ท่องเที่ยวเมืองสกลนคร
สกลนคร เป็นเมืองพุทธศาสน์ พระธาตุห้าแห่ง แหล่งอารยธรรมสามพันปี ตามตำนานเล่าว่า เมืองหนองหานหลวงในอดีต หรือสกลนครในปัจจุบันนั้น สร้างขึ้นเมื่อพุทธศตวรรษที่ 16 ในยุคที่ขอมมีอำนาจในดินแดนนี้ ต่อมาเมื่ออิทธิพลขอมเสื่อมลง เมืองหนองหานหลวงตกไปอยู่ในความปกครองของอาณาจักรล้านช้าง เรียกชื่อเมืองว่า “เมืองเชียงใหม่หนองหาน” และเมื่อมาอยู่ในความปกครองของไทย ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “เมืองสกลทวาปี” ต่อมา ในปี พ.ศ. 2373 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เปลี่ยนชื่อจากเมืองสกลทวาปี เป็น “เมืองสกลนคร” ในปัจจุบัน จังหวัดสกลนครยังได้รับการขนานนามว่าเป็น"แอ่งธรรมะแห่งอีสาน" ดังเห็นหลักฐานได้จากวัดวาอารามเก่าแก่ที่มีอยู่มากมาย แสดงถึงความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาที่มีมาตั้งแต่ครั้งอดีต เป็นถิ่นกำเนิดและพำนักของอริยสงฆ์ที่สำคัญเป็นที่เคารพบูชา ของชาวไทยหลายท่าน อาทิ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์วัน อุตตโม หลวงปู่หลุย จันทสาโร หลวงปู่เทสก์ เทสก์รังสี เป็นต้น
พระธาตุเชิงชุม
จังหวัดสกลนคร อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 647 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ 9,605 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 18 อำเภอ คือ อำเภอเมืองสกลนคร อำเภอกุสุมาลย์ อำเภอกุดบาก อำเภอ พรรณานิคม อำเภอวาริชภูมิ อำเภอส่องดาว อำเภอสว่างแดนดิน อำเภอวานรนิวาส อำเภออากาศอำนวย อำเภอบ้านม่วง อำเภอพังโคน อำเภอคำตากล้า อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอเต่างอย อำเภอโคกศรีสุพรรณ อำเภอเจริญศิลป์ อำเภอโพนนาแก้ว และอำเภอภูพาน
ประดิษฐานที่ววัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหารในเขตเทศบาลเมืองสกลนครเป็น เจดีย์ก่ออิฐถือปูนฐานรูปสี่เหลี่ยม สูงประมาณ 24 เมตร สวนบนเป็นทรงบัวสีเหลี่ยมยอดฉัตรทองคำภายในมีรอยพระพุทธบาทโดยมีตำนานเล่ากันมาว่า ตามประเพณีแล้วพระพุทธเจ้าทุกพระองค์จะต้องมาประชุมรอยพระพุทธบาท ณ ดินแดนแห่งนี้ นับตังแต่พระเจ้ากกุสันธะ โกนาคมนะ กัสสปะ และโคตมะ รวมกันเป็น 4 พระองค์ และนัยว่าพระพุทธเจ้าองค์ที่ 5 คือ "พระศรีอารยเมตไตรยพุทธเจ้า" ก็จะต้องมาประทับรอยพระบาท ณ ที่แห่งนี้ในอนาคตเช่นกัน นอกจากนี้ บริเวณใกล้เคียงกับองค์พระธาตุเชิงชุมยังเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อองค์แสนอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพนับถือและเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนในจังหวดสกลนคร งานนมัสการพระธาตุเชิงชุมจะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 9 ค่ำ ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนยี่ของทุกปี (ราวเดือนมกราคม) |
พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และเจดีย์ พิพิธภัณฑ์หลวงปู่หลุย จันทสาโร
สถานที่สำคัญทั้งสองแห่งตั้งอยู่ภายในวัดป่าสุทธาวาส เขตเทศบาลเมืองสกลนคร ซึ่งร่มรื่นด้วยแมกไม้นานาพรรณ ตัวอาคารพิพิธภัณฑ์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ก่อสร้างแบบสถาบัตยกรรมไทยประยุกต์ ที่ดูเรียบง่าย ภายในมีรูปหล่อพระอาจารย์มั่นในท่านั่งสมาธิ และอัฐิของท่านที่แปรสภาพเป็นผลึกใสสีขาวบรรจุอยู่ในตู้กระจก พร้อมเครื่องอัฐิบริขาร และเรื่องราวประวัติชีวิตของพระเกจิสายวิปัสนากรรมฐานท่าน ี้ตั้งแต่เกิดจนมาณภาพ
