อุทยานแห่งชาติผาแต้ม
อำเภอโขงเจียม จ.อุบลราชธานีได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2534 ครอบคลุมพื้นที่อำเภอโขงเจียม อำเภอศรีเมืองใหม่ และอำเภอโพธิ์ไทรมีพื้นที่ติดกับประเทศลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นแบ่งพรมแดน มีพื้นที่ประมาณ 140 ตารางกิโลเมตร สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงและเนินเขา มีหน้าผาสูงชันซึ่งเกิดจากการแยกตัวของผิวโลก สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าเต็งรัง มีหินทรายลักษณะแปลกตากระจายอยู่ทั่วบริเวณ มีพันธุ์ไม้ดอกที่สวยงามขึ้นอยู่ตามลานหิน การเดินทางจากอำเภอโขงเจียมใช้เส้นทาง 2134 ต่อด้วยเส้นทาง 2112 แล้วแยกขวาไปผาแต้มอีกราว 5 กิโลเมตร รวมระยะทางจากโขงเจียมประมาณ 18 กิโลเมตร สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ ได้แก่
เสาเฉลียง อยู่ก่อนถึงผาแต้มประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นเสาหินธรรมชาติที่เกิดจากการกัดเซาะของน้ำและลมนับล้านปี มีลักษณะคล้ายดอกเห็ดเรียงรายกันอยู่มากมาย ซึ่งหินดังกล่าวจะปรากฏเห็นซากเปลือกหอย กรวด ทราย อยู่ในเนื้อหิน ซึ่งนักธรณีวิทยาสันนิษฐานว่า เมื่อประมาณล้านกว่าปีมาแล้ว บริเวณนี้คงจะเป็นทะเลมาก่อน ชาวบ้านบริเวณนี้เรียกเสาหินที่คล้ายดอกเห็ดนี้ว่า “เสาเฉลียง” ซึ่งแผลงมาจากคำว่า “สะเลียง” ที่หมายถึง “เสาหิน”
ผาแต้มและผาขาม เป็นหน้าผาสูงที่สวยงามตามธรรมชาติ บริเวณด้านล่างของหน้าผามีภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ปรากฏเรียงรายอยู่เป็นระยะ มีอายุไม่ต่ำกว่าสามพันถึงสี่พันปี ทางอุทยานฯ ได้ทำทางเดินจากหน้าผาด้านบนลงไปชมภาพเขียนสีเหล่านี้ที่หน้าผาด้านล่าง ระยะทางประมาณ 500 เมตร ภาพเขียนจะอยู่บนผนังหน้าผายาวติดต่อกันประมาณ 170 เมตร ซึ่งเป็นมุมต่ำกว่า 90 องศา มีภาพทั้งหมดประมาณ 300 ภาพ แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ สัตว์ เครื่องมือเครื่องใช้ สัญลักษณ์ และคน ด้านตรงข้ามผาแต้มคือ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวโดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นพรมแดนทำให้ผาแต้ม เป็นจุดชมวิวที่สวยงามโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจจะชมพระอาทิตย์ขึ้นก่อนที่แห่งใดในประเทศไทย เช่นเดียวกันกับที่หมู่บ้านเวินบึกที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ไม่ไกลจากบริเวณแม่น้ำสองสีมากนัก ซึ่งทุกวันนี้จะมีนักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไปท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก
ถ้ำมืด ตั้งอยู่ที่บ้านซะซอม ตามทางหลวงหมายเลข 2112 เลี้ยวซ้ายไปทางบ้านทุ่งนาเมือง ประมาณ 15 กิโลเมตร เป็นถ้ำขนาดกว้าง 4 เมตร สูง 6 เมตร ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปไม้แกะสลักเรียงรายกันมากมาย แสดงว่าคงจะเคยใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนามาก่อน
น้ำตกสร้อยสวรรค์ ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 2112 ห่างจากตัวอำเภอโขงเจียมประมาณ 30 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่เกิดจากลำธาร 2 สายคือห้วยสร้อยและห้วยไผ่ที่ไหลจากหน้าผาคนละมาบรรจบกันซึ่งสูงประมาณ 20 เมตร มองดูคล้ายสร้อยที่แขวนคอ บริเวณน้ำตกเต็มไปด้วยต้นไม้และดอกไม้นานาพรรณมีมากในช่วงปลายฝนต้นหนาว น้ำตกสร้อยสวรรค์จะสวยงามมากในช่วงปลายฤดูฝนเช่นเดียวกับน้ำตกอื่น ๆ ในบริเวณนี้
น้ำตกทุ่งนาเมือง ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 2112 ห่างจากน้ำตกสร้อยสวรรค์ ประมาณ 13 กิโลเมตร โดยมีทางแยกขวาจากบ้านนาโพธิ์กลางไป 10 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดกลางที่มีความสวยงาม ไหลลดหลั่นลงมาตามโขดหิน ชั้นบนสูงสุดประมาณ 25 เมตร บริเวณโดยรอบมีดอกไม้ต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะในเดือนตุลาคม-ธันวาคม
