พุทธอุทยานและพระมงคลมิ่งเมือง
อำเภอเมือง จ.อำนาจเจริญวัดพระเหลาเทพนิมิตร
อำเภอพนา จ.อำนาจเจริญวัดถ้ำแสงเพชร
อำเภอเมือง จ.อำนาจเจริญศูนย์จำหน่ายหัตถกรรมบ้านคำพระ
อำเภอหัวตะพาน จ.อำนาจเจริญหมู่บ้านหมอลำ หนองปลาค้าว
อำเภอเมือง จ.อำนาจเจริญหมู่บ้านหมอลำ หนองปลาค้าว เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของอำนาจเจริญ ตั้งอยู่ที่ตำบลปลาค้าว อำเภอเมือง เป็นชุมชนที่ก่อตั้งมาประมาณ 200 ปี ประชากรมีเชื้อสายภูไท เป็นหมู่บ้านที่มีคณะหมอลำมากที่สุดในประเทศไทย ประมาณ 20 คณะ มีการอนุรักษ์ศิลปะหมอลำ การพัฒนา ประยุกต์หมอลำ เป็นหลายรูปแบบ เช่น หมอลำกลอน หมอลำพื้น หมอลำชิงชู้ หมอลำหมู่ หมอลำซิ่ง และหมอลำผสมวงดนตรี นำไปแสดงในงานต่าง ๆ เป็นที่เลื่องลือไปทั่วประเทศไทย จนกลายเป็นหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของตำบลปลาค้าว
ก่อนที่คณะหมอลำจะไปแสดงในงานต่าง ๆ จะมีพิธีไหว้ครูหมอลำ หรือที่เรียกว่าเปิดวง ซึ่งมีบุคลากรตั้งแต่ 80 – 200 คน แสดงให้ชมฟรีก่อนออกไปรับงาน หมอลำบ้านปลาค้าวสร้างรายได้เข้าสู่ตำบลปีหนึ่งไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาท ปัจจุบันมีการฝึกหมอลำน้อย โดยมีการลำว่ากลอนปากเปล่าปล่อยเสียงเป็นจังหวะจะโคน พร้อมกับฟ้อนร่ายรำอย่างถูกวิธี ทั้งชายหญิง นับว่าเป็นจุดที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวที่จะมาชม/ฟังฝีปากหมอลำน้อยที่บ้านปลาค้าวแห่งนี้
นอกการการแสดงหมอลำแล้วชาวบ้านปลาค้าวยังได้เก็บรักษาโบราณวัตถุ อันเป็นเอกลักษณ์พื้นบ้านไว้อย่างดียิ่ง อาทิ วิหารช่างญวน ตั้งอยู่ที่วัดศรีโพธิ์ชัย พระเจ้าใหญ่ศรีโพธิ์ชัย ที่มีอายุราว 200 ปี พระพุทธรูปแกะสลักไม้ พระยานาค (รางสรงน้ำพระ) มีงานฝีมือผลิตเครื่องดนตรี อาทิ พิณ แกะสลักลวดลายต่าง ๆ งานแกะสลัก การทอผ้า และมีระบบการจัดการนำเที่ยว Home Stay จำนวน 25 หลัง เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ประธานกลุ่มโฮมสเตย์ และวัฒนธรรมบ้านปลาค้าว อ.เหรียญชัย โพธารินทร์ โทร. 08 1878 7833 หรือดูเว็บไซต์ www.plakaow.th.gs
วัดโพธิ์ศิลา
อำเภอลืออำนาจ จ.อำนาจเจริญวัดโพธิ์ศิลา ตั้งอยู่ที่บ้านเปือยหัวดง ตำบลเปือย อำเภอลืออำนาจ สิ่งที่น่าสนใจในวัดคือใบเสมาสมัยทวาราวดีขนาดใหญ่ สร้างจากหินทรายขาว อายุประมาณ 1,000 ปี ราว พ.ศ. 1,200-1,300 ศิลปะขอมแบบไพรกเมง มีลักษณะเรียว ปลายแหลม คล้ายใบหอกป้าน ด้านล่างคอดส่วนฐานสลักลายดอกบัวบาน ใบเสมาเหนือแนวกลีบบัวสลักแนวแกนเสมาคล้ายรูปสถูปจำลองหรือปลียอดสถูป ด้านล่างเป็นรูปหม้อน้ำตั้งซ้อนอยู่บนองค์ระฆังคว่ำ ถัดไปเป็นปล้อง มีแนวลวดลายบัวคั่นตรงกึ่งกลาง แกนเสมาสลักลายใบไม้ 3 แฉก หงายขึ้นรับลายดอกไม้ครึ่งดอก ในขอบวงโค้ง 3 วงเรียงต่อกันส่วนยอดเป็นพุ่มปลายแหลมเหมือนยอดธง มีอุบะห้อย ลวดลายกลีบบัว บนฐานเสมาได้รับอิทธิพลมาจากลายกลีบบัวฐานพระพุทธรูปหรือธรรมจักร ศิลปทวาราวดีทางภาคกลางของประเทศไทย ส่วนลายดอกไม้ครึ่งดอกในวงโค้ง 3 วงที่เรียงต่อกันเป็นวงเดียวกันนั้นคล้ายคลึงกับลายดอกไม้ครึ่งดอกในวงโค้ง ที่ปรากฎอยู่บนฐานเทวดาซึ่งย่อตัวพนมมือหันเข้าหาจุดกึ่งกลางของทับหลัง ซึ่งขุดพบที่บริเวณประตูด้านทิศตะวันออกของปรางค์ทิศเหนือ ของปราสาทเขาน้อยสีชมพู อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
