเชียงแสน เป็นพระบูชาคู่บ้านคู่เมืองของยโสธร ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้า ฯ พระราชทานให้พระสุนทรราชวงศาเจ้าเมืองยโสธรคนแรก
พระธาตุยโสธร หรือพระธาตุอานนท์ ตั้งอยู่หน้าอุโบสถ เป็นพระธาตุรุ่นเก่าที่สำคัญองค์หนึ่งในภาคอีสาน เจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมส่วนยอดคล้ายพระธาตุพนม ภายในพระธาตุบรรจุอัฐิธาตุของพระอานนท์ การก่อสร้างได้รับอิทธิพลศิลปะลาว ที่นิยมสร้างขึ้นเมื่อปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งตรงกับประวัติการตั้งเมือง และประวัติของวัดมหาธาตุฉบับหนึ่งว่า สร้างราว พ.ศ. 2321 โดยท้าวหน้า ท้าวคำสิงห์ ท้าวคำผา ซึ่งเดิมเป็นเสนาบดีเก่าของกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) ต่อมาได้อพยพผู้คนภายใต้การนำของพระวอ พระตา ราว พ.ศ. 2313-2319 มาตั้งถิ่นฐาน ณ ที่นี้
ลักษณะพระธาตุ ฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยาวด้านละ 81 เมตร ก่ออิฐถือปูนเอวฐานคอดเป็นรูปบัวคว่ำบัวหงาย เหนือขึ้นไปเป็นเรือนธาตุ มีซุ้ม 4 ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืน ส่วนยอดธาตุมียอดปลีเล็กแซมทั้ง 4 ด้าน ยอดกลางทรงสี่เหลี่ยมสอบ มี 2 ชั้น รูปแบบการก่อสร้างคล้ายกับพระธาตุก่องข้าวน้อย และทางวัดจะจัดให้มีงานสมโภชพระธาตุอานนท์ ขึ้นเป็นประจำทุกปีในเดือนมีนาคม
หอไตร เป็นที่เก็บคัมภีร์ใบลานของวัด ตั้งอยู่ตรงกลางสระทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระธาตุ แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ลักษณะแบบหอไตรภาคอีสานทั่วไป มีทางเดินโดยรอบติดกันใต้ชายคา บริเวณนี้เป็นที่เก็บรักษาตู้พระธรรม หีบพระธรรม เสลี่ยงชั้นวางคัมภีร์ซึ่งนำมาจากเวียงจันทน์ ซุ้มประตูและบานประตูไม้สลักลวดลายเครือเถาลงรักปิดทองอย่างสวยงาม การตกแต่งฝาผนังมีลวดลาย ซึ่งเป็นลักษณะผสมแบบภาคกลางสันนิษฐานว่า หอไตรน่าจะสร้างขึ้นประมาณสมัยรัชกาลที่ 4-5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
พระธาตุยโสธร หรือพระธาตุอานนท์ ตั้งอยู่หน้าอุโบสถ เป็นพระธาตุรุ่นเก่าที่สำคัญองค์หนึ่งในภาคอีสาน เจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมส่วนยอดคล้ายพระธาตุพนม ภายในพระธาตุบรรจุอัฐิธาตุของพระอานนท์ การก่อสร้างได้รับอิทธิพลศิลปะลาว ที่นิยมสร้างขึ้นเมื่อปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งตรงกับประวัติการตั้งเมือง และประวัติของวัดมหาธาตุฉบับหนึ่งว่า สร้างราว พ.ศ. 2321 โดยท้าวหน้า ท้าวคำสิงห์ ท้าวคำผา ซึ่งเดิมเป็นเสนาบดีเก่าของกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) ต่อมาได้อพยพผู้คนภายใต้การนำของพระวอ พระตา ราว พ.ศ. 2313-2319 มาตั้งถิ่นฐาน ณ ที่นี้
ลักษณะพระธาตุ ฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยาวด้านละ 81 เมตร ก่ออิฐถือปูนเอวฐานคอดเป็นรูปบัวคว่ำบัวหงาย เหนือขึ้นไปเป็นเรือนธาตุ มีซุ้ม 4 ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืน ส่วนยอดธาตุมียอดปลีเล็กแซมทั้ง 4 ด้าน ยอดกลางทรงสี่เหลี่ยมสอบ มี 2 ชั้น รูปแบบการก่อสร้างคล้ายกับพระธาตุก่องข้าวน้อย และทางวัดจะจัดให้มีงานสมโภชพระธาตุอานนท์ ขึ้นเป็นประจำทุกปีในเดือนมีนาคม
หอไตร เป็นที่เก็บคัมภีร์ใบลานของวัด ตั้งอยู่ตรงกลางสระทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระธาตุ แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ลักษณะแบบหอไตรภาคอีสานทั่วไป มีทางเดินโดยรอบติดกันใต้ชายคา บริเวณนี้เป็นที่เก็บรักษาตู้พระธรรม หีบพระธรรม เสลี่ยงชั้นวางคัมภีร์ซึ่งนำมาจากเวียงจันทน์ ซุ้มประตูและบานประตูไม้สลักลวดลายเครือเถาลงรักปิดทองอย่างสวยงาม การตกแต่งฝาผนังมีลวดลาย ซึ่งเป็นลักษณะผสมแบบภาคกลางสันนิษฐานว่า หอไตรน่าจะสร้างขึ้นประมาณสมัยรัชกาลที่ 4-5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
พระธาตุก่องข้าวน้อย
อำเภอเมือง จ.ยโสธรพระธาตุก่องข้าวน้อย ตั้งอยู่ในทุ่งนา ตำบลตาดทอง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 9 กม. ไปตามทางหลวงหมายเลข 23 (ยโสธร-อุบลราชธานี) ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 194 เลี้ยวซ้ายไปอีก 1 กิโลเมตร
พระธาตุก่องข้าวน้อยเป็นเจดีย์เก่าสมัยขอม สร้างในพุทธศตวรรษที่ 23-25 ตรงกับสมัยอยุธยาตอนปลาย ตั้งอยู่ในเขตวัดพระธาตุก่องข้าวน้อย ซึ่งแต่เดิมเป็นเพียงทุ่งนาในเขตตำบลตาดทอง พระธาตุก่องข้าวน้อยเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน รูปทรงแปลกไปจากเจดีย์โดยทั่วไป คือมีลักษณะเป็นก่องข้าว องค์พระธาตุเป็นเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สาม ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 2 เมตร ก่อสูงขึ้นไปประมาณ 1 เมตร ช่วงกลางขององค์พระธาตุมีลวดลายทำเป็นซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน ถัดจากช่วงนี้ไปเป็นส่วนยอดของเจดีย์ที่ค่อยๆ สอบเข้าหากัน ส่วนยอดรอบนอกของพระธาตุก่องข้าวน้อย มีกำแพงอิฐล้อมรอบขนาด 5x5 เมตร นอกจากนี้บริเวณด้านหลังพระธาตุ มีพระพุทธรูปอยู่องค์หนึ่งก่อด้วยอิฐ ชาวบ้านนับถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก และในเดือนห้าจะมีผู้คนนิยมมาสรงน้ำพระและปิดทอง ซึ่งเชื่อกันว่าถ้าไม่ทำเช่นนี้ฝนจะแล้งในปีนั้น
พระธาตุก่องข้าวน้อยมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ ซึ่งผิดไปจากปูชนียสถานแห่งอื่นๆ ที่มักเกี่ยวพันกับเรื่องพุทธศาสนา แต่ประวัติความเป็นมาของพระธาตุก่องข้าวน้อย กลับเป็นเรื่องของหนุ่มชาวนาที่ทำนาตั้งแต่เช้าจนเพล มารดาส่งข้าวสายเกิดหิวข้าวจนตาลาย อารมณ์ชั่ววูบทำให้เขากระทำมาตุฆาต ด้วยสาเหตุเพียงว่าข้าวที่เอามาส่งดูจะน้อยไปไม่พอกิน ครั้นเมื่อกินข้าวอิ่มแล้ว ข้าวยังไม่หมดจึงได้สติคิดสำนึกผิดที่กระทำรุนแรงต่อมารดาของตนเอง จนถึงแก่ความตาย จึงได้สร้างพระธาตุก่องข้าวน้อยแห่งนี้ขึ้น เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลขออโหสิกรรมและล้างบาปที่ตนกระทำมาตุฆาต
นอกจากนี้ที่บริเวณบ้านตาดทอง กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดค้นเรื่องราวของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้ค้นพบโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และภาชนะลายเขียนสีแบบบ้านเชียงซึ่งกรมศิลปากร กำลังดำเนินการจัดตั้งอุทยานก่อนประวัติศาสตร์ขึ้น
พระธาตุก่องข้าวน้อยเป็นเจดีย์เก่าสมัยขอม สร้างในพุทธศตวรรษที่ 23-25 ตรงกับสมัยอยุธยาตอนปลาย ตั้งอยู่ในเขตวัดพระธาตุก่องข้าวน้อย ซึ่งแต่เดิมเป็นเพียงทุ่งนาในเขตตำบลตาดทอง พระธาตุก่องข้าวน้อยเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน รูปทรงแปลกไปจากเจดีย์โดยทั่วไป คือมีลักษณะเป็นก่องข้าว องค์พระธาตุเป็นเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สาม ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 2 เมตร ก่อสูงขึ้นไปประมาณ 1 เมตร ช่วงกลางขององค์พระธาตุมีลวดลายทำเป็นซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน ถัดจากช่วงนี้ไปเป็นส่วนยอดของเจดีย์ที่ค่อยๆ สอบเข้าหากัน ส่วนยอดรอบนอกของพระธาตุก่องข้าวน้อย มีกำแพงอิฐล้อมรอบขนาด 5x5 เมตร นอกจากนี้บริเวณด้านหลังพระธาตุ มีพระพุทธรูปอยู่องค์หนึ่งก่อด้วยอิฐ ชาวบ้านนับถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก และในเดือนห้าจะมีผู้คนนิยมมาสรงน้ำพระและปิดทอง ซึ่งเชื่อกันว่าถ้าไม่ทำเช่นนี้ฝนจะแล้งในปีนั้น
พระธาตุก่องข้าวน้อยมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ ซึ่งผิดไปจากปูชนียสถานแห่งอื่นๆ ที่มักเกี่ยวพันกับเรื่องพุทธศาสนา แต่ประวัติความเป็นมาของพระธาตุก่องข้าวน้อย กลับเป็นเรื่องของหนุ่มชาวนาที่ทำนาตั้งแต่เช้าจนเพล มารดาส่งข้าวสายเกิดหิวข้าวจนตาลาย อารมณ์ชั่ววูบทำให้เขากระทำมาตุฆาต ด้วยสาเหตุเพียงว่าข้าวที่เอามาส่งดูจะน้อยไปไม่พอกิน ครั้นเมื่อกินข้าวอิ่มแล้ว ข้าวยังไม่หมดจึงได้สติคิดสำนึกผิดที่กระทำรุนแรงต่อมารดาของตนเอง จนถึงแก่ความตาย จึงได้สร้างพระธาตุก่องข้าวน้อยแห่งนี้ขึ้น เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลขออโหสิกรรมและล้างบาปที่ตนกระทำมาตุฆาต
นอกจากนี้ที่บริเวณบ้านตาดทอง กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดค้นเรื่องราวของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้ค้นพบโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และภาชนะลายเขียนสีแบบบ้านเชียงซึ่งกรมศิลปากร กำลังดำเนินการจัดตั้งอุทยานก่อนประวัติศาสตร์ขึ้น
หอไตรวัดสระไตรนุรักษ์
อำเภอทรายมูล จ.ยโสธรหอไตรวัดสระไตรนุรักษ์ ตั้งอยู่ที่วัดสระไตรนุรักษ์ บ้านนาเวียง หมู่ที่1 ตำบลนาเวียง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 25 กิโลเมตร เป็นหอไตรเก่าแก่อยู่กลางสระน้ำ สร้างมาประมาณร้อยกว่าปี เป็นสถาปัตยกรรมแบบพม่าหรือไทยใหญ่ เป็นอาคารไม้ขนาดกว้าง 8.30 เมตร ยาว 10.50 เมตร หลังคามุมสังกะสี มีชายคายื่นทั้ง 4 ทิศ หลังคามี 4 ชั้น ลดหลั่นกันขึ้นไปมีประตูด้านหน้า 1 ช่อง บานประตูแกะสลักลวดลายสวยงาม ใช้เป็นที่เก็บพระไตรปิฎกแต่มาโบราณ
ภูถ้ำพระ
อำเภอเลิงนกทา จ.ยโสธรภูถ้ำพระ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านกุดแห่ หรือกุดแห ตำบลกุดเชียงหมี ห่างจากอำเภอเลิงนกทา 12 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 212 และห่างจากอำเภอเมือง 85 กิโลเมตร ที่เรียกว่า “ภูถ้ำพระ” เนื่องจากมีพระพุทธรูปอยู่ในถ้ำจำนวนมาก ถ้ำพระนี้เป็นถ้ำใหญ่กว้างประมาณ 3 วา ยาวประมาณ 8 วา ตั้งอยู่ชะง่อนภูด้านทิศใต้ มีทางเข้าไปตามซอกหินเป็นอุโมงค์ จากปากถ้ำเลยไปทางทิศเหนือ สามารถเดินลอดไปได้ บนภูเขาลูกนี้นอกจากจะมีบรรยากาศร่มเย็นและร่มรื่น ไปด้วยป่าไม้หนาทึบแล้ว บริเวณโดยรอบยังมีถ้ำอื่นๆ อีก อาทิ ถ้ำเค็ง ถ้ำงูซวง ถ้ำเกลี้ยง และถ้ำพรหมบุตร
โบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้