น้ำตกแสงจันทร์ (น้ำตกรู) ก่อนถึงน้ำตกทุ่งนาเมือง 1 กิโลเมตร มีทางแยกขวาที่บ้านทุ่งนาเมืองไปน้ำตกแสงจันทร์ประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่มีความสวยงามและมีลักษณะพิเศษ เกิดจากลำห้วยเล็ก ๆ บนลานหินไหลลอดผ่านหน้าผาหินที่มีลักษณะเป็นรูลงสู่เพิงผาด้านล่าง หากเดินทางมาชมตอนช่วงเที่ยงวัน ซึ่งแสงอาทิตย์ลอดผ่านรูพอดีจะมองเห็นสายน้ำตกเหมือนแสงจันทร์
ป่าดงนาทาม อยู่ในบริเวณภูนาทามทางตอนเหนือของอุทยานฯ ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 36 กิโลเมตร การท่องเที่ยวที่ป่าดงนาทามเป็นลักษณะการเดินป่าชมธรรมชาติป่าไม้ ภูผาและแม่น้ำโขง ซึ่งจุดที่น่าสนใจได้แก่ ลานหิน พลานถ้ำไฮ เสาเฉลียงคู่ สนสองใบ น้ำตกห้วยพอก ผาชนะได (จุดชมพระอาทิตย์ขึ้นก่อนใครในสยาม) ผากำปั่น ผาหินแตก น้ำตกกวางโตน หินโยกมหัศจรรย์ (มีน้ำหนัก 50 ตันแต่โยกได้ด้วยคนเดียว) ภูจ้อมก้อม ถ้ำปาติหารย์ ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ตามหลืบผา เป็นต้น
สำหรับการท่องเที่ยวตามฤดูกาลต่าง ๆ ในช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน จะเหมาะในการชมดอกไม้ตามลานหินเช่น เช่น หยาดน้ำค้าง แดงอุบล เอนอ้า เหลืองพิสมร และทุ่งดอกไม้ชื่อพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้แก่ ดุสิตา สร้อยสุวรรณา มณีเทวา ทิพเกสร สรัสจันทร เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี น้ำตกที่มีน้ำมากช่วงกันยายนถึงธันวาคมและทะเลหมอกริมโขง ส่วนในช่วงเดือนฤดูแล้งมกราคม-มีนาคม จะเหมาะในการชมป่าไม้เปลี่ยนสี ดอกไม้หน้าแล้ง อาทิ ต้นรัง ตะแบกเลือด พุดผา ช้างน้าว และล่องเรือชมทิวทัศน์สองฝั่งลำน้ำโขงระหว่างบ้านปากลา-คันท่าเกวียน
นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดการเดินป่าดงนาทามได้ที่ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติผาแต้ม หรือที่อบต.นาโพธิ์กลาง (โทร. 0 4538 1063)
วัดภูอานนท์ อยู่ทางทิศเหนือของบ้านซะซอม ห่างจากถนนหมายเลข 2112 ที่บ้านนาโพธิ์กลาง ประมาณ 10 กิโลเมตร รถยนต์เข้าถึงสะดวก ภายในบริเวณวัดมีสภาพธรรมชาติที่น่าสนใจ เช่น ลานหิน รอยเท้าใหญ่ ตุ่มหินธรรมชาติ ภาพเขียนสีศิลปะถ้ำ เป็นต้น เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวชมธรรมชาติในช่วงสั้นๆ
อุทยานแห่งชาติผาแต้ม ยังไม่มีบริการบ้านพักสำหรับนักท่องเที่ยว ผู้ประสงค์จะค้างแรมในเขตอุทยานแห่งชาติผาแต้ม ต้องเตรียมอุปกรณ์การพักแรมมาเอง และต้องกางเต็นท์ในที่ซึ่งอุทยานฯ จัดเตรียมไว้ให้ นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อได้ที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม ตู้ปณ. 5 อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี 34220 โทร. 0 4524 9780 ,0 4524 6332 หรือ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรุงเทพฯ โทร. 0 2562 0760 www.dnp.go.th
เสาเฉลียง อยู่ก่อนถึงผาแต้มประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นเสาหินธรรมชาติที่เกิดจากการกัดเซาะของน้ำและลมนับล้านปี มีลักษณะคล้ายดอกเห็ดเรียงรายกันอยู่มากมาย ซึ่งหินดังกล่าวจะปรากฏเห็นซากเปลือกหอย กรวด ทราย อยู่ในเนื้อหิน ซึ่งนักธรณีวิทยาสันนิษฐานว่า เมื่อประมาณล้านกว่าปีมาแล้ว บริเวณนี้คงจะเป็นทะเลมาก่อน ชาวบ้านบริเวณนี้เรียกเสาหินที่คล้ายดอกเห็ดนี้ว่า “เสาเฉลียง” ซึ่งแผลงมาจากคำว่า “สะเลียง” ที่หมายถึง “เสาหิน”
ผาแต้มและผาขาม เป็นหน้าผาสูงที่สวยงามตามธรรมชาติ บริเวณด้านล่างของหน้าผามีภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ปรากฏเรียงรายอยู่เป็นระยะ มีอายุไม่ต่ำกว่าสามพันถึงสี่พันปี ทางอุทยานฯ ได้ทำทางเดินจากหน้าผาด้านบนลงไปชมภาพเขียนสีเหล่านี้ที่หน้าผาด้านล่าง ระยะทางประมาณ 500 เมตร ภาพเขียนจะอยู่บนผนังหน้าผายาวติดต่อกันประมาณ 170 เมตร ซึ่งเป็นมุมต่ำกว่า 90 องศา มีภาพทั้งหมดประมาณ 300 ภาพ แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ สัตว์ เครื่องมือเครื่องใช้ สัญลักษณ์ และคน ด้านตรงข้ามผาแต้มคือ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวโดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นพรมแดนทำให้ผาแต้ม เป็นจุดชมวิวที่สวยงามโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจจะชมพระอาทิตย์ขึ้นก่อนที่แห่งใดในประเทศไทย เช่นเดียวกันกับที่หมู่บ้านเวินบึกที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ไม่ไกลจากบริเวณแม่น้ำสองสีมากนัก ซึ่งทุกวันนี้จะมีนักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไปท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก
ถ้ำมืด ตั้งอยู่ที่บ้านซะซอม ตามทางหลวงหมายเลข 2112 เลี้ยวซ้ายไปทางบ้านทุ่งนาเมือง ประมาณ 15 กิโลเมตร เป็นถ้ำขนาดกว้าง 4 เมตร สูง 6 เมตร ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปไม้แกะสลักเรียงรายกันมากมาย แสดงว่าคงจะเคยใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนามาก่อน
น้ำตกสร้อยสวรรค์ ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 2112 ห่างจากตัวอำเภอโขงเจียมประมาณ 30 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่เกิดจากลำธาร 2 สายคือห้วยสร้อยและห้วยไผ่ที่ไหลจากหน้าผาคนละมาบรรจบกันซึ่งสูงประมาณ 20 เมตร มองดูคล้ายสร้อยที่แขวนคอ บริเวณน้ำตกเต็มไปด้วยต้นไม้และดอกไม้นานาพรรณมีมากในช่วงปลายฝนต้นหนาว น้ำตกสร้อยสวรรค์จะสวยงามมากในช่วงปลายฤดูฝนเช่นเดียวกับน้ำตกอื่น ๆ ในบริเวณนี้
น้ำตกทุ่งนาเมือง ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 2112 ห่างจากน้ำตกสร้อยสวรรค์ ประมาณ 13 กิโลเมตร โดยมีทางแยกขวาจากบ้านนาโพธิ์กลางไป 10 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดกลางที่มีความสวยงาม ไหลลดหลั่นลงมาตามโขดหิน ชั้นบนสูงสุดประมาณ 25 เมตร บริเวณโดยรอบมีดอกไม้ต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะในเดือนตุลาคม-ธันวาคม
น้ำตกแสงจันทร์ (น้ำตกรู) ก่อนถึงน้ำตกทุ่งนาเมือง 1 กิโลเมตร มีทางแยกขวาที่บ้านทุ่งนาเมืองไปน้ำตกแสงจันทร์ประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่มีความสวยงามและมีลักษณะพิเศษ เกิดจากลำห้วยเล็ก ๆ บนลานหินไหลลอดผ่านหน้าผาหินที่มีลักษณะเป็นรูลงสู่เพิงผาด้านล่าง หากเดินทางมาชมตอนช่วงเที่ยงวัน ซึ่งแสงอาทิตย์ลอดผ่านรูพอดีจะมองเห็นสายน้ำตกเหมือนแสงจันทร์
ป่าดงนาทาม อยู่ในบริเวณภูนาทามทางตอนเหนือของอุทยานฯ ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 36 กิโลเมตร การท่องเที่ยวที่ป่าดงนาทามเป็นลักษณะการเดินป่าชมธรรมชาติป่าไม้ ภูผาและแม่น้ำโขง ซึ่งจุดที่น่าสนใจได้แก่ ลานหิน พลานถ้ำไฮ เสาเฉลียงคู่ สนสองใบ น้ำตกห้วยพอก ผาชนะได (จุดชมพระอาทิตย์ขึ้นก่อนใครในสยาม) ผากำปั่น ผาหินแตก น้ำตกกวางโตน หินโยกมหัศจรรย์ (มีน้ำหนัก 50 ตันแต่โยกได้ด้วยคนเดียว) ภูจ้อมก้อม ถ้ำปาติหารย์ ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ตามหลืบผา เป็นต้น
สำหรับการท่องเที่ยวตามฤดูกาลต่าง ๆ ในช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน จะเหมาะในการชมดอกไม้ตามลานหินเช่น เช่น หยาดน้ำค้าง แดงอุบล เอนอ้า เหลืองพิสมร และทุ่งดอกไม้ชื่อพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้แก่ ดุสิตา สร้อยสุวรรณา มณีเทวา ทิพเกสร สรัสจันทร เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี น้ำตกที่มีน้ำมากช่วงกันยายนถึงธันวาคมและทะเลหมอกริมโขง ส่วนในช่วงเดือนฤดูแล้งมกราคม-มีนาคม จะเหมาะในการชมป่าไม้เปลี่ยนสี ดอกไม้หน้าแล้ง อาทิ ต้นรัง ตะแบกเลือด พุดผา ช้างน้าว และล่องเรือชมทิวทัศน์สองฝั่งลำน้ำโขงระหว่างบ้านปากลา-คันท่าเกวียน
นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดการเดินป่าดงนาทามได้ที่ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติผาแต้ม หรือที่อบต.นาโพธิ์กลาง (โทร. 0 4538 1063)
วัดภูอานนท์ อยู่ทางทิศเหนือของบ้านซะซอม ห่างจากถนนหมายเลข 2112 ที่บ้านนาโพธิ์กลาง ประมาณ 10 กิโลเมตร รถยนต์เข้าถึงสะดวก ภายในบริเวณวัดมีสภาพธรรมชาติที่น่าสนใจ เช่น ลานหิน รอยเท้าใหญ่ ตุ่มหินธรรมชาติ ภาพเขียนสีศิลปะถ้ำ เป็นต้น เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวชมธรรมชาติในช่วงสั้นๆ