ส่วนเจดีย์พิพิธภัณฑ์หลวงปู่หลุย จันทสาโร หรือ "จันทรสาร เจติยานุสรณ์" สร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิธาตุของหลวงปู่หลุย จันทสาโร ศิษย์เอกของพระอาจารย์มั่น รูปแบบเจดีย์ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภายในเจดีย์มีหุ่นขี้ผึ้งรูปเหมือนหลวงปู่หลุย และเครื่องอัฐบริขารของท่าน พร้อมนิทรรศการทางพุทธศาสนาที่มีการติดตั้งโสตทัศนูปกรณ์ประกอบนิทรรศการอย่างครบถ้วน ทันสมัย สามารถปรับใช้เป็นสถานที่ให้ธรรมศึกษา ปฏิบัติสมาธิหรือกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็น พระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี
สถานที่สำคัญทั้งสองแห่งตั้งอยู่ภายในวัดป่าสุทธาวาส เขตเทศบาลเมืองสกลนคร ซึ่งร่มรื่นด้วยแมกไม้นานาพรรณ ตัวอาคารพิพิธภัณฑ์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ก่อสร้างแบบสถาบัตยกรรมไทยประยุกต์ ที่ดูเรียบง่าย ภายในมีรูปหล่อพระอาจารย์มั่นในท่านั่งสมาธิ และอัฐิของท่านที่แปรสภาพเป็นผลึกใสสีขาวบรรจุอยู่ในตู้กระจก พร้อมเครื่องอัฐิบริขาร และเรื่องราวประวัติชีวิตของพระเกจิสายวิปัสนากรรมฐานท่าน ี้ตั้งแต่เกิดจนมาณภาพ
ส่วนเจดีย์พิพิธภัณฑ์หลวงปู่หลุย จันทสาโร หรือ "จันทรสาร เจติยานุสรณ์" สร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิธาตุของหลวงปู่หลุย จันทสาโร ศิษย์เอกของพระอาจารย์มั่น รูปแบบเจดีย์ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภายในเจดีย์มีหุ่นขี้ผึ้งรูปเหมือนหลวงปู่หลุย และเครื่องอัฐบริขารของท่าน พร้อมนิทรรศการทางพุทธศาสนาที่มีการติดตั้งโสตทัศนูปกรณ์ประกอบนิทรรศการอย่างครบถ้วน ทันสมัย สามารถปรับใช้เป็นสถานที่ให้ธรรมศึกษา ปฏิบัติสมาธิหรือกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็น พระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี
พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
ตั้งอยู่ที่วัดป่าอุดมพร อำเภอพรรณานิคมห่างจากตัวจังหวัด ประมาณ 39 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 22 ( สกลนคร - อุดรธานี) พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เป็นพระเกจิสายวิปัสนากรรมฐาน ลูกศิษย์พระอาจารย์มั่น สำหรับตัวพิพิธภัณฑ์ทำเป็นรูปเจดีย์ฐานกลม แต่ละด้านก่อปูนเป็นรูปกลีบบัวซ้อนกันสามชั้น ภายในอาคารมีรูปปั้นพระอาจารย์ฝั้น ขนาดเท่าจริงตู้กระบรรจุอัฐิบริขารที่ท่านเคยใช้ รวมทั้งประวัติของท่านตั้งแต่เกิดจนมรณภาพ
ตั้งอยู่ที่วัดป่าอุดมพร อำเภอพรรณานิคมห่างจากตัวจังหวัด ประมาณ 39 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 22 ( สกลนคร - อุดรธานี) พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เป็นพระเกจิสายวิปัสนากรรมฐาน ลูกศิษย์พระอาจารย์มั่น สำหรับตัวพิพิธภัณฑ์ทำเป็นรูปเจดีย์ฐานกลม แต่ละด้านก่อปูนเป็นรูปกลีบบัวซ้อนกันสามชั้น ภายในอาคารมีรูปปั้นพระอาจารย์ฝั้น ขนาดเท่าจริงตู้กระบรรจุอัฐิบริขารที่ท่านเคยใช้ รวมทั้งประวัติของท่านตั้งแต่เกิดจนมรณภาพ
วัดอภัยดำรงธรรม