อำเภอไทยเจริญ จ.ยโสธรโบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้ ตั้งอยู่ที่อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร มีประวัติเล่าสืบกันมาว่าในปี ค.ศ.1908 มีผู้หนีตายอพยพจากที่ต่าง ๆ กัน เข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้รวม 5 ครอบครัว ซึ่งหนีมาด้วยสาเหตุเดียวกัน คือ ถูกกล่าวหาว่าเป็นผีปอบ ชาวบ้านในหมู่บ้านจึงรุมทำร้ายและขับไล่ จากนั้นได้เดินทางไปหาบาทหลวงเดชาแนล และบาทหลวงออมโบรซีโอ ที่บ้านเซซ่ง ต.เชียงเพ็ง อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร ขอให้ไปช่วยขับไล่ผีปิศาจที่สิงสู่อยู่กับตนและ ครอบครัว ซึ่ง บาทหลวงทั้ง 2 ท่าน ก็ยอมเข้าป่าลึกไปตามคำขอ เมื่อรู้สึกดีขึ้น ทั้ง 5 ครอบครัว จึงเข้านับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ต่อมาบ้านหนองซ่งแย้ มีผู้คนอพยพ ไปอยู่มากขึ้น ในปี ค.ศ. 1909 ชาวบ้านปลูกกระต๊อบ ฝาขัด แตะเล็กๆ ใช้ประกอบพิธีทางศาสนา นับว่าเป็นจุดกำเนิดวัดซ่งแย้ หรือชื่ออย่าง เป็นทางการ เป็นภาษาละตินว่า วัดอัครเทวดามิคาแอล ตามชื่อนักบุญองค์สำคัญ เป็นภาษาอังกฤษคือโบสถ์ เซนต์ไมเคิล เป็นภาษาฝรั่งเศสคือ โบสถ์แซงต์ มิเชล โดยมีบาทหลวงเดชาแนล เป็นอธิการโบสถ์คนแรก และคนในบ้านหนองซ่งแย้ซึ่งล้วนแต่เป็นชาวไทยอีสาน ได้มาเข้ารีต ถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เกือบทั้งหมด
หลังจากนั้น ได้มีการสร้างอาคารโบสถ์ใหม่หลายครั้ง โบสถ์ไม้เนื้อแข็งหลังปัจจุบันนี้ เป็นโบสถ์หลังที่ 4 วางแผนก่อสร้างปี ค.ศ. 1936 ชาวบ้านพากันรวบรวมไม้ ลงมือสร้างปี ค.ศ. 1947 ตัวโบสถ์รูปทรงที่สร้างขึ้นมีลักษณะแบบศิลปะไทย กว้าง 16 เมตร ยาว 57 เมตร จัดเป็นโบสถ์ไม้ที่ใหญ่ที่สุด ในประเทศไทย ใช้แผ่นไม้เป็นแป้นมุง หลังคา 80,000 แผ่น ใช้เสาขนาดต่างๆกันถึง 360 ต้น ส่วนใหญ่เป็นเสาไม้เต็ง เสาในแถวกลางมีขนาดใหญ่ยาวที่สุดมี 260 ต้น สูงจากพื้นดินกว่า 10 เมตร พื้นแผ่นกระดานเป็นไม้แดงและไม้ตะเคียนขนาดใหญ่ ม้านั่งไม้จุคนได้กว่าพันคน ระฆังโบสถ์มีเส้นผ่าศูนย์กลางเกือบ 2 ฟุต อยู่ในหอระฆังสูงที่สร้างแบบหอระฆังตามวัดไทยทั่วไป แต่แปลกตรงที่แยกต่างหากจากโบสถ์ และเนื่องจากไม้ที่ได้รวบรวมมามีจำนวนมาก จึงได้นำไม้ที่เหลือมาสร้างโรงเรียนบ้านซ่งแย้พิทยา
การเดินทาง จากยโสธรใช้ทางหลวงหมายเลข 2169 เลยอำเภอกุดชุมไปประมาณ 7-8 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าไปอีกราว 600 เมตร ถึงบริเวณโรงเรียนซ่งแย้พิทยาและโบสถ์ซึ่งอยู่บริเวณเดียวกัน
หลังจากนั้น ได้มีการสร้างอาคารโบสถ์ใหม่หลายครั้ง โบสถ์ไม้เนื้อแข็งหลังปัจจุบันนี้ เป็นโบสถ์หลังที่ 4 วางแผนก่อสร้างปี ค.ศ. 1936 ชาวบ้านพากันรวบรวมไม้ ลงมือสร้างปี ค.ศ. 1947 ตัวโบสถ์รูปทรงที่สร้างขึ้นมีลักษณะแบบศิลปะไทย กว้าง 16 เมตร ยาว 57 เมตร จัดเป็นโบสถ์ไม้ที่ใหญ่ที่สุด ในประเทศไทย ใช้แผ่นไม้เป็นแป้นมุง หลังคา 80,000 แผ่น ใช้เสาขนาดต่างๆกันถึง 360 ต้น ส่วนใหญ่เป็นเสาไม้เต็ง เสาในแถวกลางมีขนาดใหญ่ยาวที่สุดมี 260 ต้น สูงจากพื้นดินกว่า 10 เมตร พื้นแผ่นกระดานเป็นไม้แดงและไม้ตะเคียนขนาดใหญ่ ม้านั่งไม้จุคนได้กว่าพันคน ระฆังโบสถ์มีเส้นผ่าศูนย์กลางเกือบ 2 ฟุต อยู่ในหอระฆังสูงที่สร้างแบบหอระฆังตามวัดไทยทั่วไป แต่แปลกตรงที่แยกต่างหากจากโบสถ์ และเนื่องจากไม้ที่ได้รวบรวมมามีจำนวนมาก จึงได้นำไม้ที่เหลือมาสร้างโรงเรียนบ้านซ่งแย้พิทยา
การเดินทาง จากยโสธรใช้ทางหลวงหมายเลข 2169 เลยอำเภอกุดชุมไปประมาณ 7-8 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าไปอีกราว 600 เมตร ถึงบริเวณโรงเรียนซ่งแย้พิทยาและโบสถ์ซึ่งอยู่บริเวณเดียวกัน
สวนสาธารณะพญาแถน
อำเภอเมือง จ.ยโสธรสวนสาธารณะพญาแถน ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมือง ริมถนนแจ้งสนิท (ทางหลวงหมายเลข 23) ติดกับอ่างเก็บน้ำลำทวน ภายในสวนพญาแถนมีลำน้ำเล็กๆ คดเคี้ยวล้อมรอบ บริเวณโดยรอบประกอบด้วยสวนไม้ดอก ไม้ประดับ สังคีตศาลา (เวทีการแสดงกลางแจ้ง) สนามเด็กเล่น และสวนสุขภาพ เทศบาลกำหนดให้สวนพญาแถน เป็นสถานที่จัดงานบั้งไฟประจำปี (พญาแถนเป็นชื่อของเทพเจ้าแห่งฝน ตามความเชื่อของชาวอีสานว่าเมื่อถึงเดือนหกจะต้องทำบั้งไฟ จุดขึ้นไปบนท้องฟ้าถวายพญาแถน ฝนจะได้ตกต้องตามฤดูกาล) นอกจากนี้ยังใช้เป็นสถานที่จัดงานแข่งเรือสั้น(เรือหาปลา)ประจำปี และงานสงกรานต์ เมื่อปี พ.ศ. 2525 สวนแห่งนี้ยังได้รับรางวัลสวนสาธารณะดีเด่น ของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย
หมู่บ้านทำหมอนขิต
บ้านศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว จ.ยโสธรหมู่บ้านทำหมอนขิตบ้านศรีฐาน ห่างจากตัวเมืองยโสธร 20 กิโลเมตร ตามเส้นทางยโสธร-ป่าคิ้ว-อำนาจเจริญ (ทางหลวงหมายเลข 202) ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 18-19 แยกทางขวามือเข้าไปทางลูกรังอีก 3 กิโลเมตร หลังฤดูทำนาชาวบ้านแทบทุกครัวเรือน มีอาชีพทอผ้าและทำหมอนขิต นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปชมและซื้อหมอนขิต ไว้เป็นที่ระลึก ซึ่งขณะนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก ส่งเป็นสินค้าออกไปขายต่างประเทศ นับเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน ที่นำรายได้เป็นอันดับสองรองจากการทำนา
ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดหนองบัวลำภู
วนอุทยานน้ำตกเฒ่าโต้ ตั้งอยู่ริมถนนหนองบัวลำภู-อุดรธานี ทางหลวงหมายเลข 210 จากตัวเมืองไปทางจังหวัดอุดรธานี ประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นสถานที่พักผ่อนร่มรื่นไปด้วยป่าไม้นานาพรรณ และโขดหินรูปต่างๆ บริเวณใกล้เคียงมีศาลเจ้า “ปู่หลุบ” ซึ่งเป็นที่เคารพและศรัทธาของชาวหนองบัวลำภู และผู้ที่เดินทางผ่านไปมา
พิพิธภัณฑ์หอยหินโบราณ ตั้งอยู่ในบริเวณเนินเขา ที่ขุดค้นพบหอย บางส่วนนำไปจัดแสดงไว้ในอาคารพิพิธภัณฑ์ ซึ่งมีการจัดแสดงนิทรรศการให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังพบซากหอยดึกดำบรรพ์ยุคจูราสสิค มีอายุราว 140–150 ล้านปี ลักษณะเป็นรูปหอยอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์จำนวนมาก ภายในบริเวณใกล้เคียงยังพบซากกระดูกจระเข้โบราณ เศษหินจาไมก้าและแร่ธาตุบางชนิดอีกด้วย การเดินทางนักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการรถโดยสารประจำทางสายหนองบัวลำภู-อุดรธานี ซึ่งจะใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 210 (หนองบัวลำภู-อุดรธานี) ประมาณ 10 กิโลเมตร จะถึงหมู่บ้านห้วยเดื่อ ต.โนนทัน อยู่ทางด้านซ้ายมือ และเดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ 500 เมตร จะถึงบริเวณที่พบซากหอยโบราณ
หนองบัว เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ อยู่บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอหนองบัวลำภู มีน้ำขังตลอดปี เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจในยามเย็นของชาวหนองบัวลำภู ด้านหลังของหนองบัวจะมองเห็นแนวเขาภูพานคำทอดยาวดูสวยงาม
ศาลหลักเมืองพระวอ พระตา อยู่ห่างจากทางหลวงหมายเลข 210 (หนองบัวลำภู-อุดรธานี) ประมาณ 100 เมตร ศาลนี้สร้างขึ้นเพื่อให้ชาวหนองบัวลำภูได้เคารพสักการะพระผู้สร้างเมือง ซึ่งหมายถึง พระวอ และพระตา อันเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทิตา ศาลหลักเมืองได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2518 สร้างเสร็จและประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2519
อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2538 ครอบคลุมพื้นที่ 333 ตารางกิโลเมตร โดยมีที่ทำการอุทยานฯ อยู่ที่ริมทะเลสาบเหนือเขื่อนอุบลรัตน์ ซึ่งอยู่ในเขตจังหวัดขอนแก่นเชิงเขาภูพานคำ เขตอำเภอโนนสัง มีจุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจ 3 แห่ง คือ ภูพานคำและภูเก้า
ภูพานคำ เป็นทิวเขาด้านตะวันออกของลุ่มน้ำพอง และเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาภูพาน ตอนบนมีทัศนียภาพที่สวยงามของทะเลสาบเหนือเขื่อนอุบลรัตน์ ซึ่งนักท่องเที่ยวมักจะพักแรมโดยเต็นท์ หรือที่บ้านพักของอุทยานฯ หรือที่ศาลาพักแรมของกรมประชาสงเคราะห์ บริเวณทะเลสาบท้ายเขื่อนอุบลรัตน์ ภูพานคำนี้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาและเป็นแหล่งตกปลาที่มีชื่อเสียงของจังหวัดด้วย
ภูเก้า ประกอบด้วยภูเขา 9 ลูก คือ ภูฝาง ภูขุมปูน ภูหัน ภูเมย ภูค้อหม้อ ภูชั้น ภูเพราะ ภูลวก และภูวัด ภูทั้ง 9 ลูกนี้มีความสลับซับซ้อนมาก ประกอบด้วยป่าไม้ สัตว์ป่านานาชนิด ถ้ำ น้ำตก ลานหินลาด และหินลักษณะแปลกๆ คล้ายปราสาทถ้ำพลาไฮ มีภาพเขียนรูปฝ่ามือ และภาพแกะสลักของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และศาลาบนยอดหินที่เรียกว่า หอสวรรค์ สามารถชมวิวได้ นอกจากนี้บริเวณภูเก้ายังมีวัดพระพุทธบาทภูเก้า ซึ่งปรากฏรอยเท้าคน และสุนัขขนาดใหญ่สลักบนหิน อันเกี่ยวโยงกับนิทานพื้นบ้านเรื่อง “พระสุพรหมวิโมขา กับหมาเก้าหาง” และตามผนังถ้ำบริเวณวัดยังมีภาพเขียนสี ภาพสลักสมัยก่อนประวัติศาสตร์
การเดินทาง ไปยังอุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ สามารถเดินทางไปได้ 2 ทาง คือ
เส้นทางที่ 1 ตามเส้นทางสายขอนแก่น-เขื่อนอุบลรัตน์ จากตัวเมืองขอนแก่นถึงตลาดอำเภออุบลรัตน์ ระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร ต่อด้วยรถยนต์โดยสารประจำทางสายเขื่อนอุบลรัตน์-โนนสัง ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร
เส้นทางที่ 2 จากตัวเมืองตามทางหลวงหมายเลข 3146 สายหนองบัวลำภู-โนนสัง ระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร ถึงสามแยกบ้านโสกจาน จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าสู่เส้นทางสายบ้านโสกจาน-เขื่อนอุบลรัตน์ ระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตร
สถานที่พักติดต่อได้ที่สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช บางเขน กรุงเทพฯ โทร. 0 3561 3930-1 ต่อ 734–735, 0 3579 5734, 0 3579 3773 หรือ www.dnp.go.th
ถ้ำสุวรรณคูหา ตั้งอยู่ที่วัดถ้ำสุวรรณคูหา บ้านคูหาพัฒนา หมู่ที่ 7 ตำบลนาสี ภายในถ้ำมีโบราณวัตถุ และรูปพระเจ้าไชยเชษฐาแห่งเมืองเวียงจันทน์ประดิษฐานอยู่ภายในถ้ำ
การเดินทางใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 210 สายหนองบัวลำภู-วังสะพุง แล้วแยกขวาไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 2097 ถึงอำเภอสุวรรณคูหา จากนั้นใช้ถนนพระไชยเชษฐาไปประมาณ 1 กิโลเมตร ถึงโรงเรียนบ้านนาตาแหลว แล้วเลี้ยวขวาเข้าไปอีกประมาณ 4 กิโลเมตร