อุทยานแห่งชาติผาแต้ม ยังไม่มีบริการบ้านพักสำหรับนักท่องเที่ยว ผู้ประสงค์จะค้างแรมในเขตอุทยานแห่งชาติผาแต้ม ต้องเตรียมอุปกรณ์การพักแรมมาเอง และต้องกางเต็นท์ในที่ซึ่งอุทยานฯ จัดเตรียมไว้ให้ นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อได้ที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม ตู้ปณ. 5 อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี 34220 โทร. 0 4524 9780 ,0 4524 6332 หรือ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรุงเทพฯ โทร. 0 2562 0760 www.dnp.go.th
อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ
อำเภอสิรินธร จ.อุบลราชธานีอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ มีพื้นที่ประมาณ 50,000 ไร่ ในเขตอำเภอสิรินธรและอำเภอโขงเจียม ภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงและเนินเขาเตี้ยๆ สภาพป่าทั่วไปเป็นป่าแพะหรือป่าแดง ต้นไม้ในป่ามีลักษณะแคระแกรน บางส่วนเป็นทุ่งหญ้า ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2524 ที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำมูลบริเวณแก่งตะนะ การเดินทางสามารถไปได้สองเส้นทางคือ ใช้ทางหลวงหมายเลข 217 (อุบลราชธานี-พิบูลมังสาหาร-ช่องเม็ก ประมาณ 75 กิโลเมตร) แล้วแยกซ้ายไปตามเส้นทาง 2173 อีก 13 กิโลเมตร ส่วนอีกเส้นทางหนึ่งคือใช้ทางหลวงหมายเลข 2222 ผ่านอ.โขงเจียมประมาณ 4 กิโลเมตร แล้วข้ามแม่น้ำมูลไปอีก 12 กิโลเมตร หรืออาจใช้เส้นทางที่ข้ามสันเขื่อนปากมูลก็ได้(กรณีที่เขื่อนเปิด) ในเขตอุทยานฯ มีสถานที่ท่องเที่ยวดังนี้
ดอนตะนะ เป็นดอนหรือเกาะที่เกิดขวางแม่น้ำมูล มีความกว้างประมาณ 450 เมตร ยาวประมาณ 700 เมตร มีสะพานแขวนทอดข้ามทั้ง 2 ด้านของเกาะทางตอนเหนือของดอนตะนะมีหาดทรายเหมาะแก่การพักผ่อน บนดอนตะนะยังมีป่าอยู่ทั่วไปเป็นสภาพป่าดงดิบแล้งมีต้นไม้ใหญ่ให้ความร่มรื่น ในช่วงเช้าและช่วงเย็นจะมีการทำประมงของชาวบ้านรอบๆเกาะ
แก่งตะนะ เป็นแก่งกลางลำน้ำมูลที่ใหญ่ที่สุด กลางแก่งตะนะมีโขดหินมหึมาเป็นเกาะกลางลำน้ำมูล ที่เกิดจากลำน้ำมูลทั้งสองสายที่เชี่ยวกรากและจะกัดเซาะลงในแนวหินสูงประมาณ 1 เมตร ถ้าสังเกตเกาะกลางแก่งตะนะจะเห็นสิ่งก่อสร้างรูปสี่เหลี่ยม ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยฝรั่งเศสยังล่าอาณานิคม เพื่อใช้เป็นเครื่องชี้ร่องน้ำในการเดินเรือ นอกจากนี้ยังมีโพรงถ้ำใต้น้ำหลายแห่งจึงทำให้มีปลามาอาศัยบริเวณแก่งตะนะชุกชุม ช่วงที่เหมาะในการไปเที่ยวคือเดือนมกราคม-พฤษภาคม จุดชมวิวแก่งตะนะที่บริเวณที่ทำการอุทยานฯ นอกจากนี้ยังมีจุดชมวิวแก่งตะนะฝั่งซ้าย (อีกด้านหนึ่งของแม่น้ำมูล) ที่บริเวณทางไปถ้ำเหวสินธุ์ชัย
สะพานแขวน เป็นสะพานที่เชื่อมจากฝั่งแม่น้ำมูลดอนตะนะ โครงสร้างเป็นเหล็กยึดโยงด้วยลวดสลิงขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นจุดชมวิวสองฟากฝั่งของแม่น้ำมูลเหนือแก่งตะนะ และใช้เดินข้ามเข้าไปชมธรรมชาติบนดอนตะนะได้อย่างเพลิดเพลิน
ถ้ำพระหรือถ้ำภูหมาใน เป็นชะง่อนผายื่นออกจากฝั่งแม่น้ำมูล อดีตเคยมีพระพุทธรูปทองคำ เงินและไม้เป็นจำนวนมากแต่ใน ปัจจุบันได้หายไปแล้วมีแท่นศิวลึงค์ (ฐานโยนี)และแนวอิฐซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างในราวศตวรรษที่ 12-13
ลานผาผึ้ง เป็นพลาญหินทรายและเป็นหน้าผาชันโดยหน้าผาจะหันหน้าสู่ด้านทิศตะวันออก เหมาะแก่การชมวิวช่วงพระอาทิตย์ขึ้นและสามารถมองวิวประเทศลาวได้ ลานผาผึ้งอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯประมาณ 1.5 กิโลเมตร รถยนต์เข้าถึง หรือจะเดินเท้าตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติเลียบฝั่งแม่น้ำมูลได้เช่นกัน
เส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกรากไทรอยู่บริเวณหน้าผาริมแม่น้ำมูล ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวประมาณ 500 เมตร มีเส้นทางเดินเลียบผาระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร ผ่านจุดชมพืชพันธุ์ ไลเคนส์ มอส เฟิร์น ถ้ำพระและน้ำตกรากไทร เหมาะสำหรับการเดินป่าชมธรรมชาติในช่วงเวลาสั้นๆ
น้ำตกตาดโตน ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 2173 ซึ่งแยกจากทางหลวงหมายเลข 217 เข้าไปประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามมากแห่งหนึ่ง เกิดจากลำห้วยตาดโตน ไหลผ่านลานหินแล้วตกลงสู่ที่ลุ่ม เกิดเป็นแอ่งน้ำสามารถลงเล่นน้ำได้ มีน้ำเย็นใสสะอาด บริเวณโดยรอบเป็นป่าไม้และดอกไม้นานาพรรณ