อุทยานดงลิงดอนเจ้าปู่
อำเภอพนา จ.อำนาจเจริญอุทยานดงลิงดอนเจ้าปู่ เป็นพื้นที่ป่าเบญจพรรณกว่า 200 ไร่ ซึ่งประชาชนท้องถิ่นสงวนรักษาไว้เป็นดอนปู่ตา มีศาลเจ้าปู่ซึ่งเป็นที่เคารพของชาวบ้านและเป็นที่อาศัยของลิงจำนวนมาก
ศูนย์ศิลปาชีพบ้านสร้างถ่อ
อำเภอหัวตะพาน จ.อำนาจเจริญศูนย์ศิลปาชีพบ้านสร้างถ่อ ตั้งอยู่ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 5 กิโลเมตร มีถนนลาดยางเข้าถึง เป็นศูนย์ผลิตและฝึกอบรมงานด้านหัตถกรรมพื้นบ้านหลายประเภท เช่น การทอผ้า และการเจียรไนพลอย เป็นต้น นักท่องเที่ยวสามารถชมวิธีการผลิตและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ได้ด้วย
วัดไชยาติการาม
อำเภอพนา จ.อำนาจเจริญวัดไชยาติการาม ตั้งอยู่ที่บ้านโพนเมือง ตำบลไม้กลอน วัดนี้มีพระพุทธรูปสำริดประทับขัดสมาธิราบปางมารวิชัยสูง 55 เซนติเมตร จัดอยู่ในกลุ่มพระพุทธรูปศิลปะลาวสกุลช่างเวียงจันทน์ เปรียบเทียบได้กับพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่ระเบียงหอพระแก้วเมืองเวียงจันทน์และพระพ
ุทธรูปที่วัดวิชุล เมืองหลวงพระบาง ซึ่งมีอายุอยู่ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 22 ถึงพุทธศตวรรษที่ 23
ทิวทัศน์ริมฝั่งโขง
อำเภอชานุมาน จ.อำนาจเจริญทิวทัศน์ริมฝั่งโขง อำเภอชานุมานมีพื้นที่ติดกับแม่น้ำโขงเป็นระยะทางประมาณ 38 กิโลเมตร ทำให้มีลักษณะทางธรรมชาติและทัศนียภาพของบรรยากาศสองฟากฝั่งโขง ที่งดงามน่าประทับใจโดยเฉพาะบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอชานุมาน มีทางเดินเลียบริมฝั่งโขงเป็นระยะทางยาวเหมาะแก่การเดินชมทัศนียภาพ ในช่วงฤดูแล้ง (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม) จะมองเห็นแก่งกลางแม่น้ำโขง เช่น แก่งตางหล่าง ที่หมู่บ้านศรีสมบูรณ์ใกล้กับตัวอำเภอและแก่งหินขัน ที่บ้านหินขัน (ห่างจากตัวอำเภอไปทางใต้ประมาณ 13 กิโลเมตร)
อ่างเก็บน้ำพุทธอุทยาน
อำเภอเมือง จ.อำนาจเจริญอ่างเก็บน้ำพุทธอุทยาน อยู่ฝั่งตรงข้ามกับพระมงคลมิ่งเมือง เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญทางด้านเกษตรและประมง พร้อมทั้งยังเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ มีลมพัดเย็นสบาย ริมอ่างเก็บน้ำเป็นที่ตั้งของรีสอร์ทหลายแห่ง
สวนเกษตรชิตสกนต์
อำเภอเมือง จ.อำนาจเจริญสวนเกษตรชิตสกนต์ ตั้งอยู่บริเวณเดียวกันกับชิตสกนธ์รีสอร์ท เป็นสวนเกษตรประเภทไม้ดอกไม้ประดับซึ่งมีหลายประเภทและที่มีชื่อเสียงได้แก่ สวนดอกดาวเรือง นักท่องเที่ยวที่ไปเยี่ยมชมสวนฯ สามารถร่วมกิจกรรมทางการเกษตรของสวนฯ ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น