แหล่งโบราณคดีภูผายา ตั้งอยู่ทางเหนือของบ้านนาเจริญ ตำบลดงมะไฟ เป็นภูเขาหินปูนที่แยกตัวออกมาจากเทือกเขาภูพานมีภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ปร
ากฏตามผนังถ้ำเป็นจำนวนหลายส่วน ส่วนแรกบริเวณ “ถ้ำล่าง” พบกลุ่มภาพเขียนสีแดงบนผนังถ้ำผิวเรียบยาวประมาณ 5 เมตร ประกอบด้วยลวดลายเรขาคณิต ภาพสัตว์ ภาพฝ่ามือ ส่วนที่สองคือ “ถ้ำบน” พบภาพเขียนสีแดงกระจายอยู่เป็นกลุ่มๆ ที่เห็นชัดเจนเป็นภาพสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ภาพคน ภาพสัตว์เลื้อยคลาน ภาพโครงร่างสัตว์ขนาดใหญ่ นอกจากนั้นบริเวณถ้ำผายา ยังมีสำนักสงฆ์อันเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านตั้งอยู่ด้วย สันนิษฐานว่าภาพเขียนถ้ำภูผายามีอายุระหว่าง 2,000-3,000 ปี ใกล้เคียงกับอายุของภาพเขียนที่ค้นพบที่อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี ลักษณะภาพเขียนคล้ายคลึงกับที่พบที่ผาลาย มณฑลกวางสี ประเทศจีน
การเดินทาง ไปแหล่งโบราณคดีภูผายา จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 210 สายหนองบัวลำภู-วังสะพุง จากนั้นแยกขวาเข้าสู่เส้นทางหลวงหมายเลข 2097 ถึงอำเภอสุวรรณคูหา แล้วใช้รถโดยสารประจำทางท้องถิ่นสายอำเภอสุวรรณคูหา-บ้านนาเจริญ
โนนวัดป่า เป็นโบราณสถานเก่าแก่ ตั้งอยู่ที่ตำบลโนนสัง ห่างจากจังหวัดหนองบัวลำภูตามทางหลวงหมายเลข 2146 สายหนองบัวลำภู-อำเภอโนนสัง ประมาณ 20 กิโลเมตร ที่โนนวัดป่านี้สันนิษฐานว่าเคยเป็นวัดเก่า ทั้งนี้เนื่องจากขุดพบพระพุทธรูปปางนาคปรกทำด้วยศิลา และมีร่องรอยโบราณสถานโบราณวัตถุอยู่รอบบริเวณนั้น ตามหลักฐานทางโบราณคดีสันนิษฐานได้ว่า เป็นโบราณสถานและโบราณวัตถุศิลปะขอมสมัยเรืองอำนาจ
พระอนุสาวรีย์และศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
อำเภอเมือง จ.หนองบัวลำภูพระอนุสาวรีย์และศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์เมื่อครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เสด็จยกกองทัพมาที่หนองบัวลำภูเมื่อปี พ.ศ. 2117 เพื่อไปช่วยพระเจ้ากรุงหงสาวดี ที่กรุงศรีสัตตนาคนหุต (เมืองเวียงจันทน์) เนื่องจากขณะนั้นไทยเป็นเมืองขึ้นของกรุงหงสาวดี แต่สมเด็จพระนเรศวรทรงพระประชวร พระเจ้ากรุงหงสาวดีจึงทรงให้ยกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา สถานที่ดังกล่าวตั้งอยู่ในบริเวณสวนสาธารณะริมหนองบัว หน้าที่ว่าการอำเภอเมืองหนองบัวลำภู ในวันที่ 25 มกราคม - 3 กุมภาพันธ์ของทุกปี จะมีงานเฉลิมฉลองและพิธีถวายสักการะดวงวิญญาณของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ศูนย์หัตถกรรมปั้นหม้อบ้านโค้งสวรรค์
อำเภอเมือง จ.หนองบัวลำภูศูนย์หัตถกรรมปั้นหม้อบ้านโค้งสวรรค์ ห่างจากตัวเมืองหนองบัวลำภูไปทางจังหวัดอุดรธานีประมาณ 17 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 210 เป็นหมู่บ้านที่ผลิตเครื่องปั้นดินเผาด้วยกรรมวิธีการผลิตแบบดั้งเดิม
ถ้ำเอราวัณ
อำเภอนาวัง จ.หนองบัวลำภูถ้ำเอราวัณ ตั้งอยู่ที่บ้านผาอินทร์แปลง เป็นถ้ำขนาดใหญ่มีบันไดเรียงคดโค้งไปมา จากเชิงเขาเบื้องล่างขึ้นสู่ปากถ้ำกว่า 600 ขั้น มีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ อยู่บริเวณปากถ้ำ มองเห็นได้เด่นชัดจากระยะไกล ภายในถ้ำเป็นห้องโถงขนาดใหญ่จุคนได้หลายร้อยคน มีทางทะลุออกสู่หน้าผามองเห็นทัศนียภาพท้องทุ่ง ถ้ำนี้ยังเป็นสถานที่แห่งตำนานนิยายพื้นบ้านเรื่อง “นางผมหอม” มีหินงอกหินย้อยสวยงาม ถ้ำเอราวัณตั้งอยู่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 13 ตามทางหลวงหมายเลข 210 สายหนองบัวลำภู-เลย ประมาณ 45 กิโลเมตร มีทางแยกขวามือเข้าไปอีก 2 กิโลเมตร
วัดถ้ำกลองเพล
อำเภอเมือง จ.หนองบัวลำภูวัดถ้ำกลองเพล เป็นวัดป่าที่มีชื่อเสียงของจังหวัด ตั้งอยู่เชิงเขาภูพาน ห่างจากตัวเมืองตามทางหลวงหมายเลข 210 (หนองบัวลำภู-อุดรธานี) ไป 13 กิโลเมตร จากนั้นแยกขวาเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร เดิมสันนิษฐานว่าเป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในสมัยขอมเข้ามาครอบครองแผ่นดินแห่งนี้ แต่ไม่มีหลักฐานว่าสร้างมาตั้งแต่ พ.ศ.ใด ต่อมาเป็นวัดร้าง ไม่มีพระภิกษุสามเณรจำพรรษา จนกระทั่งเมื่อ พ.ศ. 2501 พระอาจารย์หลวงปู่ขาว อนาลโย พระวิปัสสนากรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ ได้อาศัยวัดแห่งนี้เป็นสถานที่วิปัสสนากรรมฐาน โดยใช้พื้นที่ที่เกิดจากหมู่ก้อนหินขนาดใหญ่ 3-4 ก้อน ที่มีหลืบและชะโงกหิน ก่อเป็นหลังคาคอนกรีตเชื่อมถึงกัน ทำให้พื้นที่บริเวณนั้นกลายเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ สามารถจุคนได้หลายร้อยคน เพื่อใช้เป็นที่บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ที่นั่นจนกระทั่งมรณภาพเมื่อปี พ.ศ. 2526
ภายในบริเวณวัดบรรยากาศร่มรื่น เงียบสงบ มีเนื้อที่กว้างขวาง ปกคลุมไปด้วยแมกไม้ ป่าเขียว และสวนหินธรรมชาติรูปร่างประหลาดดูสวยงามกลาดเกลื่อนวัด มีถ้ำซึ่งภายในถ้ำมีกลองโบราณสองหน้า หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “กลองเพล” ภายในถ้ำมีรูปปั้นของหลวงปู่ขาว ตามซอกหินภายในถ้ำมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ประดิษฐานอยู่หลายองค์ ประกอบด้วย พระพุทธรูปปางสมาธิ พระพุทธรูปปางไสยาสน์ พระพุทธรูปปัญฑรนิมิตร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางลีลาที่จำหลักลงในก้อนหิน และมีพระสังกัจจายน์องค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่บริเวณด้านหน้าทางเข้าถ้ำกลองเพล
จากวัดถ้ำกลองเพลไม่ไกลนักมีถนนลาดยาง ลัดเลาะไปตามแนวป่าและหมู่ก้อนหินรูปทรงแปลกๆ เป็นระยะทาง 2 กิโลเมตร ก็จะถึงอนุสรณ์สถานของหลวงปู่ขาว ที่ประกอบด้วย
พิพิธภัณฑ์อัฐบริขารของหลวงปู่ขาว เป็นพิพิธภัณฑ์ที่สร้างขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมเครื่องอัฐบริขารของหลวงปู่ขาว ใช้เป็นที่ระลึกและสักการะบูชาของศาสนิกชนทั่วไป
กุฎิเก่าของหลวงปู่ขาว เป็นเรือนไม้หลังเล็กๆ ตั้งอยู่กลางดงไม้ บรรยากาศร่มรื่น ส่วนกุฏิใหม่สร้างเป็นเรือนทรงไทยทันสมัยหลังใหญ่
พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่ขาว สร้างขึ้นในรูปทรงของก้อนหินเรียงกัน 3 ก้อน เพื่อให้เข้ากับภูมิประเทศของวัดถ้ำกลองเพล ซึ่งเต็มไปด้วยสวนหิน รอบๆ บริเวณตกแต่งด้วยไม้ดอกและสนามหญ้าสีเขียวขจี ภายในพิพิธภัณฑ์มีหุ่นขี้ผึ้งของหลวงปู่ประดิษฐานอยู่ในท่านั่ง ห้องข้างๆ ยังมีเครื่องอัฐบริขารของหลวงปู่ขาวตั้งแสดงไว้ด้วย
เจดีย์หลวงปู่ขาว เป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นเมื่อใช้บรรจุอัฐิหลวงปู่ขาว สร้างอยู่บนลานหินมีบันไดเป็นทางเดินขึ้นไปสู่องค์เจดีย์
มณฑปหลวงปู่ขาว อยู่วัดถ้ำกลองเพล โดยมีทางแยกทางซ้ายมือเข้าไปประมาณ 300 เมตร เป็นมณฑปจตุรมุขที่หลวงปู่ขาวสร้างไว้ครั้งยังมีชีวิตอยู่เพื่อใช้เป็นที่ประกอบพิธี
สังฆกรรม รอบๆ บริเวณ เงียบสงบและร่มรื่น เจดีย์หลวงปู่ขาวและมณฑปหลวงปู่ขาว
ภายในบริเวณวัดบรรยากาศร่มรื่น เงียบสงบ มีเนื้อที่กว้างขวาง ปกคลุมไปด้วยแมกไม้ ป่าเขียว และสวนหินธรรมชาติรูปร่างประหลาดดูสวยงามกลาดเกลื่อนวัด มีถ้ำซึ่งภายในถ้ำมีกลองโบราณสองหน้า หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “กลองเพล” ภายในถ้ำมีรูปปั้นของหลวงปู่ขาว ตามซอกหินภายในถ้ำมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ประดิษฐานอยู่หลายองค์ ประกอบด้วย พระพุทธรูปปางสมาธิ พระพุทธรูปปางไสยาสน์ พระพุทธรูปปัญฑรนิมิตร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางลีลาที่จำหลักลงในก้อนหิน และมีพระสังกัจจายน์องค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่บริเวณด้านหน้าทางเข้าถ้ำกลองเพล
จากวัดถ้ำกลองเพลไม่ไกลนักมีถนนลาดยาง ลัดเลาะไปตามแนวป่าและหมู่ก้อนหินรูปทรงแปลกๆ เป็นระยะทาง 2 กิโลเมตร ก็จะถึงอนุสรณ์สถานของหลวงปู่ขาว ที่ประกอบด้วย
พิพิธภัณฑ์อัฐบริขารของหลวงปู่ขาว เป็นพิพิธภัณฑ์ที่สร้างขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมเครื่องอัฐบริขารของหลวงปู่ขาว ใช้เป็นที่ระลึกและสักการะบูชาของศาสนิกชนทั่วไป
กุฎิเก่าของหลวงปู่ขาว เป็นเรือนไม้หลังเล็กๆ ตั้งอยู่กลางดงไม้ บรรยากาศร่มรื่น ส่วนกุฏิใหม่สร้างเป็นเรือนทรงไทยทันสมัยหลังใหญ่
พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่ขาว สร้างขึ้นในรูปทรงของก้อนหินเรียงกัน 3 ก้อน เพื่อให้เข้ากับภูมิประเทศของวัดถ้ำกลองเพล ซึ่งเต็มไปด้วยสวนหิน รอบๆ บริเวณตกแต่งด้วยไม้ดอกและสนามหญ้าสีเขียวขจี ภายในพิพิธภัณฑ์มีหุ่นขี้ผึ้งของหลวงปู่ประดิษฐานอยู่ในท่านั่ง ห้องข้างๆ ยังมีเครื่องอัฐบริขารของหลวงปู่ขาวตั้งแสดงไว้ด้วย
เจดีย์หลวงปู่ขาว เป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นเมื่อใช้บรรจุอัฐิหลวงปู่ขาว สร้างอยู่บนลานหินมีบันไดเป็นทางเดินขึ้นไปสู่องค์เจดีย์
มณฑปหลวงปู่ขาว อยู่วัดถ้ำกลองเพล โดยมีทางแยกทางซ้ายมือเข้าไปประมาณ 300 เมตร เป็นมณฑปจตุรมุขที่หลวงปู่ขาวสร้างไว้ครั้งยังมีชีวิตอยู่เพื่อใช้เป็นที่ประกอบพิธี
สังฆกรรม รอบๆ บริเวณ เงียบสงบและร่มรื่น เจดีย์หลวงปู่ขาวและมณฑปหลวงปู่ขาว
วนอุทยานน้ำตกเฒ่าโต้
อำเภอ จ.หนองบัวลำภูวนอุทยานน้ำตกเฒ่าโต้ ตั้งอยู่ริมถนนหนองบัวลำภู-อุดรธานี ทางหลวงหมายเลข 210 จากตัวเมืองไปทางจังหวัดอุดรธานี ประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นสถานที่พักผ่อนร่มรื่นไปด้วยป่าไม้นานาพรรณ และโขดหินรูปต่างๆ บริเวณใกล้เคียงมีศาลเจ้า “ปู่หลุบ” ซึ่งเป็นที่เคารพและศรัทธาของชาวหนองบัวลำภู และผู้ที่เดินทางผ่านไปมา
พิพิธภัณฑ์หอยหินโบราณ
อำเภอเมือง จ.หนองบัวลำภูพิพิธภัณฑ์หอยหินโบราณ ตั้งอยู่ในบริเวณเนินเขา ที่ขุดค้นพบหอย บางส่วนนำไปจัดแสดงไว้ในอาคารพิพิธภัณฑ์ ซึ่งมีการจัดแสดงนิทรรศการให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังพบซากหอยดึกดำบรรพ์ยุคจูราสสิค มีอายุราว 140–150 ล้านปี ลักษณะเป็นรูปหอยอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์จำนวนมาก ภายในบริเวณใกล้เคียงยังพบซากกระดูกจระเข้โบราณ เศษหินจาไมก้าและแร่ธาตุบางชนิดอีกด้วย การเดินทางนักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการรถโดยสารประจำทางสายหนองบัวลำภู-อุดรธานี ซึ่งจะใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 210 (หนองบัวลำภู-อุดรธานี) ประมาณ 10 กิโลเมตร จะถึงหมู่บ้านห้วยเดื่อ ต.โนนทัน อยู่ทางด้านซ้ายมือ และเดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ 500 เมตร จะถึงบริเวณที่พบซากหอยโบราณ