บริเวณที่ทำการอุทยานฯมีบ้านพักไว้บริการนักท่องเที่ยว รายละเอียดติดต่อกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรุงเทพฯ โทร. 0 2562 0760 หรือที่ทำการอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะโทร. 0 4524 9802, 0 4244 2002 www.dnp.go.th
ดอนตะนะ เป็นดอนหรือเกาะที่เกิดขวางแม่น้ำมูล มีความกว้างประมาณ 450 เมตร ยาวประมาณ 700 เมตร มีสะพานแขวนทอดข้ามทั้ง 2 ด้านของเกาะทางตอนเหนือของดอนตะนะมีหาดทรายเหมาะแก่การพักผ่อน บนดอนตะนะยังมีป่าอยู่ทั่วไปเป็นสภาพป่าดงดิบแล้งมีต้นไม้ใหญ่ให้ความร่มรื่น ในช่วงเช้าและช่วงเย็นจะมีการทำประมงของชาวบ้านรอบๆเกาะ
แก่งตะนะ เป็นแก่งกลางลำน้ำมูลที่ใหญ่ที่สุด กลางแก่งตะนะมีโขดหินมหึมาเป็นเกาะกลางลำน้ำมูล ที่เกิดจากลำน้ำมูลทั้งสองสายที่เชี่ยวกรากและจะกัดเซาะลงในแนวหินสูงประมาณ 1 เมตร ถ้าสังเกตเกาะกลางแก่งตะนะจะเห็นสิ่งก่อสร้างรูปสี่เหลี่ยม ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยฝรั่งเศสยังล่าอาณานิคม เพื่อใช้เป็นเครื่องชี้ร่องน้ำในการเดินเรือ นอกจากนี้ยังมีโพรงถ้ำใต้น้ำหลายแห่งจึงทำให้มีปลามาอาศัยบริเวณแก่งตะนะชุกชุม ช่วงที่เหมาะในการไปเที่ยวคือเดือนมกราคม-พฤษภาคม จุดชมวิวแก่งตะนะที่บริเวณที่ทำการอุทยานฯ นอกจากนี้ยังมีจุดชมวิวแก่งตะนะฝั่งซ้าย (อีกด้านหนึ่งของแม่น้ำมูล) ที่บริเวณทางไปถ้ำเหวสินธุ์ชัย
สะพานแขวน เป็นสะพานที่เชื่อมจากฝั่งแม่น้ำมูลดอนตะนะ โครงสร้างเป็นเหล็กยึดโยงด้วยลวดสลิงขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นจุดชมวิวสองฟากฝั่งของแม่น้ำมูลเหนือแก่งตะนะ และใช้เดินข้ามเข้าไปชมธรรมชาติบนดอนตะนะได้อย่างเพลิดเพลิน
ถ้ำพระหรือถ้ำภูหมาใน เป็นชะง่อนผายื่นออกจากฝั่งแม่น้ำมูล อดีตเคยมีพระพุทธรูปทองคำ เงินและไม้เป็นจำนวนมากแต่ใน ปัจจุบันได้หายไปแล้วมีแท่นศิวลึงค์ (ฐานโยนี)และแนวอิฐซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างในราวศตวรรษที่ 12-13
ลานผาผึ้ง เป็นพลาญหินทรายและเป็นหน้าผาชันโดยหน้าผาจะหันหน้าสู่ด้านทิศตะวันออก เหมาะแก่การชมวิวช่วงพระอาทิตย์ขึ้นและสามารถมองวิวประเทศลาวได้ ลานผาผึ้งอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯประมาณ 1.5 กิโลเมตร รถยนต์เข้าถึง หรือจะเดินเท้าตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติเลียบฝั่งแม่น้ำมูลได้เช่นกัน
เส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกรากไทรอยู่บริเวณหน้าผาริมแม่น้ำมูล ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวประมาณ 500 เมตร มีเส้นทางเดินเลียบผาระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร ผ่านจุดชมพืชพันธุ์ ไลเคนส์ มอส เฟิร์น ถ้ำพระและน้ำตกรากไทร เหมาะสำหรับการเดินป่าชมธรรมชาติในช่วงเวลาสั้นๆ
น้ำตกตาดโตน ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 2173 ซึ่งแยกจากทางหลวงหมายเลข 217 เข้าไปประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามมากแห่งหนึ่ง เกิดจากลำห้วยตาดโตน ไหลผ่านลานหินแล้วตกลงสู่ที่ลุ่ม เกิดเป็นแอ่งน้ำสามารถลงเล่นน้ำได้ มีน้ำเย็นใสสะอาด บริเวณโดยรอบเป็นป่าไม้และดอกไม้นานาพรรณ
บริเวณที่ทำการอุทยานฯมีบ้านพักไว้บริการนักท่องเที่ยว รายละเอียดติดต่อกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรุงเทพฯ โทร. 0 2562 0760 หรือที่ทำการอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะโทร. 0 4524 9802, 0 4244 2002 www.dnp.go.th
อุทยานแห่งชาติภูจอง-นายอย
อำเภอนาจะหลวย จ.อุบลราชธานีอุทยานแห่งชาติภูจอง-นายอย มีพื้นที่ประมาณ 686 ตารางกิโลเมตร ในเขตอำเภอบุณฑริก อำเภอนาจะหลวย และอำเภอน้ำยืน มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชาหรือที่เรียกว่า สามเหลี่ยมมรกต พื้นที่เป็นภูเขาในเทือกเขาพนมดงรัก สภาพป่ามีความอุดมสมบูรณ์ ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2530
สถานที่น่าสนใจในอุทยานได้แก่