หรือวัดถ้ำพวง ตั้งอยู่บนยอดเขาจุดที่สูงที่สุดในเขตตำบลปทุมวาปี อำเภอส่งดาว ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 105 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 22 (สกลนคร-อุดรธานี) รถยนต์สามารถเข้าถึงบริเวณที่ตั้งวัดได้ ภายในวัดมีเจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์วัน อุตตโม ซึ่งเป็นพระเกจิสายวิปัสสนากรรมฐานที่มีชื่อเสียงอีกรูปหนึ่ง และบริเวณไม่ใกล้กันนัก เป็นที่ตั้งของสังเวชนียสถาน 4 ตำบล ที่จำลองถสานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า เพื่อให้ประชาชนได้กราบไหว้และรำลึกถึงพระพุทธคุณ
หรือวัดถ้ำพวง ตั้งอยู่บนยอดเขาจุดที่สูงที่สุดในเขตตำบลปทุมวาปี อำเภอส่งดาว ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 105 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 22 (สกลนคร-อุดรธานี) รถยนต์สามารถเข้าถึงบริเวณที่ตั้งวัดได้ ภายในวัดมีเจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์วัน อุตตโม ซึ่งเป็นพระเกจิสายวิปัสสนากรรมฐานที่มีชื่อเสียงอีกรูปหนึ่ง และบริเวณไม่ใกล้กันนัก เป็นที่ตั้งของสังเวชนียสถาน 4 ตำบล ที่จำลองถสานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า เพื่อให้ประชาชนได้กราบไหว้และรำลึกถึงพระพุทธคุณ
หนองหาน
เป็นทะเลสาบน้ำจืด ที่มีชื่อเสียง และกว้างใหญ่มากแห่งหนึ่งของประเทศไทย มีเนื้อที่ประมาณ 123 ตารางกิโลเมตร เป็นแหล่งรับน้ำตกของลำห้วยต่าง ๆ หลายสาย และยังเป็นต้นน้ำของลำน้ำก่ำซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม อำนวยประโยชน์ในด้านการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ การประมง ซึ่งเป็นอาชีพหลักของชาวบ้านในชุมชนรอบหนองหาน ระดับน้ำในหนองหานลึกประมาณ 3-8 เมตร ในบริเวณหนองหานมีเกาะต่าง ๆ กว่า 20 เกาะ เช่น เกาะดอนสวรรค์ ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุด บนเกาะมีวัดร้าง และพระพุทธรูปเก่าแก่ นอกจากนั้นตามเกาะต่าง ๆ เหล่านี้จะมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นอยู่มากมาย เป็นที่อยู่อาศัยของนกนานาชนิด บางเกาะได้สร้างศาลาพักร้อน เช่น เกาะแก้ว เกาะดอนสะคาม และเกาะดอนสะทุง ฯลฯ ซึ่งในเวลากลางวันสาหร่ายที่อยู่ใต้พื้นน้ำ เมื่อแดดส่องลงในน้ำจะเห็นสาหร่ายเป็นสีทอง
พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์
ตั้งอยู่กลางเทือกเขาภูพาน บนเส้นทางหลวงสายสกลนคร-กาฬสินธุ์ เส้นทางหลวงหมายเลข 213 ห่างจากตัวเมืองสกลนคร 13 กิโลเมตร มีทางแยกเข้าไปทางด้านขวามือ ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 2106 เป็นสถานที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ตลอดจนพระราชวงศ์ ในคราวเสด็จแปรพระราชฐานเยี่ยมพสกนิกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณสถานที่ตั้งเป็นป่าไม้ร่มรื่น มีไม้ดอกไม้ประดับตกแต่งไว้อย่างสวยงาม ในระหว่างที่ไม่ได้ประทับอยู่ที่พระตำหนัก อนุญาตให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมได้ทุกวัน โดยทำหนังสือถึงสำนักเลขาธิการพระราชวัง พระบรมมหาราชวัง ถนนหน้าพระลาน กรุงเทพฯ 10200 และเมื่อได้รับหนังสือตอบรับแล้วจึงจะเดินทางไปชมได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น