หนองบัว
อำเภอเมือง จ.หนองบัวลำภูหนองบัว เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ อยู่บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอหนองบัวลำภู มีน้ำขังตลอดปี เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจในยามเย็นของชาวหนองบัวลำภู ด้านหลังของหนองบัวจะมองเห็นแนวเขาภูพานคำทอดยาวดูสวยงาม
ศาลหลักเมืองพระวอ พระตา
อำเภอเมือง จ.หนองบัวลำภูศาลหลักเมืองพระวอ พระตา อยู่ห่างจากทางหลวงหมายเลข 210 (หนองบัวลำภู-อุดรธานี) ประมาณ 100 เมตร ศาลนี้สร้างขึ้นเพื่อให้ชาวหนองบัวลำภูได้เคารพสักการะพระผู้สร้างเมือง ซึ่งหมายถึง พระวอ และพระตา อันเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทิตา ศาลหลักเมืองได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2518 สร้างเสร็จและประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2519
อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ
อำเภอโนนสัง จ.หนองบัวลำภูอุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2538 ครอบคลุมพื้นที่ 333 ตารางกิโลเมตร โดยมีที่ทำการอุทยานฯ อยู่ที่ริมทะเลสาบเหนือเขื่อนอุบลรัตน์ ซึ่งอยู่ในเขตจังหวัดขอนแก่นเชิงเขาภูพานคำ เขตอำเภอโนนสัง มีจุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจ 3 แห่ง คือ ภูพานคำและภูเก้า
ภูพานคำ เป็นทิวเขาด้านตะวันออกของลุ่มน้ำพอง และเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาภูพาน ตอนบนมีทัศนียภาพที่สวยงามของทะเลสาบเหนือเขื่อนอุบลรัตน์ ซึ่งนักท่องเที่ยวมักจะพักแรมโดยเต็นท์ หรือที่บ้านพักของอุทยานฯ หรือที่ศาลาพักแรมของกรมประชาสงเคราะห์ บริเวณทะเลสาบท้ายเขื่อนอุบลรัตน์ ภูพานคำนี้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาและเป็นแหล่งตกปลาที่มีชื่อเสียงของจังหวัดด้วย
ภูเก้า ประกอบด้วยภูเขา 9 ลูก คือ ภูฝาง ภูขุมปูน ภูหัน ภูเมย ภูค้อหม้อ ภูชั้น ภูเพราะ ภูลวก และภูวัด ภูทั้ง 9 ลูกนี้มีความสลับซับซ้อนมาก ประกอบด้วยป่าไม้ สัตว์ป่านานาชนิด ถ้ำ น้ำตก ลานหินลาด และหินลักษณะแปลกๆ คล้ายปราสาทถ้ำพลาไฮ มีภาพเขียนรูปฝ่ามือ และภาพแกะสลักของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และศาลาบนยอดหินที่เรียกว่า หอสวรรค์ สามารถชมวิวได้ นอกจากนี้บริเวณภูเก้ายังมีวัดพระพุทธบาทภูเก้า ซึ่งปรากฏรอยเท้าคน และสุนัขขนาดใหญ่สลักบนหิน อันเกี่ยวโยงกับนิทานพื้นบ้านเรื่อง “พระสุพรหมวิโมขา กับหมาเก้าหาง” และตามผนังถ้ำบริเวณวัดยังมีภาพเขียนสี ภาพสลักสมัยก่อนประวัติศาสตร์
การเดินทาง ไปยังอุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ สามารถเดินทางไปได้ 2 ทาง คือ
เส้นทางที่ 1 ตามเส้นทางสายขอนแก่น-เขื่อนอุบลรัตน์ จากตัวเมืองขอนแก่นถึงตลาดอำเภออุบลรัตน์ ระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร ต่อด้วยรถยนต์โดยสารประจำทางสายเขื่อนอุบลรัตน์-โนนสัง ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร
เส้นทางที่ 2 จากตัวเมืองตามทางหลวงหมายเลข 3146 สายหนองบัวลำภู-โนนสัง ระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร ถึงสามแยกบ้านโสกจาน จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าสู่เส้นทางสายบ้านโสกจาน-เขื่อนอุบลรัตน์ ระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตร
สถานที่พักติดต่อได้ที่สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช บางเขน กรุงเทพฯ โทร. 0 3561 3930-1 ต่อ 734–735, 0 3579 5734, 0 3579 3773 หรือ www.dnp.go.th
ถ้ำสุวรรณคูหา
อำเภอสุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำภูถ้ำสุวรรณคูหา ตั้งอยู่ที่วัดถ้ำสุวรรณคูหา บ้านคูหาพัฒนา หมู่ที่ 7 ตำบลนาสี ภายในถ้ำมีโบราณวัตถุ และรูปพระเจ้าไชยเชษฐาแห่งเมืองเวียงจันทน์ประดิษฐานอยู่ภายในถ้ำ
การเดินทางใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 210 สายหนองบัวลำภู-วังสะพุง แล้วแยกขวาไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 2097 ถึงอำเภอสุวรรณคูหา จากนั้นใช้ถนนพระไชยเชษฐาไปประมาณ 1 กิโลเมตร ถึงโรงเรียนบ้านนาตาแหลว แล้วเลี้ยวขวาเข้าไปอีกประมาณ 4 กิโลเมตร
แหล่งโบราณคดีภูผายา
อำเภอสุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำภูแหล่งโบราณคดีภูผายา ตั้งอยู่ทางเหนือของบ้านนาเจริญ ตำบลดงมะไฟ เป็นภูเขาหินปูนที่แยกตัวออกมาจากเทือกเขาภูพานมีภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ปร
ากฏตามผนังถ้ำเป็นจำนวนหลายส่วน ส่วนแรกบริเวณ “ถ้ำล่าง” พบกลุ่มภาพเขียนสีแดงบนผนังถ้ำผิวเรียบยาวประมาณ 5 เมตร ประกอบด้วยลวดลายเรขาคณิต ภาพสัตว์ ภาพฝ่ามือ ส่วนที่สองคือ “ถ้ำบน” พบภาพเขียนสีแดงกระจายอยู่เป็นกลุ่มๆ ที่เห็นชัดเจนเป็นภาพสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ภาพคน ภาพสัตว์เลื้อยคลาน ภาพโครงร่างสัตว์ขนาดใหญ่ นอกจากนั้นบริเวณถ้ำผายา ยังมีสำนักสงฆ์อันเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านตั้งอยู่ด้วย สันนิษฐานว่าภาพเขียนถ้ำภูผายามีอายุระหว่าง 2,000-3,000 ปี ใกล้เคียงกับอายุของภาพเขียนที่ค้นพบที่อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี ลักษณะภาพเขียนคล้ายคลึงกับที่พบที่ผาลาย มณฑลกวางสี ประเทศจีน
การเดินทาง ไปแหล่งโบราณคดีภูผายา จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 210 สายหนองบัวลำภู-วังสะพุง จากนั้นแยกขวาเข้าสู่เส้นทางหลวงหมายเลข 2097 ถึงอำเภอสุวรรณคูหา แล้วใช้รถโดยสารประจำทางท้องถิ่นสายอำเภอสุวรรณคูหา-บ้านนาเจริญ
โนนวัดป่า
อำเภอโนนสัง จ.หนองบัวลำภูโนนวัดป่า เป็นโบราณสถานเก่าแก่ ตั้งอยู่ที่ตำบลโนนสัง ห่างจากจังหวัดหนองบัวลำภูตามทางหลวงหมายเลข 2146 สายหนองบัวลำภู-อำเภอโนนสัง ประมาณ 20 กิโลเมตร ที่โนนวัดป่านี้สันนิษฐานว่าเคยเป็นวัดเก่า ทั้งนี้เนื่องจากขุดพบพระพุทธรูปปางนาคปรกทำด้วยศิลา และมีร่องรอยโบราณสถานโบราณวัตถุอยู่รอบบริเวณนั้น ตามหลักฐานทางโบราณคดีสันนิษฐานได้ว่า เป็นโบราณสถานและโบราณวัตถุศิลปะขอมสมัยเรืองอำนาจ
ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดมหาสารคาม
ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดมหาสารคาม
การเดินทาง ใช้เส้นทางหมายเลข 2040 ผ่านอำเภอแกดำ อำเภอวาปีปทุม เลี้ยวขวาเข้าเส้นทางหมายเลข 2045 (เข้าอำเภอนาดูน) ประมาณ 1 กิโลเมตร จะอยู่ทางขวามือ
การเดินทาง จากตัวเมืองไปตามถนนแจ้งสนิท 13 กิโลเมตร (ทางหลวงหมายเลข 208 มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด)
พระธาตุนาดูน
อำเภอเมือง จ.มหาสารคามพระธาตุนาดูน พุทธมณฑลแห่งอีสาน ตั้งอยู่ที่บ้านนาดูน เขตอำเภอนาดูน เป็นเขตที่มีการขุดพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีต เพราะบริเวณนี้ได้เคยเป็นที่ตั้งของนครจำปาศรีมาก่อน โบราณวัตถุต่างๆ ที่ค้นพบได้นำไปแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดขอนแก่นและที่สำคัญยิ่งก็คือ
การขุดพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุบรรจุในตลับทองคำ เงิน และสำริด ซึ่งสันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 13-15 สมัยทวาราวดี รัฐบาลจึงอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างพระธาตุนาดูนขึ้นในเนื้อที่ 902 ไร่ โดยบริเวณรอบๆ จะมีพิพิธภัณฑ์ทางศาสนาและวัฒนธรรม สวนรุกขชาติ สวนสมุนไพร ซึ่งตกแต่งให้เป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา
ความเป็นมาของพระธาตุนาดูน
อำเภอนาดูน เป็นแหล่งอารยธรรมโบราณแห่งหนึ่งที่มีประวัติอันยาวนาน โดยบริเวณที่ตั้งของอำเภอนาดูนคือ เมืองจัมปาศรีที่เจริญรุ่งเรือนในสมัยทวารวดี เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-15 ซึ่งมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่ค้นพบมากมาย สรุปความดังนี้
ถิ่นฐานอารยธรรมจัมปาศรีในอดีตกาล สันนิษฐานได้ว่ามีความเจริญรุ่งเรืองมา 2 ยุค คือ
1. ยุคทวารวดี ระหว่าง พ.ศ. 1000-1200
2. ยุคลพบุรี ระหว่าง พ.ศ. 1600-1800
ในราวพุทธศตวรรษที่ 13-16 ภายในตัวเมืองและนอกเมืองมีเจดีย์สมัยทวารวดีอยู่ 25 องค์ (ขณะนี้ได้ขุดค้นพบแล้ว 10 องค์) เจ้าผู้ครองเมืองนครจำปาศรี นับตั้งแต่ พระเจ้ายศวรราช ได้สร้างสถานที่สักการะบูชาในพิธีทางศาสนาพราหมณ์และพุทธ เช่น เทวาลัย ปรางค์กู่ เป็นต้น ซึ่งถือว่าได้เจริญรุ่งเรืองทั้งในด้านศาสนา วัฒนธรรม และการปกครอง จนถึงขีดสุดแล้วได้เสื่อมถอยลงจนถึงยุคอวสานในสมัยพระเจ้าฟ้างุ่มแหล่งหล้าธรณี
ค้นพบและการก่อสร้างพระธาตุนาดูน
เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2522 ได้ขุดค้นพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สถูปทำด้วยทองสำริด แยกเป็น 2 ส่วน คือ
1. ตัวสถูปหรือองค์ระฆัง แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตัวสถูป เป็นส่วนที่บรรจุ พระอังคาร (ขี้เถ้า) เทียนดอกไม้ ตอนคอสถูปเป็นส่วนที่บรรจุผอบพระบรมสารีริกธาตุโดยผอบจะบรรจุพร้อมกัน 3 ชั้น คือ ผอบทองคำ จะซ้อนอยู่ในผอบเงิน ผอบเงินจะซ้อนอยู่ในผอบทองสำริด ทุกผอบมีฝาปิดมิดชิด ภายในผอบทองคำมีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุ 1 องค์ มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาวขุ่นขนาดเท่าเมล็ดข้าวสารหักครึ่ง หล่อเลี้ยงไว้ด้วยน้ำมันจันทน์เมื่อเปิดออกมาจะมีกลิ่นหอมมาก
2. ส่วนยอดทำด้วยทองสำริดกลมตัน ทำเป็นปล้องไฉนลูกแก้วและปลียอด ตอนต้นทำเป็นเกลียวสามารถปิดประกอบกับส่วนตัวองค์สถูปได้พอดี
พระธาตุนาดูน จำลองแบบสถูปทองสำริดที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งเป็นศิลปะทวารวดี ก่อสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2530 โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์มาประกอบพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ขึ้นประดิษฐานไว้ในองค์พระธาตุนาดูน เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2530