น้ำตกห้วยหลวง(ถ้ำบักเตว) อยู่เลยที่ทำการอุทยานฯไปทางใต้ 3.5 กิโลเมตร รถยนต์เข้าถึงได้ เป็นน้ำตกสูงประมาณ 50 เมตร ตกลงสู่หุบเขาที่มีลักษณะเป็นอ่างน้ำขนาดเล็ก มีหาดทรายขาวและน้ำเป็นสีมรกตงดงามมาก มีบันไดประมาณสองร้อยกว่าขั้น นักท่องเที่ยวสามารถลงไปชมวิวบริเวณด้านล่างได้ ช่วงที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวคือระหว่างเดือนกันยายน-กุมภาพันธ์ นอกจากนี้ ยังมีทางเดินเท้าจากน้ำตกห้วยหลวง ไปยังน้ำตกจุ๋มจิ๋ม หรือน้ำตกประโอนละออ ซึ่งเกิดจากสายน้ำที่ไหลลดระดับจากน้ำตกห้วยหลวง
สวนหินพลานยาว เป็นกลุ่มหินรูปร่างแปลกตา ตั้งกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปเป็นบริเวณกว้าง
น้ำตกเกิ้งแม่พอง อยู่ห่างจากน้ำตกห้วยหลวงไปทางใต้ประมาณ 9 กิโลเมตร ตามทางเดินป่า เป็นน้ำตกที่เกิดจากลำโดมน้อย
แก่งศิลาทิพย์ เป็นแก่งขนาดใหญ่ ห่างจากที่ทำการประมาณ 3 กิโลเมตร เกิดจากลำธารห้วยหลวงไหลผ่านลานหินทราย ผ่านแก่งหินหักลงเป็นขั้น จนเกิดเป็นน้ำตกขนาดเล็ก บริเวณลานหินกลางลำธาร เกิดปรากฎการณ์ “กุมภลักษณ์” คือ หินเกิดเป็นช่องหลุมรูกลมขนาดเล็กใหญ่ ตื้นลึกแตกต่างกันไป ตามความแรงของสายน้ำ ดูสวยงามแปลกตา
พลาญกงเกวียน ลานหินกว้างที่ด้านหน้ามีกลุ่มหินลักษณะเป็นเพิงตามธรรมชาติ มีดอกไม้ป่าและพันธุ์ไม้ขึ้นสลับกันเป็นหย่อมๆและนักเดินทางในอดีตได้ใช้ ประโยชน์จากเพิงหินเหล่านี้ในการกำบังแดดและฝนในระหว่างการเดินทาง จึงเป็นที่มาของชื่อ “พลาญกงเกวียน” พลาญ หมายถึง บริเวณที่เป็นลานกว้าง กงเกวียน เพี้ยนมาจาก พวงเกวียนที่หมายถึง ประทุนเกวียนหรือกระทุนเกวียนที่เป็นสิ่งกำบังแดดบนเล่มเกวียนหรือกระทุน เกวียนที่เป็นสิ่งกำบังแดดบนเล่มเกวียนที่ใช้เป็นพาหนะในการเดินทางในสมัย โบราณ
แก่งสามพันปีและแก่งกะเลา อยู่เลยที่ทำการอุทยานฯ ไปทางทิศใต้ 4 กิโลเมตร รถยนต์เข้าถึง เป็นจุดชมพืชพันธุ์ ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง
แก่งลำดวน อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม บนทางหลวงหมายเลข 2248 (น้ำยืน-นาจะหลวย) ห่างจากอำเภอน้ำยืน 14 กิโลเมตร ถึงบ้านหนองบอน มีทางแยกขวาไปอีก 2.6 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่ไหลมาตามธารหิน ซึ่งมีต้นไม้ร่มรื่นโดยเฉพาะต้นลำดวนซึ่งมีอยู่มากในบริเวณนี้ สามารถลงเล่นน้ำได้ มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติผ่านถ้ำและแก่งต่าง ๆ
ภูหินด่าง เป็นจุดชมวิวบนหน้าผาสูงมองเห็นทัศนียภาพป่าในเขตประเทศลาวและกัมพูชาซึ่ง อยู่เบื้องล่าง ตามลานหินมีลักษณะทางธรณีวิทยาที่แปลกจากแหล่งอื่นๆคือบนผนังหน้าผาที่เว้า เข้ามานั้นมีปื้นสีชมพูบ้าง แดงบ้างคล้ายใครเอาสีไปป้ายทาไว้ เป็นภาพจิตรกรรมโดยธรรมชาติที่สวยงาม ซึ่งนักธรณีวิทยาอธิบายว่าเป็นหลักฐานบ่งบอกถึงสภาพอากาศที่แห้งแล้วเมื่อ ประมาณหลายร้อยล้านปี จึงส่งผลให้มีการตกตะกอนของแร่ธาตุบางอย่างในน้ำทะเลก่อให้เกิดลักษณะทาง ธรณีวิทยาเช่นนี้ นอกจากนี้ยังมีทะเลหมอกในช่วงฤดูหนาว
การเดินทางใช้เส้นทางหมายเลข 2248 (บุณฑริก-นาจะหลวย) จากอำเภอบุณฑริกประมาณ 15 กิโลเมตร ผ่านบ้านหนองเม็กไปจนถึงแซลำดวน ซึ่งเป็นจุดจอดรถแล้วเดินเท้าไปอีก 2 กิโลเมตร
สถานที่น่าสนใจในอุทยานได้แก่
น้ำตกห้วยหลวง(ถ้ำบักเตว) อยู่เลยที่ทำการอุทยานฯไปทางใต้ 3.5 กิโลเมตร รถยนต์เข้าถึงได้ เป็นน้ำตกสูงประมาณ 50 เมตร ตกลงสู่หุบเขาที่มีลักษณะเป็นอ่างน้ำขนาดเล็ก มีหาดทรายขาวและน้ำเป็นสีมรกตงดงามมาก มีบันไดประมาณสองร้อยกว่าขั้น นักท่องเที่ยวสามารถลงไปชมวิวบริเวณด้านล่างได้ ช่วงที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวคือระหว่างเดือนกันยายน-กุมภาพันธ์ นอกจากนี้ ยังมีทางเดินเท้าจากน้ำตกห้วยหลวง ไปยังน้ำตกจุ๋มจิ๋ม หรือน้ำตกประโอนละออ ซึ่งเกิดจากสายน้ำที่ไหลลดระดับจากน้ำตกห้วยหลวง
สวนหินพลานยาว เป็นกลุ่มหินรูปร่างแปลกตา ตั้งกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปเป็นบริเวณกว้าง
น้ำตกเกิ้งแม่พอง อยู่ห่างจากน้ำตกห้วยหลวงไปทางใต้ประมาณ 9 กิโลเมตร ตามทางเดินป่า เป็นน้ำตกที่เกิดจากลำโดมน้อย