การเดินทางจากตัวเมืองมหาสารคาม โดยใช้เส้นทางหมายเลข 2040 ผ่านอำเภอแกดำ อำเภอวาปีปทุม แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2045 ถึงอำเภอนาดูน ทางลาดยางตลอด ห่างจากตัวเมืองประมาณ 65 กิโลเมตร
การขุดพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุบรรจุในตลับทองคำ เงิน และสำริด ซึ่งสันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 13-15 สมัยทวาราวดี รัฐบาลจึงอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างพระธาตุนาดูนขึ้นในเนื้อที่ 902 ไร่ โดยบริเวณรอบๆ จะมีพิพิธภัณฑ์ทางศาสนาและวัฒนธรรม สวนรุกขชาติ สวนสมุนไพร ซึ่งตกแต่งให้เป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา
ความเป็นมาของพระธาตุนาดูน
อำเภอนาดูน เป็นแหล่งอารยธรรมโบราณแห่งหนึ่งที่มีประวัติอันยาวนาน โดยบริเวณที่ตั้งของอำเภอนาดูนคือ เมืองจัมปาศรีที่เจริญรุ่งเรือนในสมัยทวารวดี เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-15 ซึ่งมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่ค้นพบมากมาย สรุปความดังนี้
ถิ่นฐานอารยธรรมจัมปาศรีในอดีตกาล สันนิษฐานได้ว่ามีความเจริญรุ่งเรืองมา 2 ยุค คือ
1. ยุคทวารวดี ระหว่าง พ.ศ. 1000-1200
2. ยุคลพบุรี ระหว่าง พ.ศ. 1600-1800
ในราวพุทธศตวรรษที่ 13-16 ภายในตัวเมืองและนอกเมืองมีเจดีย์สมัยทวารวดีอยู่ 25 องค์ (ขณะนี้ได้ขุดค้นพบแล้ว 10 องค์) เจ้าผู้ครองเมืองนครจำปาศรี นับตั้งแต่ พระเจ้ายศวรราช ได้สร้างสถานที่สักการะบูชาในพิธีทางศาสนาพราหมณ์และพุทธ เช่น เทวาลัย ปรางค์กู่ เป็นต้น ซึ่งถือว่าได้เจริญรุ่งเรืองทั้งในด้านศาสนา วัฒนธรรม และการปกครอง จนถึงขีดสุดแล้วได้เสื่อมถอยลงจนถึงยุคอวสานในสมัยพระเจ้าฟ้างุ่มแหล่งหล้าธรณี
ค้นพบและการก่อสร้างพระธาตุนาดูน
เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2522 ได้ขุดค้นพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สถูปทำด้วยทองสำริด แยกเป็น 2 ส่วน คือ
1. ตัวสถูปหรือองค์ระฆัง แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตัวสถูป เป็นส่วนที่บรรจุ พระอังคาร (ขี้เถ้า) เทียนดอกไม้ ตอนคอสถูปเป็นส่วนที่บรรจุผอบพระบรมสารีริกธาตุโดยผอบจะบรรจุพร้อมกัน 3 ชั้น คือ ผอบทองคำ จะซ้อนอยู่ในผอบเงิน ผอบเงินจะซ้อนอยู่ในผอบทองสำริด ทุกผอบมีฝาปิดมิดชิด ภายในผอบทองคำมีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุ 1 องค์ มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาวขุ่นขนาดเท่าเมล็ดข้าวสารหักครึ่ง หล่อเลี้ยงไว้ด้วยน้ำมันจันทน์เมื่อเปิดออกมาจะมีกลิ่นหอมมาก
2. ส่วนยอดทำด้วยทองสำริดกลมตัน ทำเป็นปล้องไฉนลูกแก้วและปลียอด ตอนต้นทำเป็นเกลียวสามารถปิดประกอบกับส่วนตัวองค์สถูปได้พอดี
พระธาตุนาดูน จำลองแบบสถูปทองสำริดที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งเป็นศิลปะทวารวดี ก่อสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2530 โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์มาประกอบพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ขึ้นประดิษฐานไว้ในองค์พระธาตุนาดูน เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2530
การเดินทางจากตัวเมืองมหาสารคาม โดยใช้เส้นทางหมายเลข 2040 ผ่านอำเภอแกดำ อำเภอวาปีปทุม แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2045 ถึงอำเภอนาดูน ทางลาดยางตลอด ห่างจากตัวเมืองประมาณ 65 กิโลเมตร
พระพุทธรูปยืนมงคล
อำเภอเมือง จ.มหาสารคามพระพุทธรูปยืนมงคล เป็นพระพุทธรูปคู่เมืองมหาสารคาม อยู่ที่ตำบลคันธารราษฎร์ บนทางหลวงหมายเลข 213 ห่างจากตัวเมืองประมาณ 14 กิโลเมตร เป็นพระพุทธรูปสมัยทวาราวดี สร้างขึ้นด้วยหินทรายแดง เหมือนพระพุทธมิ่งเมือง เชื่อกันว่าอำเภอกันทรวิชัยฝนแล้ง ชาวบ้านที่เป็นผู้ชายจึงสร้างพระพุทธรูปมิ่งเมือง และผู้หญิงสร้างพระพุทธรูปยืนมงคลขึ้นเพื่อขอฝน แล้วเสร็จพร้อมกันจึงจัดงานฉลองอย่างมโหฬาร นับแต่นั้นมาฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล ทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ แก่ท้องที่นี้เป็นอันมาก
พระพุทธรูปมิ่งเมือง หรือ พระพุทธรูปสุวรรณมาลี
อำเภอกันทรวิชัย จ.มหาสารคามพระพุทธรูปมิ่งเมือง หรือ พระพุทธรูปสุวรรณมาลี สร้างด้วยหินทรายแดง เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สมัยทวาราวดีที่ ชาวมหาสารคามนับถือกัน มาประดิษฐานที่วัดสุวรรณาวาส ตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย
การเดินทางใช้เส้นทางหมายเลข 213 (มหาสารคากาฬสินธุ์) ห่างจากตัวเมืองประมาณ 14 กิโลเมตรเศษ (อยู่ทางด้านซ้ายมือ)
การเดินทางใช้เส้นทางหมายเลข 213 (มหาสารคากาฬสินธุ์) ห่างจากตัวเมืองประมาณ 14 กิโลเมตรเศษ (อยู่ทางด้านซ้ายมือ)
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน
อำเภอเมือง จ.มหาสารคามเขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีลักษณะเป็นป่ธรรมชาติ มีน้ำไหลเฉพาะที่ตลอดเวลาหรือที่เรียกว่าป่าน้ำซับ นอกจากนั้นยังมีพืชและสัตว์ที่ไม่ค่อยพบในที่อื่นๆ และหายากเช่น ต้นลำพัน, เห็ดลาบ, ปลาคอกั้ง, งูขา และ ปูทูลกระหม่อม หรือปูแป้งเป็นปูน้ำจืดที่สวยที่สุดในโลก ตัวขนาดใหญ่กว่าปูนา ลำตัวมีหลายสี เช่นม่วง, ส้ม, เหลือง และขาว และจะพบเฉพาะที่ป่าดูนลำพันแห่งนี้เท่านั้น
วนอุทยานโกสัมพี
อำเภอเมือง จ.มหาสารคามวนอุทยานโกสัมพี มีเนื้อที่ 125 ไร่ มีลักษณะเป็นสวนป่ามีต้นไม้หลายชนิด เช่น ต้นยางขนาดใหญ่ ต้นตะแบก และยังมีลิงแสมฝูงใหญ่จำนวนหลายพันตัว มีลิงแสมขนสีทอง ซึ่งเป็นพันธุ์ที่หายาก ไม่ดุร้าย วนอุทยานโกสัมพีมีสิ่งที่น่าสนใจคือแก่งตาด ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงพฤษภาคม น้ำจะตื้นเขินมองเห็นหินดาน และยังมีลานข่อย ซึ่งมีต้อนข่อยกว่า 200 ต้น ดัดแปลงเป็นไม้แคระตกแต่งเป็นรูปต่างๆ
หมู่บ้านหัตถกรรมบ้านหนองเขื่อนช้าง
อำเภอเมือง จ.มหาสารคามหมู่บ้านหัตถกรรมบ้านหนองเขื่อนช้าง หมู่ที่ 7 ตำบลท่าสองคอน เป็นหมู่บ้านทอผ้าไหม ผ้าฝ้าย ทำหมอนขิต นักท่องเที่ยวสามารถแวะชมซื้อสินค้าที่ระลึกแห่งนี้ได้ การเดินทางจากตัวเมืองไปตามเส้นทางสายมหาสารคาม-โกสุมพิสัย ประมาณ 12 กิโลเมตร แล้วแยกซ้ายระหว่างกิโลเมตรที่ 47-48 ไปตามทางลาดยางหมายเลข 1027 สู่บ้านโนนตาล เข้าไปอีก 2 กิโลเมตร จึงจะถึงหมู่บ้านหนองเขื่อนช้าง
บ้านแพง
ตำบลแพง อำเภอเมือง จ.มหาสารคามบ้านแพง ตำบลแพง เป็นหมู่บ้านที่มีอาชีพการทอเสื่อกก เป็นอาชีพเสริมอีกอาชีพหนึ่ง การเดินทางจากตัวเมืองใช้เส้นทางหมายเลข 208 (มหาสารคาม-โกสุมพิสัย-ขอนแก่น) เลี้ยวซ้ายเข้าเส้นทางโกสุมพิสัย-ขอนแก่น ระหว่างกิโลเมตรที่ 20-21 ห่างจากอำเภอโกสุมพิสัย 9 กิโลเมตร และห่างจากตัวเมืองประมาณ 38 กิโลเมตร
หมู่บ้านปั้นหม้อ
อำเภอเมือง จ.มหาสารคามหมู่บ้านปั้นหม้อ ตั้งอยู่ที่ตำบลเขวา ห่างจากตัวเมืองไปตามทางหลวงสาย 208 (มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด) ประมาณ 4 กิโลเมตร และแยกซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านที่มีอาชีพปั้นหม้อดินเผา ซึ่งชาวอีสานใช้เป็นหม้อน้ำ หม้อแกง กรรมวิธีทำยังเป็นแบบโบราณดั้งเดิม
กู่สันตรัตน์
อำเภอนาดูน จ.มหาสารคาม กู่สันตรัตน์ เป็นปราสาทหินที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นศิลปะขอมสมัยบายน อายุระหว่าง พ.ศ. 1700-1750 ตัวปราสาทสร้างด้วยศิลาแลงเป็นแท่งสี่เหลี่ยมเหมือนกู่มหาธาตุ และมีทับหลังประตูมุขหน้าจำหลักลายงดงามน่าดู ตั้งอยู่ที่ตำบลกู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูนการเดินทาง ใช้เส้นทางหมายเลข 2040 ผ่านอำเภอแกดำ อำเภอวาปีปทุม เลี้ยวขวาเข้าเส้นทางหมายเลข 2045 (เข้าอำเภอนาดูน) ประมาณ 1 กิโลเมตร จะอยู่ทางขวามือ
สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช
อำเภอนาดูน จ.มหาสารคาม สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช อยู่ทางทิศตะวันออกของพระธาตุนาดูน เป็นสถานที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพันธุ์ไม้ อนุรักษ์ ขยาย และปรับปรุงพันธุ์ไม้ในภาคอีสาน ภายในสถาบันฯ จะมีอุทยานลานไผ่ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ และพิพิธภัณฑ์บ้านอีสาน ซึ่งแต่ละแห่งมีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 4379 7048บึงบอน
อำเภอโกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม บึงบอน ตั้งอยู่ที่ ตำบลหัวขวาง ซึ่งอยู่ถัดจากวนอุทยานโกสัมพีไปประมาณ 100 เมตร บึงบอนเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ 120 ไร่ และมีถนนรอบบึงซึ่งได้รับงบพัฒนาฯ จาก ททท. โดยมีความกว้าง 5 เมตร ยาว 2,689 เมตร นับว่าเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจอีกแห่งหนึ่ง การเดินทางสามารถใช้เส้นทางเดียวกันกับวนอุทยานโกสัมพีพิพิธภัณฑ์วัดมหาชัย
อำเภอเมือง จ.มหาสารคาม พิพิธภัณฑ์วัดมหาชัย ตั้งอยู่ในตัวเมืองมหาสารคาม เป็นสถานที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุของภาคอีสาน เช่น ใบเสมาหิน พระพุทธรูปในสมัยโบราณ บานประตู คันทวยแกะสลักอายุประมาณ 100-200 ปี นอกจากนี้ยังเป็นที่เก็บรวบรวมวรรณคดีภาคอีสาน และพระธรรมใบลานอยู่เป็นจำนวนมากกู่มหาธาตุ (ปรางค์กู่บ้านเขวา)
อำเภอเมือง จ.มหาสารคาม กู่มหาธาตุ (ปรางค์กู่บ้านเขวา) ตั้งอยู่ที่บ้านเขวา ตำบลเขวา ห่างจากตัวเมืองไปตามถนนแจ้งสนิท 13 กิโลเมตร เป็นโบราณสถานที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 ทำด้วยศิลาแลงเป็นรูปกระโจมสี่เหลี่ยม สูงจากพื้นดินถึงยอด 4 วา กว้าง 2 วา 2 ศอก ภายในปราสาทมีเทวรูปทำด้วยดินเผา 2 องค์ นั่งขัดสมาธิ ประนมมือ ถือสังข์ มีกำแพงทำด้วยศิลาแลงล้อมรอบ โคปุระอยู่แนวด้านทิศตะวันออกเป็นทางเข้าออกภายในกำแพงเพียงด้านเดียว บรรณาลัยอยู่ภายในกำแพงแก้วด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีทางเข้าในปรางค์ประธานเพียงด้านเดียว คือ ทิศตะวันออก ส่วนอีก 3 ด้าน เป็นประตูหลอก กรอบประตูและทับหลังเป็นหินทราย กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งเรียบร้อยแล้วการเดินทาง จากตัวเมืองไปตามถนนแจ้งสนิท 13 กิโลเมตร (ทางหลวงหมายเลข 208 มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด)
อุทยานมัจฉาโขงกุดหวาย
อำเภอเมือง จ.มหาสารคาม อุทยานมัจฉาโขงกุดหวาย อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 10 กิโลเมตร อยู่ในความดูแลของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดและต้นไม้ หลายชนิด เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนทั่วไปสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
อำเภอเมือง จ.มหาสารคาม สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคามซึ่งได้จัดนิทรรศการแบบถาวรไว้ให้ชม เปิดให้ชมในวันและเวลาราชการ ปิดวันเสาร์-อาทิตย์ (หากติดต่อล่วงหน้าสถาบันฯ ก็ยินดีเปิดให้ชมเป็นพิเศษ) ผู้เข้าชมจะได้ความรู้เกี่ยวกับ ศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน ความเป็นมาของการทอผ้า การประยุกต์ผลิตภัณฑ์ผ้าพื้นเมือง เครื่องจักสานและงานไม้ งานหล่อโลหะ การพัฒนาเครื่องปั้นดินเผา เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องมือจับสัตว์ เครื่องดนตรี วรรณกรรม จารึกภาษาโบราณ รวมทั้งผลงานศิลปะร่วมสมัยของนิสิต นักศึกษา สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 0 4372 1686ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมอีสาน
อำเภอเมือง จ.มหาสารคาม ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมอีสาน ตั้งอยู่ในบริเวณสถาบันราชภัฏมหาสารคาม ภาพแสดงความเป็นมาของศิลปะอีสานตลอดจนศิลปหัตถกรรม เช่น การทอผ้า ลายผ้าต่างๆ นอกจากนั้นก็มีวรรณคดีอีสานประเภทใบลานซึ่งหาชมได้ยาก นอกจากนั้นยังมี ภาพสไลด์ เกี่ยวกับวัฒนธรรมและประเพณีของชาวอีสานให้ชมด้วยศาลเจ้าพ่อหลักเมือง
อำเภอเมือง จ.มหาสารคาม ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ตั้งอยู่ถนนหน้าโรงเรียนหลักเมืองมหาสารคาม สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2408 เมื่อท้าวมหาชัย เจ้าเมืองมหาสารคามคนแรก ได้รวบรวมไพร่พลจากร้อยเอ็ดมาตั้งเมืองใหม่ ได้สร้างหลักเมืองและอัญเชิญเจ้าพ่อหลักเมืองมาประทับ เพื่อเป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์คู่บ้านคู่เมืองนับเป็นอีกสถานที่หนึ่ง ที่ชาวจังหวัดมหาสารคามให้ความเคารพนับถือกันมากแก่งเลิงจาน
อำเภอเมือง จ.มหาสารคาม แก่งเลิงจาน เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ภายในบริเวณเป็นที่ตั้งของสถานีประมง ทำการเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดให้หลายจังหวัดในภาคอีสาน อยู่ด้านหลังของสถาบันราชภัฏมหาสารคาม ห่างจากตัวเมืองประมาณ 3 กิโลเมตร บริเวณโดยรอบของแก่งเลิงจานมีทิวทัศน์สวยงาม ในวันหยุดประชาชนนิยมไปพักผ่อนกันมาก
ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดร้อยเอ็ด
ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดร้อยเอ็ด
พระมหาเจดีย์ชัยมงคล
อำเภอหนองพอก จ.ร้อยเอ็ดพระมหาเจดีย์ชัยมงคล ตั้งอยู่ในบริเวณวัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วราราม บนยอดภูเขาเขียว แนวเทือกเขาภูพาน อำเภอหนองพอก ใกล้กันมีหน้าผาสูงชันซึ่งมีน้ำไหลตลอดปี ชาวบ้านเรียกว่า ผาน้ำย้อย
พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ได้รับการออกแบบให้เป็นศิลปกรรมร่วมสมัยระหว่างภาคกลางและภาคอีสาน เป็นการผสมผสานระหว่างพระปฐมเจดีย์และพระธาตุพนม เป็นพระเจดีย์ที่ใหญ่องค์หนึ่งของประเทศไทย มีความกว้าง 101 เมตร ความยาว 101 เมตร ความสูง 101 เมตร สร้างในเนื้อที่ 101 ไร่ มีทั้งหมด 5 ชั้น คือ
ชั้นที่ 1 เป็นห้องโถงกว้างใหญ่ โดยรอบแกะสลักประดับแบบลายไทย มีรูปปั้นหลวงปู่ศรี มหาวีโร ผู้ก่อตั้ง
ชั้นที่ 2 เป็นห้องประชุมสงฆ์ขนาดใหญ่ รองรับพระภิกษุสงฆ์ได้ 2,000-3,000 รูป
ชั้นที่ 3 เป็นชั้นอุโบสถและประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ และรูปปั้นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังทั่วประเทศไทยถึง 101 องค์
ชั้นที่ 4 นอกจากจะเน้นภาพประดับสวยงามแล้ว ยังสามารถชมทัศนียภาพภูเขาเขียวได้ 4 ทิศ
ชั้นที่ 5 เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
เปิดให้เข้าชมฟรีทุกวัน ระหว่างเวลา 06.00-17.30 น.
การเดินทาง ใช้เส้นทางสายร้อยเอ็ด-อำเภอโพนทอง-อำเภอหนองพอก ระยะทาง 62 กิโลเมตร จากตัวเมืองร้อยเอ็ด ตามทางหลวงหมายเลข 2044 และ 2136
พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ได้รับการออกแบบให้เป็นศิลปกรรมร่วมสมัยระหว่างภาคกลางและภาคอีสาน เป็นการผสมผสานระหว่างพระปฐมเจดีย์และพระธาตุพนม เป็นพระเจดีย์ที่ใหญ่องค์หนึ่งของประเทศไทย มีความกว้าง 101 เมตร ความยาว 101 เมตร ความสูง 101 เมตร สร้างในเนื้อที่ 101 ไร่ มีทั้งหมด 5 ชั้น คือ
ชั้นที่ 1 เป็นห้องโถงกว้างใหญ่ โดยรอบแกะสลักประดับแบบลายไทย มีรูปปั้นหลวงปู่ศรี มหาวีโร ผู้ก่อตั้ง
ชั้นที่ 2 เป็นห้องประชุมสงฆ์ขนาดใหญ่ รองรับพระภิกษุสงฆ์ได้ 2,000-3,000 รูป
ชั้นที่ 3 เป็นชั้นอุโบสถและประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ และรูปปั้นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังทั่วประเทศไทยถึง 101 องค์
ชั้นที่ 4 นอกจากจะเน้นภาพประดับสวยงามแล้ว ยังสามารถชมทัศนียภาพภูเขาเขียวได้ 4 ทิศ
ชั้นที่ 5 เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
เปิดให้เข้าชมฟรีทุกวัน ระหว่างเวลา 06.00-17.30 น.
การเดินทาง ใช้เส้นทางสายร้อยเอ็ด-อำเภอโพนทอง-อำเภอหนองพอก ระยะทาง 62 กิโลเมตร จากตัวเมืองร้อยเอ็ด ตามทางหลวงหมายเลข 2044 และ 2136
กู่พระโกนา
อำเภอสุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ดกู่พระโกนา ตั้งอยู่ที่บ้านกู่ วัดกู่พระโกนา หมู่ 2 ตำบลสระคู ปัจจุบันมีวัดสร้างอยู่ในบริเวณเดียวกัน กู่พระโกนา ประกอบด้วย ปรางค์อิฐ 3 องค์ บนฐานศิลาทราย เรียงจากเหนือ-ใต้ ทั้งหมดหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีกำแพงล้อมและซุ้มประตูเข้า-ออกทั้ง 4 ด้าน ก่อด้วยหินทรายเช่นกัน
ปรางค์องค์กลางถูกดัดแปลงเมื่อ พ.ศ. 2417 โดยการฉาบปูนทับและก่อขึ้นเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นมีซุ้มพระทั้ง 4 ทิศ หน้าปรางค์องค์กลางชั้นล่าง สร้างเป็นวิหารพระพุทธบาทประดับเศียรนาค 6 เศียรของเดิมไว้ด้านหน้า ส่วนปรางค์อีก 2 องค์ ก็ได้รับการบูรณะจากทางวัดเช่นกัน แต่ไม่ถึงกับเปลี่ยนรูปทรงอย่างปรางค์องค์กลาง ปรางค์องค์ทิศเหนือทางวัดสร้างศาลาครอบ ภายในมีหน้าบันสลักเรื่องรามายณะ และทับหลังสลักภาพพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ติดอยู่ที่เดิม คือเหนือประตูทางด้านหน้า ส่วนทับหลังประตูด้านทิศตะวันตกหล่นอยู่บนพื้น เป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑ ปรางค์องค์ทิศใต้ยังคงมีทับหลังของเดิมเหนือประตูหลอกด้านทิศเหนือ เป็นภาพเทวดานั่งชันเข่าในซุ้มเรือนแก้วเหนือหน้ากาล นอกจากนี้ทางด้านหน้ายังมีทับหลังหล่นอยู่ที่พื้น เป็นภาพพระอิศวรประทับนั่งบนหลังโค และมีเสานางเรียงวางอยู่ด้วย สันนิษฐานว่า กู่พระโกนาเดิมจะมีสะพานนาคและทางเดิน ประดับเสานางเรียงทอดต่อไปจากซุ้มประตูหน้าไปยังสระน้ำ หรือบารายซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 300 เมตร จากรูปแบบลักษณะทางศิลปกรรมทั้งหมดของภาพสลัก และเสากรอบประตู ซึ่งเป็นศิลปะขอมที่มีอายุในราว พ.ศ. 1560-1630 (แบบบาปวน) สันนิษฐานว่ากู่พระโกนาคงจะสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่16
การเดินทาง อยู่ห่างจากอำเภอเมือง 60 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 215 ผ่านอำเภอเมืองสรวง อำเภอสุวรรณภูมิ จากนั้นเข้าทางหลวงหมายเลข 214 ไปประมาณ 12 กิโลเมตร ถึงกู่พระโกนา อยู่ทางซ้ายมือ ด้านหน้าทางเข้าจะเป็นสวนยาง บริเวณวัดมีลิงแสมอาศัยอยู่
ปรางค์องค์กลางถูกดัดแปลงเมื่อ พ.ศ. 2417 โดยการฉาบปูนทับและก่อขึ้นเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นมีซุ้มพระทั้ง 4 ทิศ หน้าปรางค์องค์กลางชั้นล่าง สร้างเป็นวิหารพระพุทธบาทประดับเศียรนาค 6 เศียรของเดิมไว้ด้านหน้า ส่วนปรางค์อีก 2 องค์ ก็ได้รับการบูรณะจากทางวัดเช่นกัน แต่ไม่ถึงกับเปลี่ยนรูปทรงอย่างปรางค์องค์กลาง ปรางค์องค์ทิศเหนือทางวัดสร้างศาลาครอบ ภายในมีหน้าบันสลักเรื่องรามายณะ และทับหลังสลักภาพพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ติดอยู่ที่เดิม คือเหนือประตูทางด้านหน้า ส่วนทับหลังประตูด้านทิศตะวันตกหล่นอยู่บนพื้น เป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑ ปรางค์องค์ทิศใต้ยังคงมีทับหลังของเดิมเหนือประตูหลอกด้านทิศเหนือ เป็นภาพเทวดานั่งชันเข่าในซุ้มเรือนแก้วเหนือหน้ากาล นอกจากนี้ทางด้านหน้ายังมีทับหลังหล่นอยู่ที่พื้น เป็นภาพพระอิศวรประทับนั่งบนหลังโค และมีเสานางเรียงวางอยู่ด้วย สันนิษฐานว่า กู่พระโกนาเดิมจะมีสะพานนาคและทางเดิน ประดับเสานางเรียงทอดต่อไปจากซุ้มประตูหน้าไปยังสระน้ำ หรือบารายซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 300 เมตร จากรูปแบบลักษณะทางศิลปกรรมทั้งหมดของภาพสลัก และเสากรอบประตู ซึ่งเป็นศิลปะขอมที่มีอายุในราว พ.ศ. 1560-1630 (แบบบาปวน) สันนิษฐานว่ากู่พระโกนาคงจะสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่16
การเดินทาง อยู่ห่างจากอำเภอเมือง 60 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 215 ผ่านอำเภอเมืองสรวง อำเภอสุวรรณภูมิ จากนั้นเข้าทางหลวงหมายเลข 214 ไปประมาณ 12 กิโลเมตร ถึงกู่พระโกนา อยู่ทางซ้ายมือ ด้านหน้าทางเข้าจะเป็นสวนยาง บริเวณวัดมีลิงแสมอาศัยอยู่
สิมวัดไตรภูมิคณาจารย์
อำเภอสุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ดสิมวัดไตรภูมิคณาจารย์ ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านตากแดด ตำบลหัวโทน อำเภอสุวรรณภูมิ ลักษณะทางศิลปกรรม เป็นสิมแบบพื้นเมืองอีสาน ประเภทสิมทึบ มีกำแพงแก้วเตี้ย ๆ ล้อมรอบ หน้าบันและรังผึ้งของสิมมีลายแกะสลักสวยงาม ภายในมีจิตรกรรมหรือ ฮูปแต้ม แสดงเรื่องในพุทธศาสนา สันนิษฐานว่ามีอายุในราวสมัยอยุธยา-รัตนโกสินทร์ตอนต้น ด้านนอกสิมมีพระพุทธรูปแบบอีสานขนาดใหญ่ ซึ่งย้ายมาจากวัดใต้วิไลธรรม ในเขตอำเภอเดียวกัน (สิมวัดไตรภูมิคณาจารย์ ได้รับการบูรณะโดยกรมศิลปากรเมื่อ พ.ศ.2541 และได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยามประจำปี 2541)
วัดกลางมิ่งเมือง