แก่งศิลาทิพย์ เป็นแก่งขนาดใหญ่ ห่างจากที่ทำการประมาณ 3 กิโลเมตร เกิดจากลำธารห้วยหลวงไหลผ่านลานหินทราย ผ่านแก่งหินหักลงเป็นขั้น จนเกิดเป็นน้ำตกขนาดเล็ก บริเวณลานหินกลางลำธาร เกิดปรากฎการณ์ “กุมภลักษณ์” คือ หินเกิดเป็นช่องหลุมรูกลมขนาดเล็กใหญ่ ตื้นลึกแตกต่างกันไป ตามความแรงของสายน้ำ ดูสวยงามแปลกตา
พลาญกงเกวียน ลานหินกว้างที่ด้านหน้ามีกลุ่มหินลักษณะเป็นเพิงตามธรรมชาติ มีดอกไม้ป่าและพันธุ์ไม้ขึ้นสลับกันเป็นหย่อมๆและนักเดินทางในอดีตได้ใช้ ประโยชน์จากเพิงหินเหล่านี้ในการกำบังแดดและฝนในระหว่างการเดินทาง จึงเป็นที่มาของชื่อ “พลาญกงเกวียน” พลาญ หมายถึง บริเวณที่เป็นลานกว้าง กงเกวียน เพี้ยนมาจาก พวงเกวียนที่หมายถึง ประทุนเกวียนหรือกระทุนเกวียนที่เป็นสิ่งกำบังแดดบนเล่มเกวียนหรือกระทุน เกวียนที่เป็นสิ่งกำบังแดดบนเล่มเกวียนที่ใช้เป็นพาหนะในการเดินทางในสมัย โบราณ
แก่งสามพันปีและแก่งกะเลา อยู่เลยที่ทำการอุทยานฯ ไปทางทิศใต้ 4 กิโลเมตร รถยนต์เข้าถึง เป็นจุดชมพืชพันธุ์ ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง
แก่งลำดวน อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม บนทางหลวงหมายเลข 2248 (น้ำยืน-นาจะหลวย) ห่างจากอำเภอน้ำยืน 14 กิโลเมตร ถึงบ้านหนองบอน มีทางแยกขวาไปอีก 2.6 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่ไหลมาตามธารหิน ซึ่งมีต้นไม้ร่มรื่นโดยเฉพาะต้นลำดวนซึ่งมีอยู่มากในบริเวณนี้ สามารถลงเล่นน้ำได้ มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติผ่านถ้ำและแก่งต่าง ๆ
ภูหินด่าง เป็นจุดชมวิวบนหน้าผาสูงมองเห็นทัศนียภาพป่าในเขตประเทศลาวและกัมพูชาซึ่ง อยู่เบื้องล่าง ตามลานหินมีลักษณะทางธรณีวิทยาที่แปลกจากแหล่งอื่นๆคือบนผนังหน้าผาที่เว้า เข้ามานั้นมีปื้นสีชมพูบ้าง แดงบ้างคล้ายใครเอาสีไปป้ายทาไว้ เป็นภาพจิตรกรรมโดยธรรมชาติที่สวยงาม ซึ่งนักธรณีวิทยาอธิบายว่าเป็นหลักฐานบ่งบอกถึงสภาพอากาศที่แห้งแล้วเมื่อ ประมาณหลายร้อยล้านปี จึงส่งผลให้มีการตกตะกอนของแร่ธาตุบางอย่างในน้ำทะเลก่อให้เกิดลักษณะทาง ธรณีวิทยาเช่นนี้ นอกจากนี้ยังมีทะเลหมอกในช่วงฤดูหนาว
การเดินทางใช้เส้นทางหมายเลข 2248 (บุณฑริก-นาจะหลวย) จากอำเภอบุณฑริกประมาณ 15 กิโลเมตร ผ่านบ้านหนองเม็กไปจนถึงแซลำดวน ซึ่งเป็นจุดจอดรถแล้วเดินเท้าไปอีก 2 กิโลเมตร
เขื่อนสิรินธร
อำเภอสิรินธร จ.อุบลราชธานีเขื่อนสิรินธร ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมือง 70 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 217 แยกขวาที่กิโลเมตร 71 ไปอีก 500 เมตร เป็นเขื่อนหินแกนดินเหนียว สร้างกั้นลำโดมน้อยอันเป็นสาขาของแม่น้ำมูล ตัวเขื่อนสูง 42 เมตร ยาว 940 เมตร อำนวยประโยชน์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าและการชลประทาน บริเวณริมทะเลสาบมีสวนสิรินธร ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ มีรูปปั้นและน้ำพุสวยงาม มีบริการบ้านพักสำหรับนักท่องเที่ยว ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โทร. 0 2436 6046-8 หรือ ที่เขื่อนสิรินธรโทร. 0 4536 6081-3
แก่งสะพือ
อำเภอพิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานีแก่งสะพือ เป็นแก่งหินที่สวยงามในแม่น้ำมูล ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิบูลมังสาหาร ห่างจากตัวเมืองอุบลราชธานี ตามทางหลวงหมายเลข 217 ประมาณ 45 กิโลเมตร คำว่า “สะพือ” เพี้ยนมาจากคำว่า “ซำฟืด” หรือ “ซำปึ้ด” ซึ่งเป็นภาษาส่วยแปลว่า งูใหญ่ หรืองูเหลือม เป็นแก่งที่มีหินน้อยใหญ่สลับซับซ้อน เมื่อกระแสน้ำไหลผ่านกระทบหิน เกิดเป็นฟองขาวมีเสียงดังตลอดเวลา ช่วงที่เหมาะสำหรับเที่ยวชมแก่งสะพือคือหน้าแล้ง ราวเดือนมกราคม-พฤษภาคม เพราะน้ำจะลดเห็นแก่งหินชัดเจนสวยงาม ส่วนหน้าฝนน้ำจะท่วมมองไม่เห็นแก่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เคยเสด็จพระราชดำเนินมาชมแก่งนี้ 2 ครั้ง ริมฝั่งแม่น้ำมีศาลาพักร้อน และร้านขายสินค้าพื้นเมือง ในวันหยุดมีประชาชนมาเที่ยวพักผ่อนกันเป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้แล้วในเดือนเมษายนของทุกปี ช่วงเทศกาลสงกรานต์ มีการจัดงานประเพณีสงกรานต์แก่งสะพือ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและประเพณีอันดีงามด้วย
นอกจากนี้แล้วในเดือนเมษายนของทุกปี ช่วงเทศกาลสงกรานต์ มีการจัดงานประเพณีสงกรานต์แก่งสะพือ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและประเพณีอันดีงามด้วย
แก่งสองคอน สามพันโบก
อำเภอโพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานีที่หมู่บ้านสองคอน ตำบลสองคอน อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี ชุมชนเล็ก ๆ สงบร่มรื่นฝั่งโขงด้านตะวันออกสุดสยาม เป็นจุดที่แม่น้ำโขงไหลพาดปะทะกับแนวเทือกเขาภูพานตอนปลาย การปะทะกันของพลังธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ ก่อให้เกิดภูมิประเทศที่มหัศจรรย์มากมาย ซึ่งจะสัมผัสได้ยามที่แม่น้ำโขงลดระดับลงได้ที่ในยามฤดูแล้งราวเดือนมกราคม-เมษายน
ปากบ้อง ซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำโขงแคบที่สุด ตลอดระยะทางยาวกว่า 700 กิโลเมตร โดยมีความกว้างของแม่น้ำเพียง 56 เมตร
หินหัวพะเนียง เกาะหินขนาดใหญ่กลางแม่น้ำโขง รูปลักษณ์แปลกตาที่ขนาบข้างด้วย 2 แก่งน้ำโขง ทำให้แม่น้ำโขงแยกออกเป็นสองสาย หรือสองคอนในภาษาท้องถิ่น จึงเป็นที่มาของชื่อ บ้านสองคอน
หาดหงส์ เนินทรายชายโขงขนาดมหึมา
หาดหินสี หลักศิลาเลข เป็นการวัดระดับน้ำโขงในสมัยฝรั่งเศส
ทุ่งหินเหลื่อม ทุ่งก้อนหินมันวาวราวกับเซรามิคธรรมชาติ
แก่งสองคอน สามพันโบก เป็นแก่งหินที่อยู่ใต้ลำน้ำโขง เนื่องจากในช่วงฤดูน้ำหลาก แก่งหินดังกล่าวจะจมอยู่ใต้บาดาล ด้วยแรงน้ำวนกัดเซาะ กลายเป็นแอ่งมากกว่า 3,000 แอ่ง หรือ 3,000 โบก และจะปรากฏให้เห็นในช่วงฤดูแล้ง
การเดินทางท่องเที่ยวทางเรือไปยังแก่งสามพันโบก นิยมนั่งเรือจากหาดสลึง ที่บ้านสองคอน ล่องตามลำน้ำโขงระยะทาง 4 กิโลเมตร ระหว่างทางจะผ่าน "ปากบ้อง" จุดแคบที่สุดของแม่น้ำโขง และ หินหัวพะเนียง เป็นแก่งหินกลางแม่น้ำที่ทำให้แม่น้ำโขงแยกออกเป็นสองสาย หรือสองคอนในภาษาท้องถิ่น จึงเป็นที่มาของชื่อ บ้านสองคอน
นอกจากนี้ยังมีสวนเกษตรลำไย และมะขามหวาน ให้ชิมตามฤดูกาล มีที่พักและร้านอาหารไทยและอีสาน ไว้รองรับนักท่องเที่ยวริมหาดสลึงหาดทรายยาวเหยียดอีกด้วย
การเดินทาง จากจังหวัดอุบลราชธานี ตามทางหลวงหมายเลข 2050 ผ่านอำเภอตระการพืชผล ไปยังอำเภอโพธิ์ไทร ด้วยระยะทางประมาณ 110 กิโลเมตร และเดินทางต่อไปยังบ้านสองคอนเข้าไปหมู่บ้านประมาณ 3 กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อบต. สองคอน อำเภอโพธิ์ไทร โทร. 0 4533 8057 , 0 4533 8015
ปากบ้อง ซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำโขงแคบที่สุด ตลอดระยะทางยาวกว่า 700 กิโลเมตร โดยมีความกว้างของแม่น้ำเพียง 56 เมตร
หินหัวพะเนียง เกาะหินขนาดใหญ่กลางแม่น้ำโขง รูปลักษณ์แปลกตาที่ขนาบข้างด้วย 2 แก่งน้ำโขง ทำให้แม่น้ำโขงแยกออกเป็นสองสาย หรือสองคอนในภาษาท้องถิ่น จึงเป็นที่มาของชื่อ บ้านสองคอน
หาดหงส์ เนินทรายชายโขงขนาดมหึมา
หาดหินสี หลักศิลาเลข เป็นการวัดระดับน้ำโขงในสมัยฝรั่งเศส
ทุ่งหินเหลื่อม ทุ่งก้อนหินมันวาวราวกับเซรามิคธรรมชาติ
แก่งสองคอน สามพันโบก เป็นแก่งหินที่อยู่ใต้ลำน้ำโขง เนื่องจากในช่วงฤดูน้ำหลาก แก่งหินดังกล่าวจะจมอยู่ใต้บาดาล ด้วยแรงน้ำวนกัดเซาะ กลายเป็นแอ่งมากกว่า 3,000 แอ่ง หรือ 3,000 โบก และจะปรากฏให้เห็นในช่วงฤดูแล้ง
การเดินทางท่องเที่ยวทางเรือไปยังแก่งสามพันโบก นิยมนั่งเรือจากหาดสลึง ที่บ้านสองคอน ล่องตามลำน้ำโขงระยะทาง 4 กิโลเมตร ระหว่างทางจะผ่าน "ปากบ้อง" จุดแคบที่สุดของแม่น้ำโขง และ หินหัวพะเนียง เป็นแก่งหินกลางแม่น้ำที่ทำให้แม่น้ำโขงแยกออกเป็นสองสาย หรือสองคอนในภาษาท้องถิ่น จึงเป็นที่มาของชื่อ บ้านสองคอน
นอกจากนี้ยังมีสวนเกษตรลำไย และมะขามหวาน ให้ชิมตามฤดูกาล มีที่พักและร้านอาหารไทยและอีสาน ไว้รองรับนักท่องเที่ยวริมหาดสลึงหาดทรายยาวเหยียดอีกด้วย
การเดินทาง จากจังหวัดอุบลราชธานี ตามทางหลวงหมายเลข 2050 ผ่านอำเภอตระการพืชผล ไปยังอำเภอโพธิ์ไทร ด้วยระยะทางประมาณ 110 กิโลเมตร และเดินทางต่อไปยังบ้านสองคอนเข้าไปหมู่บ้านประมาณ 3 กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อบต. สองคอน อำเภอโพธิ์ไทร โทร. 0 4533 8057 , 0 4533 8015
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น