อำเภอเมือง จ.ร้อยเอ็ดวัดกลางมิ่งเมือง ตั้งอยู่บนเนินในเมือง เป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐานว่าสร้างก่อนตั้งเมืองร้อยเอ็ด ส่วนอุโบสถสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย ในอดีตเคยใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ปัจจุบันเป็นสถานที่ศึกษาปริยัติธรรม และสถานที่สอบธรรมสถาน ชื่อโรงเรียนสุนทรธรรมปริยัติ บริเวณผนังรอบอุโบสถมีลวดลายภาพวาด แสดงถึงพุทธประวัติ สวยงามและมีค่าทางศิลปะ
สิมวัดจักรวาลภูมิพินิจ (วัดหนองหมื่นถ่าน)
อำเภออาจสามารถ จ.ร้อยเอ็ดสิมวัดจักรวาลภูมิพินิจ (วัดหนองหมื่นถ่าน) ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านหนองหมื่นถ่าน ตำบลหนองหมื่นถ่าน มีลักษณะทางศิลปกรรมเป็นสิมแบบพื้นเมืองอีสาน ประเภทสิมทึบ หน้าบันหรือรังผึ้งมีลวดลายแกะสลักไม้ ภายนอกมี “ฮูปแต้ม” เป็นภาพพุทธประวัติตอนมารผจญ ภาพขุมนรก และภาพพระพุทธองค์ ขณะปลงพระเกศา มีพระอินทร์มารับนำไปประดิษฐานยังเจดีย์จุฬามณี ภายในมีภาพวรรณคดีพื้นเมืองเรื่องสังข์ศิลป์ชัย สันนิษฐานว่ามีอายุในราวสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
การเดินทาง จากอำเภอเมือง เดินทางตามทางหลวงหมายเลข 2043 ถึงอำเภออาจสามารถ และเดินทางต่อไปอีก 10 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางบ้านหนองหมื่นถ่าน 2 กิโลเมตร
การเดินทาง จากอำเภอเมือง เดินทางตามทางหลวงหมายเลข 2043 ถึงอำเภออาจสามารถ และเดินทางต่อไปอีก 10 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางบ้านหนองหมื่นถ่าน 2 กิโลเมตร
ปรางค์กู่ หรือ ปราสาทหนองกู่
อำเภอธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ดปรางค์กู่ หรือ ปราสาทหนองกู่ ตั้งอยู่ที่บ้านยางกู่ ตำบลมะอี ปรางค์กู่ คือ กลุ่มอาคารที่มีลักษณะแบบเดียวกันกับอาคารที่เชื่อกันว่า คืออโรคยาศาลตามที่ปรากฏในจารึกปราสาทตาพรหมอันประกอบด้วย ปรางค์ประธาน บรรณาลัย กำแพงพร้อมซุ้มประตูและสระน้ำนอกกำแพง โดยทั่วไปนับว่าคงสภาพเดิมพอควร โดยเฉพาะปรางค์ประธานชั้นหลังคาคงเหลือ 3 ชั้น และมีฐานบัวยอดปรางค์อยู่ตอนบน อาคารอื่นๆ แม้หักพังแต่ทางวัดก็ได้จัดบริเวณให้ดูร่มรื่นสะอาดตา
นอกจากนี้ภายในกำแพงด้านหน้าทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ยังพบโบราณวัตถุอีกหลายชิ้นวางเก็บรักษาไว้ใต้อาคารไม้ ได้แก่ทับหลังหินทราย สลักเป็นภาพบุคคลนั่งบนหลังช้างหรือวัว ภายในซุ้มเรือนแก้วหน้ากาล จากการสอบถามเจ้าอาวาสวัดศรีรัตนาราม กล่าวว่าเป็นทับหลังหน้าประตูมุขของปรางค์ประธาน เสากรอบประตู 2 ชิ้น ชิ้นหนึ่งมีภาพสลักรูปฤาษีที่โคนเสา ศิวลึงค์ขนาดใหญ่พร้อมฐานที่ได้จากทุ่งนาด้านนอกออกไป และชิ้นส่วนบัวยอดปรางค์ ซึ่งถูกดัดแปลงเป็นฐานของพระสังกัจจายน์ปูนปั้น กำหนดอายุว่าสร้างราวพุทธศตวรรษที่ 18
การเดินทาง จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 23 (ร้อยเอ็ด-ยโสธร) ประมาณ 10 กิโลเมตร ถึงที่ว่าการอำเภอธวัชบุรี ฝั่งตรงข้ามมีทางแยกซ้ายไปปรางค์กู่ ระยะทาง 6 กิโลเมตร หรือใช้ทางหลวงหมายเลข 2044 (ร้อยเอ็ด-โพนทอง) ไปประมาณ 8 กิโลเมตร มีทางแยกขวาไปปรางค์กู่อีก 1 กิโลเมตร
นอกจากนี้ภายในกำแพงด้านหน้าทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ยังพบโบราณวัตถุอีกหลายชิ้นวางเก็บรักษาไว้ใต้อาคารไม้ ได้แก่ทับหลังหินทราย สลักเป็นภาพบุคคลนั่งบนหลังช้างหรือวัว ภายในซุ้มเรือนแก้วหน้ากาล จากการสอบถามเจ้าอาวาสวัดศรีรัตนาราม กล่าวว่าเป็นทับหลังหน้าประตูมุขของปรางค์ประธาน เสากรอบประตู 2 ชิ้น ชิ้นหนึ่งมีภาพสลักรูปฤาษีที่โคนเสา ศิวลึงค์ขนาดใหญ่พร้อมฐานที่ได้จากทุ่งนาด้านนอกออกไป และชิ้นส่วนบัวยอดปรางค์ ซึ่งถูกดัดแปลงเป็นฐานของพระสังกัจจายน์ปูนปั้น กำหนดอายุว่าสร้างราวพุทธศตวรรษที่ 18
การเดินทาง จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 23 (ร้อยเอ็ด-ยโสธร) ประมาณ 10 กิโลเมตร ถึงที่ว่าการอำเภอธวัชบุรี ฝั่งตรงข้ามมีทางแยกซ้ายไปปรางค์กู่ ระยะทาง 6 กิโลเมตร หรือใช้ทางหลวงหมายเลข 2044 (ร้อยเอ็ด-โพนทอง) ไปประมาณ 8 กิโลเมตร มีทางแยกขวาไปปรางค์กู่อีก 1 กิโลเมตร
กู่กาสิงห์
อำเภอเกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ดกู่กาสิงห์ ตั้งอยู่ในวัดบูรพากู่กาสิงห์ ตำบลกู่กาสิงห์
กู่กาสิงห์ เป็นสถาปัตยกรรมแบบเขมรอีกแห่งหนึ่ง มีขนาดค่อนข้างใหญ่และยังอยู่ในสภาพดีพอควร ขณะนี้สำนักงานโบราณคดี และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 8 อุบลราชธานี กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดแต่ง และบูรณะให้เห็นสภาพชัดเจนสวยงามยิ่งขึ้น เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ อีกแห่งหนึ่งในภาคอีสาน ประกอบด้วย ปรางค์ 3 องค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน มีวิหารหรืออาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่เรียกว่าบรรณาลัย อยู่ทางด้านหน้าทั้งสองข้าง ทั้งหมดล้อมรอบด้วยกำแพงซึ่งมีซุ้มประตูทั้ง 4 ทิศ ถัดออกไปเป็นคูน้ำรูปเกือกม้าล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง
ปรางค์ประธานหรืออาคารหลักที่มี 3 องค์นั้น ตั้งเรียงอยู่บนฐานเดียวกันในแนวเหนือ-ใต้ แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปรางค์องค์กลางมีขนาดใหญ่กว่าอีก 2 องค์ที่ขนาบข้าง และมีมุขยื่นทางด้านหน้าเป็นห้องยาว มีประตูทางเข้า 3 ทาง คือด้านหน้าและด้านข้างของห้องยาวทั้งสอง ส่วนฐานขององค์ปรางค์ก่อด้วยศิลาทราย ยังคงปรากฏลวดลายสลักเป็นชั้นเป็นแนว เช่น ลายกลีบบัวและลายกนก ผนังก่ออิฐ ที่ห้องในสุดหรือส่วนครรภคฤหะได้ค้นพบศิวลึงค์ ซึ่งเป็นตัวแทนของเทพสูงสุด (พระอิศวร) และความอุดมสมบูรณ์ตามลัทธิความเชื่อ ในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย นอกจากนี้ยังพบทับหลังอีกหลายชิ้น ชิ้นหนึ่งสลักเป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณในซุ้มเรือนแก้ว โดยยืนอยู่เหนือหน้ากาล ซึ่งมีมือยึดจับท่อนพวงมาลัยอีกทีหนึ่ง และยังได้พบซุ้มหน้าบันสลักเป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณท่ามกลางลายก้านขดอีกด้วย
ส่วนปรางค์อีก 2 องค์ที่ขนาบนั้น มีขนาดและลักษณะเดียวกัน ฐานก่อด้วยศิลาทราย ผนังก่ออิฐมีประตูเพียงด้านหน้า ภายในมีแท่นรูปเคารพวางอยู่จากลวดลายของศิลปกรรม แบบแผนผังและโบราณวัตถุที่พบแสดงให้ทราบว่า กู่กาสิงห์สร้างขึ้นในแบบศิลปะเขมรที่เรียกว่า "แบบบาปวน" อายุราว พ.ศ. 1560-1630 เพื่อเป็นเทวสถานอุทิศถวายแด่พระอิศวร เทพเจ้าสูงสุดองค์หนึ่งในศาสนาพราหมณ์
การเดินทาง สามารถเดินทางได้ 2 ทาง คือ ใช้เส้นทางร้อยเอ็ด-เกษตรวิสัย ทางหลวงหมายเลข 214 ระยะทาง 47 กิโลเมตร เดินทางต่อไปตามทางหลวงสายเกษตรวิสัย-สุวรรณภูมิ ประมาณ 10 กิโลเมตร มีทางแยกขวากู่กาสิงห์เป็นระยะทางอีก 10 กิโลเมตร หรืออาจใช้เส้นทางสายร้อยเอ็ด-สุวรรณภูมิ-สุรินทร์ (ทางหลวงหมายเลข 215 ต่อด้วย 214 ) ระยะทาง 60 กิโลเมตร ถึงวัดกู่พระโกนา ด้านตรงข้ามวัดมีทางแยกไปกู่กาสิงห์ ระยะทางอีก 18 กิโลเมตร
กู่กาสิงห์ เป็นสถาปัตยกรรมแบบเขมรอีกแห่งหนึ่ง มีขนาดค่อนข้างใหญ่และยังอยู่ในสภาพดีพอควร ขณะนี้สำนักงานโบราณคดี และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 8 อุบลราชธานี กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดแต่ง และบูรณะให้เห็นสภาพชัดเจนสวยงามยิ่งขึ้น เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ อีกแห่งหนึ่งในภาคอีสาน ประกอบด้วย ปรางค์ 3 องค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน มีวิหารหรืออาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่เรียกว่าบรรณาลัย อยู่ทางด้านหน้าทั้งสองข้าง ทั้งหมดล้อมรอบด้วยกำแพงซึ่งมีซุ้มประตูทั้ง 4 ทิศ ถัดออกไปเป็นคูน้ำรูปเกือกม้าล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง
ปรางค์ประธานหรืออาคารหลักที่มี 3 องค์นั้น ตั้งเรียงอยู่บนฐานเดียวกันในแนวเหนือ-ใต้ แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปรางค์องค์กลางมีขนาดใหญ่กว่าอีก 2 องค์ที่ขนาบข้าง และมีมุขยื่นทางด้านหน้าเป็นห้องยาว มีประตูทางเข้า 3 ทาง คือด้านหน้าและด้านข้างของห้องยาวทั้งสอง ส่วนฐานขององค์ปรางค์ก่อด้วยศิลาทราย ยังคงปรากฏลวดลายสลักเป็นชั้นเป็นแนว เช่น ลายกลีบบัวและลายกนก ผนังก่ออิฐ ที่ห้องในสุดหรือส่วนครรภคฤหะได้ค้นพบศิวลึงค์ ซึ่งเป็นตัวแทนของเทพสูงสุด (พระอิศวร) และความอุดมสมบูรณ์ตามลัทธิความเชื่อ ในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย นอกจากนี้ยังพบทับหลังอีกหลายชิ้น ชิ้นหนึ่งสลักเป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณในซุ้มเรือนแก้ว โดยยืนอยู่เหนือหน้ากาล ซึ่งมีมือยึดจับท่อนพวงมาลัยอีกทีหนึ่ง และยังได้พบซุ้มหน้าบันสลักเป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณท่ามกลางลายก้านขดอีกด้วย
ส่วนปรางค์อีก 2 องค์ที่ขนาบนั้น มีขนาดและลักษณะเดียวกัน ฐานก่อด้วยศิลาทราย ผนังก่ออิฐมีประตูเพียงด้านหน้า ภายในมีแท่นรูปเคารพวางอยู่จากลวดลายของศิลปกรรม แบบแผนผังและโบราณวัตถุที่พบแสดงให้ทราบว่า กู่กาสิงห์สร้างขึ้นในแบบศิลปะเขมรที่เรียกว่า "แบบบาปวน" อายุราว พ.ศ. 1560-1630 เพื่อเป็นเทวสถานอุทิศถวายแด่พระอิศวร เทพเจ้าสูงสุดองค์หนึ่งในศาสนาพราหมณ์
การเดินทาง สามารถเดินทางได้ 2 ทาง คือ ใช้เส้นทางร้อยเอ็ด-เกษตรวิสัย ทางหลวงหมายเลข 214 ระยะทาง 47 กิโลเมตร เดินทางต่อไปตามทางหลวงสายเกษตรวิสัย-สุวรรณภูมิ ประมาณ 10 กิโลเมตร มีทางแยกขวากู่กาสิงห์เป็นระยะทางอีก 10 กิโลเมตร หรืออาจใช้เส้นทางสายร้อยเอ็ด-สุวรรณภูมิ-สุรินทร์ (ทางหลวงหมายเลข 215 ต่อด้วย 214 ) ระยะทาง 60 กิโลเมตร ถึงวัดกู่พระโกนา ด้านตรงข้ามวัดมีทางแยกไปกู่กาสิงห์ ระยะทางอีก 18 กิโลเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติร้อยเอ็ด
อำเภอเมือง จ.ร้อยเอ็ดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติร้อยเอ็ด เป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ที่จัดตั้งขึ้นตามโครงการการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมือง เป็นสถานที่จัดแสดงและรวบรวมเรื่องราวน่ารู้ทุกด้านของจังหวัดแห่งนี้ เดิมทีเดียวนั้น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติร้อยเอ็ด จัดตั้งขึ้นตามดำริของท่านศาสตราจารย์ ดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ ในอันที่จะเป็นพิพิธภัณฑ์ฯ ศิลปหัตถกรรมอีสาน โดยเฉพาะผ้าไหมและผ้าพื้นเมือง ต่อมาเมื่อกรมศิลปากร มีนโยบายในการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมือง จึงได้ทำการปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหาในการจัดแสดงให้ครอบคลุมข้อมูลเรื่องราว ของจังหวัดทุกด้านทั้งด้านภูมิศาสตร์ทรัพยากรธรณีโบราณคดี ประวัติศาสตร์ บุคคลสำคัญ วิถีชีวิต ประเพณี และศิลปหัตถกรรม เริ่มโครงการจัดตั้งมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2536 ซึ่งเป็นปีที่ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารต่อเนื่องมาจนกระทั่งปี 2540 จึงดำเนินการได้แล้วเสร็จสมบูรณ์ ประกอบด้วยงบประมาณด้านการจัดแสดงนิทรรศการถาวร ปรับสภาพภูมิทัศน์ ติดตั้งระบบไฟฟ้าและระบบปรับอากาศ จัดทำห้องประชุมและนิทรรศการพิเศษ ปรับปรุงบ้านพักเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้เฉพาะการจัดแสดงได้มีการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้แก่ ระบบสารสนเทศ การทำหุ่นจำลอง และฉากวิถีชีวิตต่าง ๆ เข้ามาประกอบการนำเสนอเรื่องราว ทำให้อาจกล่าวได้ว่าเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในความดูแลของกรมศิลปากร พิพิธภัณฑ์นี้ตั้งอยู่ที่ถนนเพลินจิต ต. ในเมือง อ. เมือง จ. ร้อยเอ็ด 45000 เปิดทุกวันเวลา 09.00-16.00 น. เว้นวันจันทร์-อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 0 4351 4456 หรือ www.thailandmuseum.com
บึงพลาญชัย
อำเภอเมือง จ.ร้อยเอ็ดบึงพลาญชัย ตั้งอยู่บริเวณกลางเมืองร้อยเอ็ด ถือเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด มีลักษณะเป็นเกาะอยู่กลางบึงน้ำขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 2 แสนตารางเมตร เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ตกแต่งเป็นสวนไม้ดอกขนาดใหญ่ มีพันธุ์ไม้ต่างๆ ร่มรื่น และในบึงน้ำมีปลาชนิดต่างๆ หลายพันธุ์มากมาย มีเรือสำหรับให้ประชาชนได้พายเล่นในบึง นอกจากนั้นยังใช้เป็นสถานที่จัดงานเทศกาลของจังหวัด รวมทั้งจัดมหรสพต่างๆ ภายในบึงพลาญชัยยังมีสิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจคือ
ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง เป็นที่เคารพบูชาของชาวร้อยเอ็ด
พระพุทธรูปปางลีลาขนาดใหญ่ กลางสวนดอกไม้
พานรัฐธรรมนูญ และนาฬิกาดอกไม้
ภูพลาญชัย มีลักษณะเป็นสวนสัตว์และน้ำตกจำลอง
สนามเด็กเล่น นกชนิดต่างๆ สวนสุขภาพ เป็นสวนออกกำลังกาย เพื่อให้ประชาชนได้ออกกำลังกาย อันเป็นการเสริมสร้างพลานามัยแก่ชาวร้อยเอ็ด
ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง เป็นที่เคารพบูชาของชาวร้อยเอ็ด
พระพุทธรูปปางลีลาขนาดใหญ่ กลางสวนดอกไม้
พานรัฐธรรมนูญ และนาฬิกาดอกไม้
ภูพลาญชัย มีลักษณะเป็นสวนสัตว์และน้ำตกจำลอง
สนามเด็กเล่น นกชนิดต่างๆ สวนสุขภาพ เป็นสวนออกกำลังกาย เพื่อให้ประชาชนได้ออกกำลังกาย อันเป็นการเสริมสร้างพลานามัยแก่ชาวร้อยเอ็ด
ทุ่งกุลาร้องไห้
อำเภอเกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ดทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นทุ่งกว้างใหญ่ของภาคอีสาน มีอาณาเขตครอบคลุมถึง 5 จังหวัด คือ ในแนวทิศเหนือนั้นครอบคลุมอำเภอปทุมรัตต์ อำเภอเกษตรวิสัย อำเภอสุวรรณภูมิ และอำเภอโพนทราย ของจังหวัดร้อยเอ็ด ในแนวทิศใต้มีลำน้ำมูลทอดยาว ตลอดพื้นที่อำเภอชุมพลบุรี อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ในแนวทิศตะวันตกผ่านอำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร และอำเภอพยัคฆภูมิพิสัยของจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ประมาณ 3 ใน 5 นั้นอยู่ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด ทุ่งกุลาร้องไห้มีเนื้อที่กว้าง 2,107,681 ไร่
สาเหตุที่ทุ่งกว้างแห่งนี้ได้ชื่อว่าทุ่งกุลาร้องไห้นั้น ก็ด้วยมีเรื่องเล่ากันว่า พวกกุลาซึ่งเป็นพวกที่เดินทางค้าขายระหว่างเมืองต่างๆ ในสมัยโบราณได้ชื่อว่าเป็นนักต่อสู้ คือ มีความเข้มแข็งอดทนเป็นเยี่ยม แต่เมื่อพวกกุลาเดินทางมาถึงทุ่งนี้ ได้รับความทุกข์ยากเป็นอันมากถึงกับร้องไห้ เพราะตลอดทุ่งนี้ไม่มีน้ำหรือต้นไม้ใหญ่เลย ฤดูแล้งแผ่นดินก็แห้งแตกระแหง ปัจจุบันท้องทุ่งอันกว้างใหญ่นี้ได้รับการพัฒนาจากส่วนราชการและหน่วยงานต่างๆ บางแห่งก็ทำการเกษตรกรรม บางแห่งก็ใช้เป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์ ซึ่งนับแต่จะมีความอุดมสมบูรณ์ขึ้นเรื่อยๆ ศูนย์พัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้ห่างจากที่ว่าการอำเภอสุวรรณภูมิ 6 กิโลเมตร เลยกู่พระโกนาไปเล็กน้อย
สาเหตุที่ทุ่งกว้างแห่งนี้ได้ชื่อว่าทุ่งกุลาร้องไห้นั้น ก็ด้วยมีเรื่องเล่ากันว่า พวกกุลาซึ่งเป็นพวกที่เดินทางค้าขายระหว่างเมืองต่างๆ ในสมัยโบราณได้ชื่อว่าเป็นนักต่อสู้ คือ มีความเข้มแข็งอดทนเป็นเยี่ยม แต่เมื่อพวกกุลาเดินทางมาถึงทุ่งนี้ ได้รับความทุกข์ยากเป็นอันมากถึงกับร้องไห้ เพราะตลอดทุ่งนี้ไม่มีน้ำหรือต้นไม้ใหญ่เลย ฤดูแล้งแผ่นดินก็แห้งแตกระแหง ปัจจุบันท้องทุ่งอันกว้างใหญ่นี้ได้รับการพัฒนาจากส่วนราชการและหน่วยงานต่างๆ บางแห่งก็ทำการเกษตรกรรม บางแห่งก็ใช้เป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์ ซึ่งนับแต่จะมีความอุดมสมบูรณ์ขึ้นเรื่อยๆ ศูนย์พัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้ห่างจากที่ว่าการอำเภอสุวรรณภูมิ 6 กิโลเมตร เลยกู่พระโกนาไปเล็กน้อย
บึงเกลือ (บุ่งเกลือ)
อำเภอเสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ดบึงเกลือ (บุ่งเกลือ) อยู่ในเขตตำบลบึงเกลือ เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ริมบึงมีหาดทรายขาวสะอาดกว้างขวาง มีแพร้านอาหารบริการเป็นอาหารอีสาน อาหารตามสั่ง นักท่องเที่ยวนิยมมาพักผ่อนและเล่นกีฬาทางน้ำ
การเดินทาง จากอำเภอเมือง ไปตามทางหลวงหมายเลข 23 ผ่านอำเภอธวัชบุรีถึงอำเภอเสลภูมิเข้าทางหลวงหมายเลข 2259 ประมาณ 10 กิโลเมตร และเลี้ยวซ้าย 8 กิโลเมตร
การเดินทาง จากอำเภอเมือง ไปตามทางหลวงหมายเลข 23 ผ่านอำเภอธวัชบุรีถึงอำเภอเสลภูมิเข้าทางหลวงหมายเลข 2259 ประมาณ 10 กิโลเมตร และเลี้ยวซ้าย 8 กิโลเมตร
สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ร้อยเอ็ด
อำเภอเมือง จ.ร้อยเอ็ดสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ร้อยเอ็ด เป็นสวนสาธารณะกลางเมือง อยู่หน้าศาลากลางจังหวัด เปิดเมื่อปี พ.ศ. 2529 มีเนื้อที่ประมาณ 225 ไร่ ตกแต่งบริเวณด้วยไม้ดอกไม้ประดับนานาพันธุ์ และต้นไม้น้อยใหญ่เพื่อให้ความร่มรื่น จุดเด่นของสวนแห่งนี้อยู่ที่น้ำพุบริเวณใจกลางสวนที่พุ่งฉีดในระดับสูง มีหอนาฬิกากลางเมืองสวยเด่นเป็นสง่าแก่เมืองร้อยเอ็ด มีอาคารอ่านหนังสือไว้สำหรับบริการประชาชน สถานที่แห่งนี้ใช้เป็นสถานที่จัดงานเทศกาลและพิธีการต่างๆ ของจังหวัด เช่น งานปีใหม่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์
อำเภอหนองพอก จ.ร้อยเอ็ดเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์ ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอหนองพอก ครอบคุมดูแลพื้นที่ประมาณ 151,242 ไร่ หรือประมาณ 242 ตารางกิโลเมตร โดยสภาพพื้นที่จะเป็นเทือกเขาหินทรายสูงชันและสลับซับซ้อน ประกอบด้วยป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่าที่พบในพื้นที่ป่าแห่งนี้ ได้แก่ ไก่ฟ้าพญาลอ หมูป่า สุนัขจิ้งจอก เป็นต้น จุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจในบริเวณเขตห้ามล่าฯ คือ ผาพยอม ซึ่งเป็นจุดที่ใช้สำหรับชมพระอาทิตย์ขึ้น และผาน้ำทิพย์ซึ่งเป็นจุดที่ใช้ชมพระอาทิตย์ตกดิน
นอกจากนี้ยังมีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ 2 เส้นทาง ระยะทาง 2 กิโลเมตร และ 3 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถเดินเองได้ บริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์ มีบริการบ้านพักและสถานที่สำหรับกางเต็นท์ หากต้องการเข้าพักเป็นหมู่คณะ และต้องการเจ้าหน้าที่นำทางต้องทำหนังสือติดต่อล่วงหน้า ไปยังหัวหน้าสวนพฤกษศาสตร์และวรรณคดีตะวันออกเฉียงเหนือ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าผาน้ำทิพย์ ตู้ ปณ.1 ตำบลบึงงาม อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด 45210 สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0 9551 1782
การเดินทาง จากกรุงเทพฯ ถึงขอนแก่น ใช้ทางหลวงหมายเลข 2 จากขอนแก่น-หนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด ใช้ทางหลวงหมายเลข 2 จากอำเภอหนองพอกถึงบ้านท่าสะอาด ระยะทาง 9 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายจากบ้านท่าสะอาดถึงสำนักงานเขตห้ามล่าสัตว์ป่าผาน้ำทิพย์ 13 กิโลเมตร
นอกจากนี้ยังมีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ 2 เส้นทาง ระยะทาง 2 กิโลเมตร และ 3 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถเดินเองได้ บริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์ มีบริการบ้านพักและสถานที่สำหรับกางเต็นท์ หากต้องการเข้าพักเป็นหมู่คณะ และต้องการเจ้าหน้าที่นำทางต้องทำหนังสือติดต่อล่วงหน้า ไปยังหัวหน้าสวนพฤกษศาสตร์และวรรณคดีตะวันออกเฉียงเหนือ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าผาน้ำทิพย์ ตู้ ปณ.1 ตำบลบึงงาม อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด 45210 สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0 9551 1782
การเดินทาง จากกรุงเทพฯ ถึงขอนแก่น ใช้ทางหลวงหมายเลข 2 จากขอนแก่น-หนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด ใช้ทางหลวงหมายเลข 2 จากอำเภอหนองพอกถึงบ้านท่าสะอาด ระยะทาง 9 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายจากบ้านท่าสะอาดถึงสำนักงานเขตห้ามล่าสัตว์ป่าผาน้ำทิพย์ 13 กิโลเมตร
บ้านหวายหลึม
อำเภอธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ดบ้านหวายหลึม ตั้งอยู่ที่ตำบลมะบ้า อำเภอธวัชบุรี บนเส้นทางสายร้อยเอ็ด-ยโสธร บริเวณกิโลเมตรที่ 145-146 ห่างจากตัวเมืองร้อยเอ็ด 25 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านทอผ้าไหม มีการจัดตั้ง "กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต" เป็นศูนย์รวมและจำหน่ายผลิตภัณฑ์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)